“หวยเกษียณ” อาจไม่มีประโยชน์ หากหนี้สูง รายได้ต่ำ แนะ ปฏิรูประบบออม แบบบังคับ ประกันรายได้ คนชรา

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

“หวยเกษียณ” อาจไม่มีประโยชน์ หากหนี้สูง รายได้ต่ำ แนะ ปฏิรูประบบออม แบบบังคับ ประกันรายได้ คนชรา

Date Time: 10 มิ.ย. 2567 10:13 น.

Video

เศรษฐกิจไทย เสี่ยงวิกฤติหนักแค่ไหน เมื่อต้องเปลี่ยนนายกฯ | Money Issue

Summary

  • นักวิชาการ ชี้ “หวยเกษียณ” จูงใจคนไทยชอบเสี่ยง หันมาออมเงิน ก่อนทยอยรับคืนยามชรา อาจไม่มีประโยชน์ หากหนี้ครัวเรือนยังสูง รายได้ต่ำ แนะ ปฏิรูประบบออม แบบบังคับ ขยายฐานประกันรายได้ มาตรา 40 ของ กองทุนประกันสังคม เพิ่มสิทธิ "คนชราภาพ" ลดปัญหา ฐานะการคลังประเทศน่าห่วง หนี้สาธารณะพุ่ง เพิ่มจีดีพี ในอนาคต

Latest


เรียกว่า เข้าทางคนชอบ “เสี่ยง” อย่างจัง หลังจากกระทรวงการคลัง ออกมาระบุ ว่า กำลังพิจารณา ออก “สลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ” หรือ “สลากเกษียณ” และบ้างเรียก “หวยเกษียณ” 

ซึ่งรูปแบบของ “หวยเกษียณ” กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เป็นผู้ออก สลากขูดแบบดิจิทัลใบละ 50 บาท ขายให้กับ สมาชิก กอช. ผู้ประกันตนมาตรา 40 และ แรงงานนอกระบบ ซื้อได้สูงสุดคนละ 3,000 บาทต่อเดือน 

หวยเกษียณ ออกรางวัลทุกวันศุกร์ 5 โมงเย็น ถ้าถูกรางวัลจะได้เงินทันที ส่วนเงินที่ซื้อสลากในแต่ละครั้ง จะถูกเก็บไว้เป็นเงินออม โดยมี กอช.เป็นผู้บริหารจัดการ ซึ่งเมื่อผู้ซื้อเกษียณอายุ 60 ปี จะสามารถถอนเงินที่ซื้อสลากคืนจาก กอช.ได้ทั้งหมด ทั้งนี้ รัฐบาลเผยว่า นี่จะเป็นอีกหนึ่งแนวทาง รองรับ แก้ปัญหา คนไทยจำนวนมาก “แก่ตัวไร้เงินออม” ซึ่งใช้วิธีจูงใจ จากคนไทยชอบ “เล่นพนัน” 

หวยเกษียณ ไม่ตอบโจทย์สังคมไทย 

ล่าสุด รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ และ การเมือง ออกมาแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ แนวคิด “หวยเกษียณ” ที่รัฐบาลจะดำเนินการว่า อาจเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ “ถูกจุด” มากนัก และจะไม่มีประโยชน์ หากหนี้ครัวเรือนไทย ยังสูง และคนไทย มีรายได้ไม่พอรายจ่าย   

รศ.ดร.อนุสรณ์ ระบุว่า แม้การส่งเสริมให้ประชาชน ผู้มีรายได้น้อย ออมเงินมากขึ้น เพื่อมีเงินใช้ดำรงชีพหลังเกษียณเป็นเรื่องที่ดี แต่หวยเกษียณจะไม่ได้ผลตามเป้าหมาย หากประชาชนยังติดกับดัก “หนี้” รายได้เฉลี่ยของประชาชนยังต่ำมาก และมีค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตสูง 

ทั้งนี้ จึงอยากเสนอแนะ การปฏิรูปโครงสร้างทางสถาบันเศรษฐกิจและระบบสวัสดิการให้เหมาะสมกับโครงสร้างประชากรสังคมสูงวัยของไทย มากกว่า การขับเคลื่อนนโยบายแบบประชานิยมที่อาจช่วยเพียงบรรเทาปัญหาเท่านั้น 

"หวยเกษียณ ไม่มีผลเท่า การปฏิรูประบบการออมโดยเฉพาะการออมแบบบังคับเพื่อรองรับความชราภาพของสังคมไทย"

แนะปฏิรูประบบการออม รับคนไทย "ชราภาพ" - ปรับเงินเดือนให้พอใช้จ่าย 

เพื่อจำเป็นต้องให้สอดคล้องกับความพร้อมทางการเงินการคลัง ระบบสวัสดิการชราภาพของประเทศอีกด้วย จึงเห็นว่า การบูรณาการระบบสวัสดิการสังคม สวัสดิการชราภาพที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น จะทำให้เกิดการแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนในระยะยาวมากกว่า 

เช่น การขยายฐานสมาชิกมาตรา 40 ของกองทุนประกันสังคม โดยจ่ายเงิน 100-300 บาทต่อเดือนก็จะได้รับความคุ้มครอง กรณีชราภาพด้วย ส่วน การมีนโยบายขยายเวลาเกษียณอายุทำงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเป็นเรื่องที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้สำหรับสังคมไทยที่เข้าสู่สังคมชราภาพอย่างรวดเร็ว  

ทั้งนี้ จากข้อมูลล่าสุด หนี้ครัวเรือนไทย สูงกว่า 90% ต่อ จีดีพี ถือเป็นระดับที่ต้องเฝ้าระวัง และอาจฉุดรั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคต สร้างความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินและอาจลุกลามไปเป็นปัญหาสังคมได้ จากแนวโน้มการผิดนัดชำระหนี้ครัวเรือนและหนี้ภาคธุรกิจสูงขึ้นเพราะอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวในระดับสูง 

ในทางออกของ "สังคมผู้สูงอายุ" นั้น เห็นว่า อาจต้องเริ่มปฏิรูป การพัฒนาระบบสวัสดิการ สำหรับคนทุกช่วงวัยตั้งแต่แรกเริ่มจาก 4 ฐาน คือ 

  • สวัสดิการจากฐานทรัพยากรธรรมชาติ ต้องให้ประชาชนเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างเสมอภาคกัน 
  • สวัสดิการจากฐานชีวิตวัฒนธรรมในการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชน 
  • สวัสดิการจากฐานประกัน เช่น ระบบประกันสังคม การสร้างระบบการออมและการประกันการมีรายได้เมื่อเกษียณอายุการทำงานหรือชราภาพ 
  • สวัสดิการจากฐานสิทธิ 

นอกจากนี้ ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบค่าจ่ายขั้นต่ำและเงินเดือนขั้นต่ำที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ควรส่งเสริมศักยภาพแรงงานในการมีส่วนร่วมพัฒนาระบบสวัสดิการ การยกระดับและขยายขอบเขตของสวัสดิการสำหรับแรงงานทุกกลุ่ม ส่งเสริมให้แรงงานลูกจ้างสามารถรวมกลุ่มเป็นสหภาพแรงงาน เป็นต้น  

“การพัฒนาระบบสวัสดิการสำหรับคนทุกช่วงวัย พร้อมกับการเพิ่มการออมสำหรับเกษียณอายุจะช่วยเพิ่มความมั่นคงในคุณภาพชีวิตของประชาชนและสังคมโดยรวม การมีเงินออมสำหรับวัยชราภาพจะช่วยลดภาระทางการคลังของรัฐ การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาจะช่วยบรรเทาให้ภาระหนี้ของครัวเรือนและภาคธุรกิจ รวมทั้งหนี้สาธารณะลดลง ภาระทางการเงินที่ลดลงของภาครัฐและประชาชนจะทำให้มีเงินมากขึ้นในการลงทุนทางด้านการศึกษาและสุขภาพ การลงทุนดังกล่าวจะทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นได้ในระยะยาว"

D.W. Dunlop (1995) ได้ทำการศึกษาวิจัยและพบว่า ระดับสุขภาพเพิ่มสูงขึ้นจากการลงทุนในโภชนาการ การลงทุนในการศึกษาและการลดมลพิษ ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศลดลง กรณีประเทศมีผลิตภาพของแรงงานต่ำเนื่องจากระดับสุขภาพต่ำ ส่งผลให้มีรายได้น้อยและค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพน้อยตามไปด้วย 

ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ Thairath Money ได้ที่ 

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ