อาจไม่ตกใจมากนัก ถ้าจะบอกว่า แค่ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา (มี.ค. 2566-เม.ย. 2567) เจ้าหน้าที่ของไทยได้อายัด “บัญชีม้า” ไปแล้วเกือบ 2 แสนบัญชี
โดยกว่า 30% เป็นการเปิด “บัญชีใหม่” ซึ่งเท่ากับยังมีทั้งคนที่ยอมตกเป็นตัวกลาง การทำงานของมิจฉาชีพ และเป็นเหยื่อจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในอัตราสูงอยู่ แต่ข้อมูลที่ชวนหวาดผวา คือ การที่วันนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาเปิดเผย ว่า “บัญชีม้า” ส่วนใหญ่เมื่อรับเงินแล้ว จะมีการโอนเงินต่อไปยังบัญชีอื่นๆ อีก 5 ทอด ด้วยกัน
ภายใต้ฉากใหญ่ คนไทยตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสร้างความเสียหายค่อนข้างสูง มากถึง 63,000 ล้านบาท
ข้อมูลจาก ศูนย์บริหารการแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เผยข้อมูลหลอกลวงสะสม 1 มี.ค. 2565-31 พ.ค. 2567 เผยให้เห็นว่า ราว 36% เป็นการถูกหลอกลงทุน รองลงมา ถูกหลอกโอนเงิน (28%), หลอกลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล (8%), หลอกซื้อสินค้า (6%), เจอแอปฯ ดูดเงิน 4% ที่เหลือ อื่นๆ
โดยมิจฉาชีพใช้บัญชีม้าเป็นเครื่องมือหลักในการรับ-ส่งเงิน จากการหลอกลวงทุกประเภท หมายอายัดจากตำรวจก็พุ่งขึ้นเป็นกราฟ
ขณะที่ผ่านมา ธปท. ยอมรับ การจัดการบัญชีม้าภายในธนาคารยังมีข้อจำกัดหลายด้าน ทั้งในเรื่องข้อกฎหมาย และการจัดการบัญชีต้องสงสัยที่แตกต่างกันของแต่ละธนาคาร จากปัญหาหลักๆ ดังนี้
ทั้งหมดกลายเป็นช่องโหว่ในการจัดการ ทำให้ “บัญชีม้า” วนกลับมาใช้งานใหม่ หรือย้ายไปเปิดบัญชีที่ธนาคารอื่นได้ ทั้งนี้ ธปท. อยู่ระหว่างยกระดับการจัดการ “บัญชีม้า” ยกเครื่องทั้งระบบ เพื่อให้การป้องกันทำได้รวดเร็วขึ้น และลดความเสียหายของประชาชน
โดยแนวทางจัดการบัญชีม้ารูปแบบใหม่ของ ธปท. จะอาศัยข้อมูลจากทั้ง ปปง., ฐานข้อมูลในระบบ CFR และฐานข้อมูลธนาคาร เพื่อใช้ประเมินความเสี่ยงด้วยมาตรฐานเดียวกัน และมีการอัปเดตข้อมูลต่อกัน ทุกๆ 1-2 สัปดาห์
สำหรับผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม จากภัยการเงินที่แฝงมาในรูปแบบมิจฉาชีพ หลอกเปิด “บัญชีม้า” มีมากกว่าที่เราคิด และเราอาจต้องรู้เท่าทันมากยิ่งขึ้น เพราะล่าสุด มีเตือนภัยกลโกงบัญชีม้าแบบใหม่ มาในรูปแบบ “นิติบุคคล”
มิจฉาชีพมีการจ้างวานบุคคลให้ไปจดทะเบียนบริษัท หรือห้างหุ้นส่วน จากนั้นนำหลักฐานการจดทะเบียนไปเปิดบัญชีในรูปแบบนิติบุคคล เมื่อเหยื่อตรวจสอบบัญชีปลายทางพบเป็นบัญชีบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจริง จึงเกิดความเชื่อถือ สุดท้ายหลงเชื่อโอนเงิน
หรือข่าวดังในช่วงไม่กี่วันก่อนหน้านี้ จากกรณีชายคนหนึ่งถูกจับกุมจากข้อหา “เปิดหรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้บัญชีเงินฝาก บัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ของตน โดยมิได้มีเจตนาใช้เพื่อตนหรือเพื่อกิจการที่ตนเกี่ยวข้อง โดยประการที่รู้หรือควรรู้ว่าจะนำไปใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือความผิดทางอาญาอื่นใด”
หลังรับจ้างเปิดบัญชีม้าให้กับแอดมินเพจเพจหนึ่ง จำนวน 7 บัญชี โดยได้ค่าจ้างเป็นบัญชีละ 3,000 บาท แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกรณีดังกล่าว มีผู้อื่นได้รับความเสียหายกว่า 200 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราต้องพึงรู้ คือ โทษที่เกี่ยวกับบัญชีม้า เพื่อหยุดยั้งความผิด เมื่อคิดจะทำผิดกฎหมาย
โดยกรณีที่เจอบ่อยๆ คือ การว่าจ้างเปิดบัญชีกันตรงๆ โอนเงินให้ฟรีๆ ซึ่งมิจฉาชีพจะเข้ามาพูดคุยในช่องแชต หรือโทรมาเป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ตีสนิทกับเรา หรืออ้างเป็นคนจากบริษัทที่มีชื่อเสียง พูดจาหว่านล้อมให้ผู้ที่ทำการรับสายนั้นเกิดความหลงเชื่อในสิ่งที่ได้ฟังไป และทำการช่วยเปิดบัญชีธนาคารโดยมีค่าตอบแทนโอนให้ฟรีๆ ครั้งละ 500 บาท เป็นต้น ซึ่งเมื่อเหยื่อเห็นว่าการรับจ้างแบบนี้ได้เงินจริง และได้มาง่ายๆ จะยิ่งตกเป็นเหยื่อคอยเปิดบัญชี รวมถึงชักชวนคนอื่นๆ มาด้วย
ข้อมูลจาก ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ระบุว่า หากเราปล่อยให้บุคคลอื่นนำบัญชีเราไปใช้งาน มีบัญชีเราอยู่ในมือ ก็สามารถนำไปทำเรื่องผิดกฎหมายได้หลากหลายวิธี ยกตัวอย่างเช่น
สิ่งที่ตามมาและผลกระทบที่ใหญ่ขึ้นก็คือ ถ้ามิจฉาชีพใช้บัญชีม้าในการฟอกเงินสกปรกเหล่านี้ กลับเข้ามายังในระบบปกติ จะส่งผลทำให้ตัวเลขทางเศรษฐกิจมีความผิดเพี้ยน เงินเข้ามาเยอะแต่ไม่มีการจ้างงาน หรือใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เมื่อเงินผิดกฎหมายที่ถูกฟอกเข้ามาเยอะเกินไป จนผิดหลักความเป็นจริง อาจนำไปสู่สภาวะเงินเฟ้อ เกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่จนประเทศชาติเสียหาย เห็นไหมว่าบัญชีม้าส่งผลร้ายแรงมากกว่าที่เราคิด
ทั้งนี้ ธนาคารกรุงศรีฯ ให้คำแนะนำไว้ว่า หากเราเผลอไปเป็นหนึ่งในกระบวนการของ “มิจฉาชีพ” และเปิดบัญชีม้าไปแล้ว มีแนวทางแก้ไข ดังนี้
ที่มา : ธปท., ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ปปง., สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ Thairath Money ได้ที่
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney