ว่ากันว่า ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน มีความมั่นคงและมีความเสี่ยงต่ำ เนื่องด้วยเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ “สุขภาพ” ที่เป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น จึงไม่อ่อนไหวกับภาวะเศรษฐกิจมากนัก
ดั่งจะเห็นได้ว่าที่ผ่านมา ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนของไทย เติบโตต่อเนื่องตามความต้องการใช้บริการที่เพิ่มขึ้น ซึ่งนอกจากผู้ป่วยทั้งชาวไทยแล้ว ตลาดผู้ป่วย “ชาวต่างชาติ” โดยเฉพาะจากประเทศเพื่อนบ้าน และกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ก็เป็นอีกตลาดที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำเช่นกัน
ส่งผลให้โรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพเร่งขยายกิจการผ่านการซื้อ/ควบรวม เปิดสาขาใหม่ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดที่เป็นเมืองสำคัญ และเข้ามาถือหุ้นของโรงพยาบาลเอกชนอื่นๆ เพื่อลงทุน หรือสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ จึงเกิดกลุ่มโรงพยาบาลขนาดใหญ่ขึ้นหลายกลุ่ม
เจาะภาพรวมธุรกิจโรงพยาบาลของไทย ข้อมูลของวิจัยธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เผยให้เห็นว่า หากเปรียบเทียบจำนวนเตียงที่เปิดให้บริการของโรงพยาบาลเอกชนทั้งหมด ปี 2566 ตลาดยังคงเป็นของกลุ่มทุนใหญ่ ภายใต้จำนวนโรงพยาบาลเอกชนทั้งสิ้น 425 แห่ง รวม 40,395 เตียง (ณ ก.ย. 2566)
นอกจากนี้พบว่า แม้ภาพรวมผลประกอบการธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ปี 2566 เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.8%
แต่หากพิจารณาผลประกอบการในช่วงครึ่งแรกปี 2567 พบว่า กลับมาเติบโตดีขึ้น โดยได้แรงหนุนสำคัญจากกลุ่มผู้ป่วยชาวต่างชาติที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ประกอบกับกลุ่มโรงพยาบาลที่มีรายได้จากผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ได้อานิสงส์จากการปรับขึ้นค่าบริการเหมาจ่ายต่อหัวจาก 1,640 บาท เป็น 1,808 บาท หนุนให้รายได้ของกลุ่มโรงพยาบาลดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่น
ย้อนไปเมื่อปี 2566 กลุ่มโรงพยาบาลที่มีรายได้จากลูกค้าที่เป็นชาวต่างชาติในสัดส่วนสูงมากที่สุด ก็คือ
ทั้งนี้ วิจัยธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ยังวิเคราะห์ต่อว่า ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในระยะ 1 ปีข้างหน้า มีแนวโน้มเติบโตดีจากตลาดผู้ป่วยทั้งจากตะวันออกกลาง และ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม) ที่เข้ามารักษาตัวในไทยเพิ่มขึ้น
สาเหตุหลักจากคุณภาพในการรักษาพยาบาลและราคาที่สมเหตุสมผล ขณะที่กลุ่มโรงพยาบาลในเครือข่ายประกันสังคมยังคงได้อานิสงส์ต่อเนื่องจากการปรับเพิ่มค่าบริการเหมาจ่ายต่อหัว โดยเฉพาะกลุ่มโรงพยาบาลที่ได้รับโควตาผู้ประกันตนเพิ่มขึ้น
เช่นเดียวกับคนไทยมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับการทำประกันสุขภาพเพิ่มขึ้น สะท้อนจากเบี้ยประกันภัยรับของสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพในช่วงครึ่งแรกปี 2567 อยู่ที่ 51,451 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.3%
นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของคนไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นจากการประมาณการค่าใช้จ่ายต่อหัวด้านสุขภาพที่แท้จริงในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยในปี 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ 270.75 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี ส่วนหนึ่งจากการเข้าสู่สังคมสูงวัยของไทยที่ช่วยหนุนให้ความต้องการใช้บริการทางการแพทย์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นับเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในระยะต่อไป.
ที่มา : วิจัยแลนด์แอนด์เฮ้าส์
ติดตามข่าวสารด้านการตลาด กับ Thairath Money ได้ที่
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney