จีนนำเข้าข้าวไทยลดลง แม้เผชิญน้ำท่วมใหญ่รอบ 20 ปี เหตุราคาแพงกว่าเวียดนาม แข่งขันยาก

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

จีนนำเข้าข้าวไทยลดลง แม้เผชิญน้ำท่วมใหญ่รอบ 20 ปี เหตุราคาแพงกว่าเวียดนาม แข่งขันยาก

Date Time: 24 ก.ค. 2567 15:17 น.

Video

ดร.พิพัฒน์ KKP กระเทาะโจทย์เศรษฐกิจไทย บุญเก่าเจอความเสี่ยง บุญใหม่มาไม่ทัน

Summary

  • - จีนเผชิญวิกฤติน้ำท่วมใหญ่กดดันยอดการผลิตข้าวลดลงในรอบ 20 ปี
  • - แม้ไทยจะได้ประโยชน์ทำให้การนำเข้ามากขึ้น แต่เมื่อเทียบกับปริมาณนำเข้าในปีนี้จะหดตัวลงจากปีก่อนหน้า เพราะราคาที่แพงกว่าเวียดนาม

Latest


ประเทศจีนนับเป็นตลาดใหญ่สำหรับสินค้าเกษตรของไทย โดยเฉพาะในสินค้าทั้งข้าว และทุเรียน ที่ได้รับความนิยมสูง ทั้งนี้ด้วยภาวะที่จีนเผชิญกับวิกฤติน้ำท่วมใหญ่ ทำให้ปริมาณการผลิตข้าวของปีนี้ลดลง และมีโอกาสนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ ซึ่งไทยอาจไม่ได้รับอานิสงส์ดังกล่าวมากนัก เพราะราคาข้าวไทยยังสูงกว่าเวียดนาม ทำให้การแข่งขันอาจไม่ได้เปรียบ 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า จีนตอนใต้เผชิญน้ำท่วมใหญ่ปี 2567  ฉุดผลผลิตข้าวเสียหายหนัก โดยฝนตกหนัก/น้ำท่วม เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ตั้งแต่ มิ.ย.2567 และบางพื้นที่ฝนตกหนักเตือนระดับสีแดง จนทางการจีนต้องออกประกาศรับมือน้ำท่วมฉุกเฉินในพื้นที่ระดับมณฑล 4 แห่ง และล่าสุดในต้น ก.ค.ได้เกิดเขื่อนแตกในมณฑลหูหนาน ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวใหญ่ที่สุดในแถบแม่น้ำแยงซี 

ทั้งนี้ ผลผลิตข้าวทางตอนใต้ของจีนคิดเป็นมากกว่า 65% ของผลผลิตข้าวทั้งประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในช่วงเก็บเกี่ยวข้าวในฤดูหลัก นอกจากนี้ผลของน้ำท่วมอาจกระทบต่อเนื่องไปยังข้าวในฤดูรองของจีนที่อาจได้รับความเสียหายด้วย ทำให้คาดว่าภาพรวมผลผลิตข้าวจีนทั้งปี 2024 อาจลดลง 3% จากปีก่อนหรือลดลงราว 4 ล้านตัน รุนแรงที่สุดในรอบ 20 ปี

อย่างไรก็ตาม จีนอาจทยอยนำเข้าข้าวเพิ่มหลังน้ำท่วมเพื่อชดเชยผลผลิตที่เสียหายและเพื่อเป็นความมั่นคงด้านอาหาร แม้จีนจะผลิตข้าวได้เอง แต่ด้วยประชากรจำนวนมากที่บริโภคข้าวเป็นหลัก จีนจึงยังต้องนำเข้าข้าวทุกปี และเพื่อเป็นไปตามนโยบายหมายเลขที่ 1 ของจีนที่เน้นเรื่องความมั่นคงด้านอาหารอย่างจริงจังตลอดจนเป้าหมายสู่การเป็นประเทศที่มีความแข็งแกร่งด้านการเกษตรเป็นภารกิจหลัก ทำให้เมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างน้ำท่วมใหญ่ จีนจึงอาจจำเป็นต้องนำเข้าข้าวเพิ่มเพื่อชดเชยผลผลิตที่เสียหาย และเติมสต๊อกให้เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ สะท้อนผ่านสัดส่วนปริมาณสต๊อกต่อการบริโภคต่อปีของจีนที่ชี้ให้เห็นถึงระดับความมั่นคงด้านอาหาร  

ทั้งนี้คาดว่าอย่างน้อยที่สุดจีนจะต้องรักษาระดับสัดส่วนสต๊อกต่อการบริโภคข้าวในปี 2567 ไว้ที่ราว 68% หรือมีกันไว้เป็นสต๊อกสำหรับบริโภคในประเทศได้ราว 8.2 เดือนจากทั้งปี ซึ่งคงเป็นสัดส่วนใกล้เคียงปีก่อน/ก่อนโควิด โดยอาจเห็นจีนทยอยนำเข้าข้าวมากขึ้นใน ก.ย.-ธ.ค.2024 หลังสถานการณ์น้ำท่วมหนักช่วง มิ.ย.-ส.ค. คลี่คลายลง


จีนอาจเลือกนำเข้าจากไทยเป็นหลัก เพราะตรงกับฤดูข้าวหลักของไทยที่มีผลผลิตออกสู่ตลาด (ข้าวนาปี) ในจังหวะที่ผลผลิตข้าวของจีนและคู่แข่งสำคัญอย่างเวียดนามมีผลผลิตทยอยลดลงตามฤดูกาล โดยคาดว่าไทยอาจได้อานิสงส์จากจีนเกิดน้ำท่วม จะหนุนให้ปริมาณส่งออกข้าวไทยไปจีนใน มิ.ย.-ธ.ค.2567 โตราว 2% จากปีก่อน (จาก 0.31 ล้านตันในปี 2023 เป็น 0.32 ล้านตัน ในปี 2567) 

อย่างไรก็ดี ด้วยภาพรวมราคาข้าวไทยที่สูงกว่าเวียดนาม จะเป็นปัจจัยกดดันสำคัญที่ทำให้ไทยแข่งขันได้ยาก ซึ่งอาจลดทอนผลของอานิสงส์ที่ไทยจะได้รับและอาจกระทบต่อส่วนแบ่งตสาดข้าวไทยในจีน

แม้ไทยจะได้อานิสงส์จากน้ำท่วมใหญ่ในจีน แต่คาดว่าภาพทั้งปี 2567 จะยังคงเห็นปริมาณส่งออกข้าวไทยไปจีนที่หดตัวราว 2% จากปีก่อน (เนื่องจากความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของไทยที่ลดลง) ขณะที่คาดว่าราคาข้าวคงพุ่งราว 14% จากปีก่อน จะช่วยหนุนมูลค่าส่งออกข้าวไทยไปจีนให้ขยายตัวได้ราว 12% จากปีก่อน.

ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่ 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ