คนไทย 50% เชื่อ เศรษฐกิจไทยปีหน้าเข้าขั้นคำว่า “แย่” คาดเงินเฟ้อ-ดอกเบี้ย ยังสูง ดันค่าครองชีพ

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

คนไทย 50% เชื่อ เศรษฐกิจไทยปีหน้าเข้าขั้นคำว่า “แย่” คาดเงินเฟ้อ-ดอกเบี้ย ยังสูง ดันค่าครองชีพ

Date Time: 21 ธ.ค. 2566 14:04 น.

Video

“ไทยรัฐ โลจิสติคส์” ถอดคราบ “ยักษ์เขียว” มุ่งสู่ขนส่งครบวงจร | Thairath Money Talk

Summary

  • ผลวิจัย อิปซอสส์ ชี้คนทั่วโลกยังหวั่น “ภาวะเงินเฟ้อ” ขณะคนไทย 50% เชื่อ เศรษฐกิจไทยปี 2567 เข้าขั้นคำว่า “แย่” คาดดอกเบี้ยยังสูง ราคาน้ำมันพุ่ง ดันวิกฤติค่าครองชีพ กดดันแนวโน้มการจับจ่ายใช้สอย ซื้ออาหาร และ เที่ยวนอกบ้าน ต่ำสุดในรอบหลายปี

Latest


ผลสำรวจเกี่ยวกับความกังวลของชาวโลก และคนไทย ช่วงปี 2567 โดย อิปซอสส์ องค์กรด้านการวิจัยตลาดและสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคระดับโลก เผยว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 6,000 คน ใน 33 ประเทศทั่วโลก รวมถึง ประเทศไทย นั้น 

พบว่า “ภาวะเงินเฟ้อ” ยังคงเป็นความกังวลสูงสุดของประชากรโลก และต่อเนื่องมายาวนานถึง 20 เดือน ซึ่งนับว่านานที่สุดเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่เคยทำสำรวจมา

ส่วนแนวโน้มความกังวลใจของคนไทย 5 อันดับแรก ได้แก่ 

  • อันดับ 1 : ความยากจน และความไม่เท่าเทียมทางสังคม   
  • อันดับ 2 : การทุจริตทางการเงิน หรือการเมือง   
  • อันดับ 3 : ภาวะเงินเฟ้อ  
  • อันดับ 4 : การว่างงาน 
  • อันดับ 5 : ความรุนแรง และอาชญากรรม 

คนไทย กังวล “เงินเฟ้อ” ดันแนวโน้ม “ค่าครองชีพ” พุ่ง! 

สำหรับ สภาวะเศรษฐกิจในประเทศ ความเชื่อมั่นในมุมมองของประชากรไทย พบว่า คนไทยราว 50% เห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศปัจจุบันเข้าขั้น “แย่” แต่ลดลงจาก 57% ในเดือนเมษายน 2566 ที่ทำการสำรวจ 

ขณะเดียวกัน 6 ใน 10 (61%) ของคนไทยยังกล่าวว่า ปัจจุบันมีคนในครอบครัว หรือ คนที่พวกเขารู้จักเป็นการส่วนตัว “ตกงาน” ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา แต่ประมาณครึ่งหนึ่งคาดว่าเศรษฐกิจในพื้นที่ของตน รวมถึงสถานะทางการเงินส่วนบุคคลจะแข็งแกร่งขึ้นในอีก 6 เดือนข้างหน้า

ส่วนในแง่ของการใช้จ่าย และการครองชีพ ผลสำรวจ อิปซอสส์ เผยว่า 50% ของประชาชนคนไทยมองว่า “ราคา” สินค้า และบริการในปีหน้าจะสูงขึ้นกว่าในปัจจุบันและกว่าครึ่งของประชากรไทยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นในปีหน้า ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นถึงความสามารถในการจัดการด้านการเงินของคนไทยใน 5 ระดับ โดยเปรียบเทียบสัดส่วนระหว่างอัตราเฉลี่ยของโลก กับ คนไทย คือ 

  • กลุ่มคนมีชีวิตสะดวกสบาย 10 : 7 
  • จัดการได้ดีในสัดส่วน 28 : 26 
  • พอจัดการให้รอดไปได้ 33 : 45 
  • รู้สึกว่าจัดการได้ยาก 17 : 14
  • รู้สึกว่าจัดการได้ยากมาก 10 : 6 


ในแง่ของค่าใช้จ่าย ผลการศึกษาพบว่า คนไทยคาดการณ์กลุ่มสินค้าอาหาร / ของใช้ในครัวเรือน ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง จะมีราคาสูงขึ้นในอีกในปี 2567 

โดยคนไทยเชื่อว่าค่าครองชีพที่สูงขึ้นมาจากปัจจัยหลักเหล่านี้ 

  • 77% ระดับอัตราดอกเบี้ยในประเทศ
  • 77% นโยบายของรัฐบาลแห่งชาติ
  • 76% สภาวะของเศรษฐกิจโลก
  • 75% คนงานเรียกร้องค่าจ้างเพิ่มขึ้น
  • 74% ธุรกิจทำกำไรมากเกินไป


ทั้งนี้คาดว่าจากเทรนด์ดังกล่าวจะทำให้ภาคธุรกิจต่างๆ ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะ กลุ่มค้าปลีก (Retail) จากการที่ผู้บริโภคเริ่มกังวลกับค่าใช้จ่าย โดยจำนวนคนที่คาดว่าค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหาร และของใช้ในบ้านในปีหน้ามีสัดส่วนต่ำที่สุดตั้งแต่เริ่มทำการสำรวจ 


“ผู้คนเริ่มสังเกตเห็นขนาดสินค้าที่ลดลงตามร้านค้า และซุปเปอร์มาร์เก็ต และมีผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยในหลายประเทศที่รับไม่ได้กับเรื่องนี้ มีกลุ่มธุรกิจค้าปลีกในหลายประเทศที่เข้าข้างผู้บริโภค และเริ่มจับตามองผู้ผลิตมากขึ้น”.

ที่มา : Ipsos Ltd. 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ