เดินหน้าลงทะเบียน ดิจิทัลวอลเล็ต "จุลพันธ์" ยัน ธปท.ไม่ขวางเรื่องเงิน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

เดินหน้าลงทะเบียน ดิจิทัลวอลเล็ต "จุลพันธ์" ยัน ธปท.ไม่ขวางเรื่องเงิน

Date Time: 17 ก.ค. 2567 08:28 น.

Latest

ล้อมคอกรถโดยสารสาธารณะยึดมาตรฐาน "UN”

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า ในวันที่ 1 ส.ค.67 นี้ รัฐบาลจะเปิดลงทะเบียนโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ผ่านแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” โดยมีระยะเวลาให้ลงทะเบียน 45 วัน หรือลงทะเบียนได้วันละ 1 ล้านคน โดยจะมีการแถลงรายละเอียดวันที่ 24 ก.ค.นี้ ในช่วงนี้ประชาชนสามารถดาวน์โหลดแอปทางรัฐ เพื่อยืนยันตัวตน (KYC) ไว้ก่อนได้ ส่วนบุคคลที่ไม่ใช้สมาร์ทโฟน จะมีรายละเอียดเช่นกัน และใช้จ่ายผ่านบัตรประชาชนเท่านั้น และระบบสามารถตรวจสอบได้ด้วยว่าใช้จ่ายในพื้นที่ที่เดียวกับที่อยู่ในบัตรประชาชนได้ด้วย ส่วนร้านค้า คาดว่าจะลงทะเบียนผ่านแอปทางรัฐเช่นเดียวกัน คาดว่าจะมีร้านค้าร่วมโครงการกว่า 2-3 ล้านแห่ง

“บุคคลที่มีคดีความกับภาครัฐ เคยมีพฤติกรรมทุจริตในโครงการรัฐ เช่น โครงการคนละครึ่ง หรืออื่นๆ 2,000 ราย จะไม่ได้รับสิทธ์ิดิจิทัลวอลเล็ต ผมขอย้ำว่าบุคคลใดที่ได้รับสิทธิ์แล้ว หากทำผิดเงื่อนไข เช่น การแลกเป็นเงินสด ระบบสามารถตรวจสอบการทุจริตได้ทันที และจะตัดสิทธิ์ทันที พร้อมขึ้นบัญชีดำ มิให้รับสิทธิ์โครงการอื่นๆของรัฐอีก”

นายจุลพันธ์กล่าวว่า ส่วนกรณีที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ส่งหนังสือถึงที่ประชุมบอร์ดดิจิทัลวอลเล็ตชุดใหญ่ แสดงความเป็นห่วงการดำเนินโครงการนั้น ไม่ได้มีการแสดงความเป็นห่วงเรื่องวินัยทางการเงินแต่อย่างใด แต่กำชับให้ดูแลเรื่องระบบ จะต้องมีความมั่นคงปลอดภัย เชื่อถือได้ และขอเวลาให้ ธปท.เข้าไปดูระบบภายใน 15 วัน ก่อนดำเนินโครงการ ซึ่งรัฐบาลก็พร้อมให้ ธปท.เข้ามาดูแล

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เมื่อวันที่ 15 ก.ค. ธปท.โดยนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธปท.ได้ส่งจดหมายเสนอข้อคิดเห็นใน 2 ประเด็น คือ ประเด็นที่ 1.ระบบการเติมเงินผ่าน Digital Wallet โดยให้ความเห็นว่า ระบบเติมเงินฯจะต้องรองรับ

การใช้งานของประชาชนจำนวนมาก และเป็นระบบเปิดที่ต้องเชื่อมโยงกับธนาคาร และองค์กรที่ไม่ใช้สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) เป็นวงกว้าง คณะกรรมการฯจึงควรติดตามให้การดำเนินการเป็นไปตามมาตรฐาน ทั้งด้านความมั่นคงปลอดภัยและมีเสถียรภาพใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง รองรับการใช้บริการของคนจำนวนมาก

โดย 1.ระบบลงทะเบียนเพื่อตรวจสอบสิทธ์ิ การพิสูจน์และยืนยันตัวตน ความปลอดภัย ต้องได้มาตรฐานเทียบเคียงกับภาคการเงิน ป้องกันความเสี่ยงการถูกสวมรอย ใช้เป็นช่องทางการทำทุจริต หรือธุรกรรมที่ผิดกฎหมายได้ 2. ระบบการตรวจสอบเงื่อนไขและอนุมัติรายการการชำระเงิน บันทึกบัญชี การอัปเดตยอดเงิน ต้องมีระบบตรวจสอบ หากเกิดปัญหาชำระเงินไม่สำเร็จ หรือเกิดข้อผิดพลาดได้อย่างรวดเร็ว ทดสอบระบบก่อนใช้จริง มี call center รับแจ้งปัญหา 3.ต้องทำและนำส่งพิมพ์เขียวที่แสดงระบบการทำงานของแอปฯให้กับธนาคาร และนอนแบงก์โดยเร็วที่สุด เพื่อให้มีเวลาเตรียมการและปิดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยต้องแจ้งให้ ธปท.ก่อนเริ่มใช้บริการอย่างน้อย 15 วัน

ประเด็นที่ 2 ธปท.เห็นว่า ควรมีการชี้แจงกลไกการลดความเสี่ยงการรั่วไหลหรือทุจริตให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อให้มีกระบวนการที่รัดกุมป้องกันปัญหา เช่น การซื้อขายที่ผิดเงื่อนไขโครงการ ลดการขาย ลดสิทธิระหว่างประชาชนกับร้านค้า และควรชี้แจงแนวทางดำเนินการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมปี 2567 จำนวน 122,000 ล้านบาท เหตุผลความจำเป็นให้สอดคล้องกับหลักการ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐปี พ.ศ.2561.

อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ