อาเซียน ขึ้นชื่อในฐานะแหล่งแรงงาน “ราคาถูก” ชั้นดีสำหรับเหล่านักลงทุนต่างชาติ ที่ตั้งแต่หลังโควิด-19 พากันย้ายฐานการผลิตเพื่อกระจาย ความเสี่ยงจากความขัดแย้ง ทางภูมิศาสตร์ แม้ค่าแรงที่ถูกจะถือเป็น “ข้อได้เปรียบ” ของอาเซียน ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ แต่ในขณะเดียวกัน ก็เหมือนเป็นบ่วงท่ีฉุดรั้งให้คนทำงาน ติดอยู่กับ “กับดักค่าแรงขั้นต่ำ” ที่กดทับคุณภาพชีวิตไว้ด้วยปัญหาคอขวดที่หากขึ้นค่าแรงจะสร้างความเสียหายให้บริษัทขนาดกลาง-เล็ก แต่หลายประเทศก็ต้องยอมแลก แข่งขันกันกดราคา เพื่อให้ได้มาซึ่งเม็ดเงินมหาศาล และการจ้างงานที่จะเกิดขึ้น ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ
Thairath Money พาส่องค่าแรงขั้นต่ำของประเทศอาเซียนตอนนี้อยู่ที่เท่าไร ไทยถูกหรือแพง
ภายใต้คําสั่งการจ้างงานใหม่ (ค่าแรงขั้นต่ำ ปี 2566) ของกรมแรงงานบรูไน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ค 2566 กำหนดให้ปรับขึ้นค่าแรงเป็นระยะ โดยระยะแรกจะปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในภาคการธนาคารและการเงิน และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ซึ่งนโยบายดังกล่าวจะครอบคลุมถึงพนักงานต่างชาติในบริษัทเอกชน ยกพนักงานภาครัฐ เด็กฝึกงาน พนักงานต่างชาติที่ถือวีซ่า professional visit (PVV) หรือผู้มีใบอนุญาตทํางานพิเศษ
โดยพนักงานเต็มเวลา มีค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 500 ดอลลาร์บรูไนต่อเดือน (13,630 บาท) ในขณะที่พนักงาน part time จะได้รับค่าแรงขั้นต่ำที่ 2.62 ดอลลาร์บรูไนต่อชั่วโมง
ทั้งนี้ กฎหมายกำหนดให้แรงงานที่ไม่ทำงานเป็นกะทำงานไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน หรือมากกว่า 44 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ส่วนคนที่ทำงานเป็นจะต้องไม่ทำงานเกินกว่า 44 ชั่วโมงต่อสัปดาห์โดยเฉลี่ย ในช่วงระยะเวลา 3 สัปดาห์ติดต่อกัน ไม่เกิน 12 ชั่วโมงต่อวัน
ภายใต้คำสั่งค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ปี 2565 ซึ่งมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2565 กำหนดให้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 25% เป็น 1,500 ริงกิตต่อเดือน (11,658 บาท) จากเดิม 1,200 ริงกิต
ทั้งนี้ ธุรกิจขนาดเล็ก (ธุรกิจที่มีพนักงาน 5 คนหรือน้อยกว่า) จะได้รับการขยายเวลาไปจนถึง เดือน ก.ค. 2566 เพื่อปรับตัวรับค่าแรงอัตราใหม่
โดยอัตราค่าแรงขั้นต่ำเมื่อคิดเป็นรายวัน มีรายละเอียดดังนี้
ทั้งนี้ รัฐบาลมีแผนที่จะออกนโยบายอัตราค่าแรงแบบก้าวหน้า ซึ่งกำหนดให้นายจ้างพิจารณาขึ้นค่าแรงตามทักษะ ประสบการณ์ และผลงานของพนักงานแต่ละคน โดยมีเป้าหมายปรับใช้นโยบายในกลุ่มธุรกิจขนาดกลาง-เล็ก ซึ่งจะช่วยส่งเสริมนโยบายค่าแรงขั้นต่ำในปัจจุบัน
รัฐบาลอินโดนีเซียได้ประกาศปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำใน 38 จังหวัด โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2567 ทั้งนี้ อัตราค่าแรงขั้นต่ำในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันไป อ้างอิงจากกรุงจาการ์ตา ซึ่งเป็นเมืองหลวง มีการปรับขึ้นค่าแรง 3.38% เป็น 5,067,381 รูเปียห์ (11,564 บาท) จากเดิม 4,901,798 รูเปียห์
สำหรับชั่วโมงการทํางาน ปกติอินโดนีเซียจะทำงานอยู่ที่ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 8 ชั่วโมงต่อวัน เป็นเวลา 5 วัน หรือ 7 ชั่วโมงต่อวัน เป็นเวลา 6 วัน
ทั้งนี้ ธุรกิจขนาดเล็กจะได้รับการยกเว้นจากการจ่ายอัตราค่าแรงขั้นต่ำ แต่จะต้องจ่ายค่าแรงอย่างน้อย 50% ของค่าครองชีพในประเทศ
ปัจจุบันไทยมีอัตราค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 330-370 บาทต่อวัน หรือเฉลี่ย 345 บาทต่อวัน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ที่ผ่านมา หลังบอร์ดค่าจ้างมีมติปรับขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำ โดยปรับขึ้น 2-16 บาทในแต่ละจังหวัด จังหวัดที่ปรับมากที่สุดคือ ภูเก็ต 370 บาท (เพิ่มขึ้น 16 บาท) และต่ำที่สุดคือ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา 330 บาท (เพิ่มขึ้น 2 บาท)
ล่าสุด เมื่อวันที่ 26 มี.ค. ที่ผ่านมา คณะกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำ มีการเคาะปรับค่าจ้างขั้นต่ำครั้งที่ 2 ของปีนี้ โดยที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำใน 10 จังหวัดนำร่องที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูง ในธุรกิจโรงแรมที่พักระดับ 4 ดาวขึ้นไป โดยเริ่มจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 เม.ย. 2567
ทั้งนี้ ตามกฎหมายแรงงานของไทย กำหนดให้ทำงานไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และจะต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (หรือทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์) อีกทั้งลูกจ้างจะต้องมีวันหยุดประจำสัปดาห์อย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณีอย่างน้อย 13 วันต่อปี และวันหยุดพักผ่อนประจำปีอย่างน้อย 6 วันทำงานต่อปี
ค่าแรงขั้นต่ำในปัจจุบันในกัมพูชาคือ 818,800 เรียลต่อเดือน (7,562 บาท) เพิ่มขึ้น 16,365 เรียล จากปี 2566 โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2567 ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ รองเท้า และสินค้าท่องเที่ยว โดยพนักงานเดิมจะได้รับค่าแรงขั้นต่ำที่ 818,800 เรียลต่อเดือน ในขณะที่พนักงานใหม่ที่อยู่ในช่วงทดลองงานจะได้รับค่าแรงอยู่ที่ 810,612 เรียล
นอกจากนี้ พนักงานยังได้รับสวัสดิการเพิ่มเติม ได้แก่
ทั้งนี้ สาเหตุที่ต้องมีการปรับขึ้นค่าแรงใน 3 อุตสาหกรรมดังกล่าว เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นกระดูกสันหลังของประเทศ โดยครองสัดส่วนการจ้างงานมากที่สุด มากกว่า 700,000 คน และมีมูลค่าคิดเป็นครึ่งหนึ่งของมูลค่าการส่งออก
อ้างอิงข้อมูลจาก statista พบว่าปัจจุบันฟิลิปปินส์มีค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 186.97 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน (6,930 บาท) ทั้งนี้ ค่าแรงขั้นต่ำจะแตกต่างกันไปตามภูมิภาค และประเภทของการจ้างงาน
หากแบ่งตามอุตสาหกรรม มีรายละเอียดดังนี้
สำหรับชั่วโมงการทํางานในฟิลิปปินส์อยู่ที่ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยพนักงานมีสิทธิ์ได้รับค่าตอบแทนจากการทำงานล่วงเวลา
ปัจจุบัน เวียดนามมีค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 4,680,000 ดองต่อเดือน (6,841 บาท) อ้างอิงจากเมืองหลวงกรุงฮานอย โดยค่าแรงขั้นต่ำในเวียดนามมี 2 ประเภท
ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2566 รัฐบาลเมียนมาได้ปรับขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศในรอบ 5 ปี ท่ามกลางเศรษฐกิจที่หยุดชะงักหลังการรัฐประหาร โดยปัจจุบันมีค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 5,800 จ๊าดต่อวัน (102 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 4,800 จ๊าด ในปี 2561 สำหรับการทำงาน 8 ชั่วโมง ครอบคลุมทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้ ธุรกิจขนาดเล็ก (ที่มีพนักงาน 10 คน หรือน้อยกว่า) จะได้รับการยกเว้นการปรับขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำ
ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2566 รัฐบาลลาวได้ปรับขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำเป็น 1.6 ล้านกีบต่อเดือน (2,778 บาท) จาก 1.3 ล้านกีบ นับเป็นการปรับขึ้นค่าแรงครั้งที่ 3 หลังปรับขึ้นค่าแรงล่าสุด เมื่อเดือนมิถุนายน 2565 เพื่อสู้ปัญหาเงินเฟ้อและเงินกีบที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง
นโยบายนี้ครอบคลุมธุรกิจทุกประเภท ทั้งพนักงานเก่าและพนักงานใหม่ โดยมีรายละเอียดดังนี้
นอกจากนี้ นายจ้างจะต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมให้กับแรงงานในโรงงานที่เสี่ยงได้รับอันตรายจากการทำงาน อย่างน้อย 15% ของค่าแรงขั้นต่ำ
ด้านสิงคโปร์เป็นประเทศเดียวในอาเซียน ที่ไม่มีการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ แต่ค่าจ้างส่วนใหญ่จะถูกกำหนดโดยกลไกตลาด ค่าครองชีพ และข้อตกลงร่วมกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง เนื่องจากรัฐบาลสิงคโปร์กังวลว่าการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำจะทำให้แรงงานเลิกพัฒนาทักษะของตัวเอง เพิ่มภาระต้นทุนธุรกิจให้กับธุรกิจขนาดเล็ก ส่งผลให้เกิดการว่างงาน
ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ Thairath Money ได้ที่
https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney