ประเทศไทยกำลังเจอปัญหาการพิจารณางบประมาณประจำปี 2567 ที่ล่าช้า ทำให้เม็ดเงินที่จะต้องลงทุน และสร้างงานหมุนเศรษฐกิจนั้นก็ล่าช้าออกไปด้วย และมีความเสี่ยงถึงการใช้งบประมาณไม่ทัน และเสียโอกาสการเติบโต ดังนั้นทาง กรมบัญชีการ ได้ออก 4 มาตรการเพื่อเร่งการเบิกจ่ายเงินของภาครัฐ เพื่อให้เกิดการเบิกจ่ายเงินที่วดเร็ว
แพตริเซีย มงคลวนิช อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า เนื่องจากหน่วยรับงบประมาณมีระยะเวลาดำเนินการและเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 ประมาณ 5 เดือน ดังนั้นเพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐสามารถเร่งรัดการเบิกจ่ายได้ภายในระยะเวลาข้างต้น
คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐได้กำหนดแนวทางปฏิบัติ โดยลดระยะเวลาการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในปีงบประมาณ 2567 รวมทั้งกรมบัญชีกลางยังได้กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกหักผลักส่ง เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 ชดใช้เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2566 ไปพลางก่อน เพื่อให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและมีความถูกต้อง เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 มีผลบังคับใช้
1.ให้เร่งเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีของปีงบประมาณ 2566 ให้สามารถเบิกจ่ายได้ภายในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2567 โดยเฉพาะในส่วนของรายจ่ายที่ก่อหนี้แล้ว สำหรับรายการที่อยู่ระหว่างดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้เร่งรัดการก่อหนี้และเบิกจ่ายโดยเร็ว
2.กำหนดระยะเวลาส่งมอบงานให้รวดเร็วขึ้น และเบิกจ่ายตามกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง
3.กำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายภาพรวม 93% การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำ 98% การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุน 75% และเป้าหมายการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายภาพรวม รายจ่ายประจำ และรายจ่ายลงทุน 100%
4.ให้หน่วยรับงบประมาณดำเนินการ ดังนี้
4.1 เมื่อได้รับอนุมัติเงินจัดสรรแล้ว กรณีเป็นรายการที่จะต้องดำเนินการ หรือเบิกจ่ายโดยสำนักงานในส่วนภูมิภาค เร่งดำเนินการส่งเงินจัดสรรต่อไปยังสำนักงานในส่วนภูมิภาค ภายใน 5 วันนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติเงินจัดสรร เพื่อให้สำนักงานในส่วนภูมิภาคดำเนินการใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันต่อไป
4.2 รายการลงทุนปีเดียวให้ก่อหนี้ผูกพันให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2567 สำหรับรายการผูกพันใหม่ให้ก่อหนี้ผูกพันให้แล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2567
4.3 ให้หัวหน้าหน่วยงานเจ้าของงบประมาณกำกับดูแล บริหารจัดการเร่งรัดการดำเนินการ เพื่อให้สามารถก่อหนี้ และเบิกจ่ายเงินงบประมาณให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
นอกจากนี้กรมบัญชีกลางได้แต่งตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจในการติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณ จำนวน 175 ทีม โดยแบ่งเป็น
1.ส่วนกลาง 90 ทีม ซึ่งมีข้าราชการระดับชำนาญการพิเศษเป็นหัวหน้าทีม
โดยมีหน้าที่ดังนี้
2.ส่วนภูมิภาค 85 ทีม (คลังเขต 9 ทีม คลังจังหวัด 76 ทีม)
โดยมีหน้าที่
รวมทั้งมีคณะทำงานกำกับดูแลการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่าย ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างและการเบิกจ่าย ทำหน้าที่ติดตามการดำเนินงาน ให้คำปรึกษา แก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ให้แก่คณะทำงานเฉพาะกิจฯ.
อ่านข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศอื่นๆ กับ Thairath Money ได้ที่
https://www.thairath.co.th/money/economics/world_econ
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้
https://www.facebook.com/ThairathMoney