ลดดอกเบี้ยไม่ช่วย ถ้ามีปัญหาโครงสร้าง นักวิชาการ หนุน ธปท. เร่งปรับโครงสร้างหนี้

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ลดดอกเบี้ยไม่ช่วย ถ้ามีปัญหาโครงสร้าง นักวิชาการ หนุน ธปท. เร่งปรับโครงสร้างหนี้

Date Time: 10 ต.ค. 2567 14:24 น.

Video

เศรษฐกิจไทย เสี่ยงวิกฤติหนักแค่ไหน เมื่อต้องเปลี่ยนนายกฯ | Money Issue

Summary

  • ยังเป็นข้อถกเถียงอย่างมากสำหรับทิศทางดอกเบี้ยนโยบายในประเทศไทย ที่ปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่ 2.5% ต่อปี และเกิดคำถามว่าการลดดอกเบี้ยควรจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ซึ่งในมุมของรัฐบาลต้องการให้เกิดการลดดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและลดภาระหนี้ของประชาชน ซึ่งในฝั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยมองว่าดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับที่เหมาะสมและเดินหน้าลุยปรับโครงสร้างหนี้

Latest


ทั้งในมุมมองของ ดร. สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ในฐานะอดีตกรรมการ กนง. มองว่าการลดดอกเบี้ยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะดอกเบี้ยต่ำเกินควร และอาจทำให้ประชาชนก่อหนี้มากขึ้น และในเวลาเดียวกันผู้ที่ได้รับผลดีคือธุรกิจขนาดใหญ่ แต่สภาพคล่องไม่ถึงผู้ที่ต้องการใช้ทุน

ดร. สมชัย จิตสุชน  เปิดเผยมุมมองต่อทิศทางดอกเบี้ยนโยบายในเมืองไทยว่า จากประเด็นที่ภาครัฐบาลต้องการให้มีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายนั้น ส่วนตัวมองว่าการลดดอกเบี้ยมีความเสี่ยงอย่างมาก เพราะจะเกิดผลให้การลดดอกเบี้ยโดยไม่มีเหตุจำเป็น ทำให้ประเทศเข้าสู่ภาวะดอกเบี้ยต่ำเกินควร ลดดอกเบี้ยจะเป็นผลดีสำหรับรัฐบาลและภาคธุรกิจ แต่สำหรับภาพรวมของประเทศไม่ค่อยดี เพราะเมื่อดอกเบี้ยต่ำส่งผลให้ประชาชนก่อหนี้มากขึ้น ทั้งนี้ภาวะดอกเบี้ยที่ต่ำในจังหวะไม่เหมาะสมเป็นสาเหตุหนึ่ง แม้จะไม่ใช่ทั้งหมด ที่ในระยะเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันหนี้ครัวเรือนของไทยเพิ่มมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เศรษฐกิจไม่ขยายตัว เพราะคนต้องไปจ่ายหนี้ไม่มีเงินจับจ่ายใช้สอย การลดดอกเบี้ยแต่ละครั้ง ธปท. จะต้องอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจด้วย แต่สภาพคล่องและเงินจะไปกองอยู่กับบริษัทใหญ่และธนาคารพาณิชย์ โดยที่เงินไม่ได้ไปสู่เอสเอ็มอี เนื่องจากธนาคารไม่กล้าปล่อยสินเชื่อให้รายย่อยเพราะไม่แน่ใจว่าปล่อยกู้ไปแล้วจะได้เงินคืนหรือไม่

ดร. สมชัย มองว่าสิ่งที่ควรดำเนินการคือต้องเดินหน้าการปรับโครงสร้างหนี้ที่ ธปท. กำลังทำคลินิกแก้หนี้อยู่ นอกจากนี้อาจจะต้องมีเรื่องของการดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีความเชี่ยวชาญในการปล่อยกู้ให้กับรายย่อย ให้สามารถทำการปล่อยกู้ได้มากขึ้นพร้อม ๆ กับปลอดภัยมากขึ้นด้วย โดยเพิ่มความสามารถในการวิเคราะห์ลูกค้าให้ดีขึ้น

ใช้บิ๊กดาต้าเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ ซึ่งหากร่วมมือกันทำ สุดท้ายก็สามารถปล่อยเงินกู้ไปสู่รายย่อยและประชาชนได้ ส่วนทางด้านนโยบายการคลัง จำเป็นต้องใช้งบประมาณเพื่อเพิ่มทักษะทั้ง Upskill และ Reskill คอร์สระยะสั้นให้กับทั้งลูกจ้างและผู้ประกอบการ ซึ่งวิธีการนี้เป็นการเพิ่มความสามารถการแข่งขันที่ดีที่สุด “ถ้าคนทำงานเก่งขึ้น ประกอบธุรกิจเก่งขึ้น ถึงตอนนั้นสภาพคล่องที่กองอยู่ข้างบนก็จะไหลมาหาเขา เพราะธนาคารพาณิชย์เริ่มกล้าที่จะปล่อยกู้ เพียงแต่รัฐบาลควรจะต้องทำเรื่องนี้ให้เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งถ้าทำดี ๆ และทำทุกพื้นที่ทั่วประเทศต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ จะสามารถเปลี่ยนประเทศไทยได้ในที่สุด”

ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่ 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ