5 เรื่องควรทำ ปกป้อง “ข้อมูลส่วนตัว” หยุดตกเป็นเหยื่อ “มิจฉาชีพ” ภัยร้ายคอลเซนเตอร์

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

5 เรื่องควรทำ ปกป้อง “ข้อมูลส่วนตัว” หยุดตกเป็นเหยื่อ “มิจฉาชีพ” ภัยร้ายคอลเซนเตอร์

Date Time: 2 มิ.ย. 2567 10:57 น.

Video

“The Summer Coffee Company” มากกว่า เครื่องดื่ม คือ ความสุข | Brand Story Exclusive EP.3

Summary

  • รู้หรือไม่? คนไทยเป็นเหยื่อมิจฉาชีพวันละ 217,047 คน มากที่สุดในเอเชีย เปิด 5 เรื่องควรทำ ปกป้อง “ข้อมูลส่วนตัว” หยุดแก๊งคอลเซนเตอร์ด้วยมือเรา

Latest


ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ! ประเทศไทย กวาดล้างซิมผีตกสัปดาห์ละ 4,000 ซิม ขณะเจ้าหน้าที่พบคนร้ายคนเดียวถือบัญชีม้ามากถึง 400 บัญชี สะท้อนความน่ากลัวของสังคมที่ต้องหวาดระแวงอยู่กับภัยมิจฉาชีพ รอบตัว 

ขณะ Whoscall แอปพลิเคชันระบุหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่รู้จัก ศัตรูคนสำคัญของ “มิจฉาชีพ” เผยข้อมูลน่าตกใจว่า ปัจจุบันคนไทยโดนมิจฉาชีพหลอกกันมากขึ้น มูลค่าความเสียหายสะสมกว่า 53,876 ล้านบาท!!!

โดยเฉพาะการหลอกลวงผ่านข้อความและการโทร ซึ่งในแต่ละวันคนไทยตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพมากถึงวันละ 217,047 คน (การโทร 20.8 ล้านครั้ง/ปี) ขณะประเทศไทยยังเผชิญกับข้อความหลอกลวง มากที่สุดในเอเชีย (58.3 ล้านครั้ง/ปี)

ช่องว่างที่สำคัญที่ทำให้คนไทยตกเป็นเหยื่อถูกมิจฉาชีพหลอกมากขึ้น เนื่องจากหลายคนมักแยกไม่ออก ไม่ว่าจะสายโทรเข้า หรือข้อความ SMS ที่ส่งเข้ามาในเครื่องเรา เป็นเรื่องจริงหรือหลอก และลิงก์อันตรายส่วนใหญ่ที่เราเผลอกด จะนำไปสู่การเข้าเว็บไซต์ปลอม, หลอกให้โหลดแอปอันตราย และพาโยงไปสู่หน้าช็อปปิ้งออนไลน์ปลอม เป็นต้น 

อย่างไรก็ดี สิ่งที่เราทำได้มากที่สุดคือ การรู้เท่าทัน และปกป้องข้อมูลส่วนตัวของเรา ให้ได้มากที่สุด เพื่อลดความเสียหายจากมิจฉาชีพได้ 

5 เรื่องที่ควรทำ เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนตัว หยุดมิจฉาชีพหลอก 

  1. ไม่โพสต์ข้อมูลส่วนตัว เช่น เลขบัตรประจำตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด เบอร์โทรศัพท์ ลงบนโลกออนไลน์ 
  2. ตั้งรหัสผ่านที่คาดเดาได้ยาก ไม่ใช้ซ้ำ และหมั่นเปลี่ยนรหัสผ่านอยู่เสมอ 
  3. ไม่บันทึกเลขบัตรเครดิต หรือผูกบัญชีธนาคารกับเว็บไซต์และแอปต่างๆ 
  4. ออกจากระบบทุกครั้งเมื่อเสร็จสิ้นการใช้งาน โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับคนอื่น 
  5. ระวังอีเมล หรือลิงก์หลอกลวง ให้กรอกข้อมูลส่วนตัว หากไม่แน่ใจต้องเช็กกับหน่วยงานที่ถูกแอบอ้าง 


ทั้งนี้ การหวงข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น เลขบัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด เบอร์โทรศัพท์ รหัสผ่าน หรือข้อมูลอื่นๆ ที่สามารถใช้ยืนยันและระบุตัวตน เป็นสิ่งที่เราปกป้องเองได้มากที่สุด เพราะหากมิจฉาชีพใช้ข้อมูลเหล่านั้นสวมรอยเป็นเรา และทำธุรกรรม ล้วนทำให้เกิดความเสียหายกับเราได้แน่นอน.

ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่ 

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ