รฟม.ต่อเวลาค่าโดยสาร รถไฟฟ้า 20 บาทสายสีม่วงอีก 1 ปี หวังช่วยลดค่าใช้จ่ายประชาชน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

รฟม.ต่อเวลาค่าโดยสาร รถไฟฟ้า 20 บาทสายสีม่วงอีก 1 ปี หวังช่วยลดค่าใช้จ่ายประชาชน

Date Time: 22 ต.ค. 2567 14:44 น.

Video

คนไทยจ่ายภาษีน้อย มนุษย์เงินเดือนรับจบ ปัญหาอยู่ที่ระบบหรือคนกันแน่ ? | Money Issue

Summary

  • รถไฟฟ้า “สายสีม่วง” เก็บค่าโดยสารไม่เกิน 20 บาทตลอดสาย ส่งผู้โดยสารพุ่ง 17.5% กว่า 6 หมื่นคน/วัน รายได้หาย 250 ล้าน คาดแนวโน้มปี 2 ผู้โดยสาร 7 หมื่นคนต่อวัน รายได้หาย 20 ล้าน ชี้หากรายได้ไม่หาย ผู้โดยสารต้องถึง 9 หมื่นคนต่อวัน พร้อมขานรับนโยบายซื้อคืนรถไฟฟ้า

Latest


วิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานะรักษาการผู้ว่าการ รฟม. เปิดเผยว่า เมื่อมีการแต่งตั้งและประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. ชุดใหม่นัดแรก ทาง รฟม. จะเสนอเรื่องขยายมาตรการค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ ไม่เกิน 20 บาทตลอดสายเข้าสู่การประชุมเพื่อพิจารณาทันที เพราะเป็นเรื่องด่วนที่ต้องเร่งดำเนินการ เนื่องจากมาตรการเดิมที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติไว้จะครบกำหนดในวันที่ 30 พ.ย. 67 โดยจะเสนอขยายมาตรการดังกล่าวออกไปอีก 1 ปี เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้ประชาชนตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมและรัฐบาล


มาตรการค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงไม่เกิน 20 บาทตลอดสาย ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค. 66 ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้โดยสาร ปริมาณผู้โดยสารสายสีม่วงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเฉลี่ย 17.5% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเริ่มมาตรการ ทั้งนี้ปัจจุบันผู้โดยสารสายสีม่วงเฉลี่ยอยู่ที่กว่า 6 หมื่นคน โดยวันธรรมดาผู้โดยสารอยู่ที่ประมาณ 65,000 คนต่อวัน ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ ผู้โดยสารประมาณ 55,000 คน ซึ่งสายสีม่วงเคยทำสถิติผู้โดยสารสูงสุดที่ 87,856 คนเมื่อวันที่ 6 ก.ย. 67


ทั้งนี้ในเบื้องต้นมาตรการดังกล่าวส่งผลให้รายได้จากสายสีม่วงหายไป 250 ล้านบาท จากปกติมีรายได้ประมาณ 400 ล้านบาทต่อปี เหลือ 150 ล้านบาทต่อปี หรือลดลงประมาณ 20% แต่ภาพรวมรายได้ของ รฟม. ยังมีกำไรอยู่ และมีเงินสะสมอยู่ประมาณ 7 พันล้านบาท ซึ่งมาจากค่าสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน, ค่าโดยสารสายสีม่วง และจากการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ จึงไม่ได้ขอชดเชยจากภาครัฐ


นายวิทยา กล่าวอีกว่า การดำเนินมาตรการรถไฟฟ้าสายสีม่วงไม่เกิน 20 บาทตลอดสายในปีที่ 2 แนวโน้มคาดว่ารายได้จะหายไปน้อยลง หรือประมาณ 20 ล้านบาท ขณะที่ปริมาณผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 7% เมื่อเทียบกับการดำเนินมาตรการดังกล่าวในปีแรก หรือประมาณ 7 หมื่นคนต่อวัน ทั้งนี้หากจะทำให้ รฟม. ไม่ต้องสูญเสียรายได้หรือรายได้ไม่ลดลง จะต้องมีปริมาณผู้โดยสารประมาณ 9 หมื่นคนต่อวัน สำหรับนโยบายการซื้อคืนรถไฟฟ้านั้น รฟม. ยังไม่ได้มีการศึกษาเรื่องนี้ แต่พร้อมปฏิบัติตามนโยบาย ซึ่งต้องรอว่าโจทย์จะมอบหมายให้ รฟม. ดำเนินการอย่างไร


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ