ผู้ชำนาญการแลนด์บริดจ์

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ผู้ชำนาญการแลนด์บริดจ์

Date Time: 14 มิ.ย. 2567 05:10 น.

Summary

  • เพราะเคยนั่งตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาโครงการก่อสร้างแลนด์บริดจ์มาตั้งแต่ต้น ชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม จึงอธิบายถึงความจำเป็นของโครงการนี้ได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล จนคนร้อยทั้งร้อยเห็นคล้อยตาม

Latest

สมาคมผู้ค้าปลีกไทย คาดธุรกิจค้าปลีกปี 2568 โต 3-5% หวังแรงหนุนจากท่องเที่ยวและส่งออก

เพราะเคยนั่งตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาโครงการก่อสร้างแลนด์บริดจ์มาตั้งแต่ต้น ชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม จึงอธิบายถึงความจำเป็นของโครงการนี้ได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล จนคนร้อยทั้งร้อยเห็นคล้อยตาม

คุณชยธรรม์บอกว่า โครงการแลนด์บริดจ์ไม่ใช่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แต่เป็นการทำให้จุดที่ตั้งตามภูมิศาสตร์ของประเทศไทย ซึ่งได้เปรียบมาก สร้างให้เกิดศักยภาพแห่งการเป็นศูนย์กลางการเดินเรือสำคัญอีกเส้นทางหนึ่ง “ประเทศไทยตั้งอยู่ตรงกลางของ 2 คาบสมุทร คือ มหาสมุทรอินเดียกับแปซิฟิก มีจุดที่แคบที่สุด ไม่ถึง 100 กิโลเมตร ระหว่างชุมพร-ระนอง แต่เรายังไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์”

ส่วนรูปแบบการลงทุน รัฐบาลไทยไม่ได้ลงทุนเองเพราะกำลังเงินไม่พอ จึงชวนผู้ประกอบการทั่วโลกเข้ามาลงทุน ส่วนที่กังวลกันว่า ทำเป็นสะพานแลนด์บริดจ์แล้ว จะมีปัญหาการขนถ่ายสินค้า ขนขึ้นจากอีกฝั่งข้ามสะพานไปขนลงเรืออีกรอบจะยุ่งยากนั้น ปัจจุบันใช้เทคโนโลยีช่วยได้

“40 ปีก่อน ถ้าไม่มีโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด ที่ช่วยพลิกประเทศจากเกษตรกรรมไปสู่อุตสาหกรรม รองรับการลงทุนด้านพลังงาน หรือ 20 ปีที่แล้ว ถ้าไม่มีสนามบินสุวรรณภูมิ เราจะเอาสนามบินไหนรองรับนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้ามา”

“ในอีก 10–20 ปีข้างหน้า ถ้าไม่ทำแลนด์บริดจ์ คุณคิดว่าลูกหลานจะถามไหมว่า พวกเรามัวทำอะไรอยู่”.

คลิกอ่านคอลัมน์ “รู้ทุกเรื่อง” เพิ่มเติม


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ