ทรัมป์ 2.0 โอกาสและความเสี่ยงรอบใหม่   แม้กำแพงภาษีเริ่มสูงชัน ทุนจีน - สหรัฐ  เข้าลงทุนไม่อั้น

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ทรัมป์ 2.0 โอกาสและความเสี่ยงรอบใหม่ แม้กำแพงภาษีเริ่มสูงชัน ทุนจีน - สหรัฐ เข้าลงทุนไม่อั้น

Date Time: 7 พ.ย. 2567 11:38 น.

Video

เศรษฐกิจไทย เสี่ยงวิกฤติหนักแค่ไหน เมื่อต้องเปลี่ยนนายกฯ | Money Issue

Summary

  • การกลับมาของทรัมป์เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยที่ 2 สร้างทั้งความเสี่ยงและโอกาสต่อเศรษฐกิจไทย โดยอาจมีการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากไทย แต่ในขณะเดียวกัน ไทยอาจได้รับผลดีจากการย้ายฐานการผลิตของจีนและสหรัฐฯ มายังไทย อย่างไรก็ตาม ผลกระทบเชิงบวกอาจต้องใช้เวลา

Latest


จบไปแล้วสำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 47 และผู้ชนะคือโดนัลด์ ทรัมป์ ชายที่คนทั่วโลกต้องไหวหวั่นที่กลับมานั่งเก้าอี้เป็นสมัยที่ 2 ด้วยนโยบายที่เคยทำไว้ยุคแรก เช่นสงครามการค้า ทำให้หลายคนกังวลว่าเรื่องนี้จะกลับมาคุกคามเศรษฐกิจรอบใหม่


ทั้งนี้ ในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ มองว่าการกลับมาดำรงตำแหน่งในรอบนี้มีทั้งความเสี่ยงและโอกาสกับประเทศไทย โดยในมุมความเสี่ยงนั้น ไทยอาจต้องเผชิญกับกำแพงภาษีที่เพิ่มขึ้น เพราะไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ จำนวนมาก ขณะเดียวกันในฝั่งของโอกาส ไทยอาจได้รับประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิต ทั้งจีนและสหรัฐฯ ที่เข้ามาลงทุนในไทย


ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ทรัมป์ประกาศชัยชนะเลือกตั้งคว้าคะแนนเสียงข้างมากทั้ง 2 สภาฯ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และค่าเงินดอลลาร์ฯ ตอบรับเป็นบวก แต่ในระยะข้างหน้าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีความเสี่ยงจากเงินเฟ้อที่เร่งขึ้นและเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง 


ทรัมป์ได้ชัยชนะเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยที่ 2 และพรรครีพับลิกันสามารถครองเสียงข้างมากทั้งในสภาบนและสภาล่าง ส่งผลให้นโยบายต่างๆ ที่เคยหาเสียงไว้มีแนวโน้มจะผลักดันให้ผ่านสภาฯ ได้ไม่ยาก หลังจากพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม 2568 คาดว่าจะเห็นนโยบายเร่งด่วนใน 100 วันแรก เช่น มาตรการปรับเพิ่มภาษีศุลกากรขาเข้า มาตรการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลและครัวเรือน รวมถึงการต่ออายุมาตรการลดภาษีปี 2560 มาตรการกีดกันแรงงานอพยพ และสนับสนุนการผลิตพลังงานฟอสซิลในประเทศ เป็นต้น


แนวโน้มความเสี่ยงเงินเฟ้อสหรัฐฯ อาจสูงขึ้นจากมาตรการปรับขึ้นภาษีนำเข้าและกีดกันแรงงานอพยพ ตลอดจนการขาดดุลการคลังที่เพิ่มขึ้น ขณะที่มาตรการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลและสนับสนุนการผลิตในประเทศ รวมถึงแนวโน้มที่สหรัฐฯ อาจเพิ่มมาตรการกีดกันการค้ากับประเทศที่เป็นฐานการผลิตของจีน อาจช่วยกระตุ้นการลงทุนและเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งอาจใช้เวลาในการแสดงผล ในระยะสั้น อุปสงค์ในประเทศมีแนวโน้มได้รับแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับลดลงช้า ส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เผชิญความเสี่ยงจาก Stagflation สูงขึ้น ซึ่งยังขึ้นอยู่กับมาตรการทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อบรรเทาผลกระทบเงินเฟ้อจากภาษีนำเข้าที่สูงขึ้น


การกีดกันทางการค้าเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทย 


ในระยะสั้น ไทยอาจได้รับประโยชน์จากการเร่งนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ และนำเข้าสินค้าจากไทยบางรายการเพื่อทดแทนสินค้าจีน เช่น เซมิคอนดักเตอร์ โซลาร์เซลล์ ถุงมือยาง น้ำผลไม้ อุปกรณ์โทรทัศน์ PCA และของเล่น อย่างไรก็ตาม ไปข้างหน้า สินค้าส่งออกของไทยอาจมีความเสี่ยงจากมาตรการปรับเพิ่มภาษีศุลกากรขาเข้าของทรัมป์ เนื่องจากไทยมียอดเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ สูงเป็นอันดับที่ 12 (ปี 2566) ซึ่งต้องติดตามการเจรจาระหว่างทางการไทยกับสหรัฐฯ นอกจากนี้ การส่งออกและการท่องเที่ยวของไทยอาจได้รับผลกระทบจากแรงกดดันต่อเศรษฐกิจจีนที่มีมากขึ้น 


ไทยอาจได้รับผลดีบางส่วนจากการย้ายฐานการผลิต แต่ผลบวกคาดว่าจะไม่เกิดขึ้นทันที ดอกผลของการเคลื่อนย้ายเงินลงทุน (FDI) ไปยังประเทศต่างๆ อาจไม่เกิดขึ้นในทันที และการพิจารณาเข้าไปลงทุนของผู้ประกอบการยังขึ้นกับอีกหลายเงื่อนไข นอกจากเรื่องต้นทุนและโอกาสในการสร้างรายได้ระยะกลางของแต่ละสินค้า คงขึ้นอยู่กับอัตราภาษีที่สหรัฐฯ เรียกเก็บและการตรวจสอบว่าบริษัทนั้นเป็นของจีนหรือเกี่ยวข้องกับซัพพลายเชนของจีนเพียงใด


อย่างไรก็ตาม เม็ดเงินลงทุน FDI การผลิตรถยนต์และกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ อาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในไทยและอีกหลายประเทศในอาเซียน (รวมถึงเม็กซิโก อินเดีย และยุโรปตะวันออก) แต่รถยนต์ BEV ที่เริ่มลงทุนและผลิตในไทยซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่ายจีน อาจส่งออกไปสหรัฐฯ (รวมถึงสหภาพยุโรป) ได้ยากขึ้น การส่งออกไปยังตลาดอาเซียนก็อาจเผชิญการแข่งขันที่มากขึ้น ขณะที่การส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ของไทยไปยังสหรัฐฯ อาจเสี่ยงถูกเรียกเก็บภาษี เช่นเดียวกับกรณีแผงโซลาร์เซลล์ นอกจากนี้ไทยยังมีอุปสรรคด้านความพร้อมที่จำกัด เช่น พลังงานสะอาดและแรงงานทักษะสูง ซึ่งจำเป็นสำหรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่ชิปอัจฉริยะที่ซับซ้อนขึ้น เช่น AI, GenAI  


ผู้ผลิตสินค้าไทยในกลุ่มเคมีภัณฑ์ วัสดุก่อสร้าง (เหล็ก) สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม อาจเผชิญการแข่งขันกับสินค้านำเข้าและ/หรือการเข้ามาลงทุนในไทยจากจีนมากขึ้น จากการผลิตที่มากกว่าความต้องการภายในประเทศของสินค้าจีน ประกอบกับกำแพงภาษีจากชาติตะวันตก ทำให้จีนต้องหาตลาดส่งออกเพื่อระบายสินค้า และส่งผลให้สินค้าไทยต้องเผชิญการแข่งขันทั้งในตลาดภายในประเทศและตลาดส่งออก  


เปิดสถิติ ทรัมป์ 1.0 เคยทำไทยทรุดหนัก 


บริษัทหลักทรัพย์เอเซีย พลัส วิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจ หลังจากที่ไทยและโลกต้องเผชิญกับ TRUMP 2.0 กับความเสี่ยงการค้าระหว่างประเทศ โดยการชนะของทรัมป์ในสมัยที่ 2 และนโยบายปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่ม 60% และจากประเทศคู่ค้าอื่นๆ เพิ่ม 10% -20% นั้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการค้าระหว่างประเทศอย่างชัดเจน ในช่วงกลางปี 2560 – 2562 (TRADE WAR) การส่งออกระหว่างสหรัฐฯ – จีน ลดการพึ่งพากันและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลงจาก 6.8% สู่ 5.8%


ในช่วงนั้น การนำเข้า-ส่งออกของไทยทรุดตัวต่อเนื่องหลายไตรมาส ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยขยายตัวช้าลง ขณะที่ไทยยังพึ่งพาสหรัฐฯ มากขึ้นในช่วงนั้น หลังเศรษฐกิจจีนเติบโตน้อยลง โดยในปี 2560 ไทยส่งออกไปจีนลดลง -3.8% และส่งออกไปสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น +11.8% 


สำหรับกลุ่มสินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปสหรัฐฯ เช่น เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก รถยนต์และส่วนประกอบ ทูน่ากระป๋อง อาจได้อานิสงส์หากไทยส่งออกไปสหรัฐฯ มากขึ้น มองเป็นบวกต่อหุ้น DELTA, KCE, HANA, TU อย่างไรก็ตาม อาจต้องจับตาสินค้าจีนที่มีโอกาสแย่งส่วนแบ่งตลาดในไทย

ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่ 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ