“สงกรานต์” เฟสติวัลระดับโลก กับตำแหน่ง เรือธง “Soft Power ไทย” มรดกโลกทางวัฒนธรรม ขุมทรัพย์แสนล้าน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

“สงกรานต์” เฟสติวัลระดับโลก กับตำแหน่ง เรือธง “Soft Power ไทย” มรดกโลกทางวัฒนธรรม ขุมทรัพย์แสนล้าน

Date Time: 7 ธ.ค. 2566 12:19 น.

Video

“The Summer Coffee Company” มากกว่า เครื่องดื่ม คือ ความสุข | Brand Story Exclusive EP.3

Summary

  • ยูเนสโก ขึ้นทะเบียน “สงกรานต์ไทย” เป็นมรดกวัฒนธรรมของมนุษยชาติ เปิดทาง เรือธง “Soft Power ไทย” ย้อนสถิติ 10 ปี ย้อนหลัง สงกรานต์ ปลุกเม็ดเงินทางเศรษฐกิจไทย แค่ไหน?

Latest


นับเป็นความสำเร็จ และความภาคภูมิใจของประเทศไทย อีกครั้งหนึ่ง หลังวานนี้ (6 ธ.ค.) ยูเนสโก ประกาศให้ “สงกรานต์ไทย (Songkran in Thailand)” เป็น มรดกโลกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ 

ต่อจาก “โขน” เมื่อปี 2561 ก่อนปี 2562 “นวดไทย” ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นลำดับถัดมา เช่นเดียวกับ “โนรา” ที่ได้รับการอนุมัติ เมื่อ 15 ธันวาคม 2564 รวม 4 มรดก “ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทย” ที่ดังไกลระดับโลก และได้รับการยอมรับในระดับสากล


ตอกย้ำ ต้นทุนทางวัฒนธรรม ที่สามารถต่อยอดในเชิงเศรษฐกิจได้ สอดคล้องกับนิยามของคำว่า “Soft Power” ที่รัฐบาลกำลังผลักดันอย่างจริงจัง พร้อมๆ กับแผนงาน ซอฟต์พาวเวอร์ ปี 2567 ที่มีกระแสข่าวออกมาว่า รัฐบาลเตรียม จัดกิจกรรม เล่นสงกรานต์ ทั้งเดือน เมษายนทั่วประเทศ เพื่อหวังให้นักท่องเที่ยวทั่วโลก บินลัดฟ้ามาเล่นสาดน้ำที่ประเทศไทย 


ก่อนคนของพรรครัฐบาล ชี้แจงว่า ไม่ใช่การเปิดให้สาดน้ำทุกพื้นที่ทั้งเดือน แต่จะเป็นรูปแบบการทยอยจัดไปตามพื้นที่และภูมิภาคต่างๆ ตลอดทั้งเดือนเมษายน 2567 เช่น ถนนข้าวสาร, ไอคอนสยาม, เซ็นทรัลเวิลด์, สงกรานต์พระประแดง และวันไหลชลบุรี ฯลฯ โดยคาดว่านี่จะทำให้เกิดเงินสะพัดในเชิงการท่องเที่ยว และเม็ดเงินกระจายทั่วประเทศ จากการเข้ามาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่ชื่นชอบประเพณีสงกรานต์ของไทย ที่หาจากไหนในโลกไม่ได้ 


ปฏิเสธไม่ได้ว่า “เทศกาลสงกรานต์” หรือประเพณีปีใหม่ไทย ไม่ใช่แค่ เฟสติวัล ที่โด่งดังแค่ในบ้านเรา และนี่ถือเป็นอีเวนต์ระดับโลก ที่เชื้อเชิญให้นักท่องเที่ยวจากทุกชาติ เข้ามาในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี และนำมาซึ่งเงินสะพัดในระบบเศรษฐกิจมหาศาล โดยเฉพาะช่วยปลุกเม็ดเงินในภาคธุรกิจการท่องเที่ยว บริการ ค้าปลีก ร้านอาหาร ผับบาร์ และเทศกาลดนตรี ให้คึกคัก เพิ่มรายได้ให้กับคนไทยในระบบอย่างมากมาย 


#ThairathMoney ชวนเปิดสถิติ 10 ปีย้อนหลัง “สงกรานต์ไทย” ว่ามีบทบาทกับเศรษฐกิจไทยอย่างไร จากประเพณีเก่าแก่ของไทย ที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยแรกเริ่มที่เป็นการเล่นประพรมน้ำ แบบ งดงาม อ่อนโยน อบอวลไปด้วยความกตัญญู อบอุ่นของคนในครอบครัว สู่ความสนุกสนานครั้งใหญ่ ที่ปลุกให้เศรษฐกิจไทยพีกในทุกๆ ฤดูร้อนของประเทศไทย 


ข้อมูลจาก ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สรุปประโยชน์ของสงกรานต์ ในเชิงเศรษฐกิจ ผ่านการสะพัดของเม็ดเงิน 10 ปีย้อนหลัง ดังต่อไปนี้ 

  • ปี 2556 1.14 แสนล้านบาท 
  • ปี 2557 1.16 แสนล้านบาท
  • ปี 2558 1.19 แสนล้านบาท
  • ปี 2559 1.24 แสนล้านบาท
  • ปี 2560 1.27 แสนล้านบาท 
  • ปี 2561 1.3 แสนล้านบาท 
  • ปี 2562 1.35 แสนล้านบาท 
  • ปี 2563 (โควิด-19 ระบาด)
  • ปี 2564 1.13 แสนล้านบาท
  • ปี 2565 1.06 แสนล้านบาท (ต่ำสุดรอบ 10 ปี)
  • ปี 2566 1.25 แสนล้านบาท


ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องติดตามกันต่อ ก็คือ การที่ยูเนสโก ขึ้นทะเบียน “สงกรานต์ไทย” เป็นตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาตินั้น จะช่วยเปิดทาง หรือเป็นแรงหนุนสำคัญให้เทศกาลสงกรานต์ของประเทศไทย กลายเป็น “World Water Festival - The Songkran Phenomenon” ตามที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ตั้งเป้าหมายเอาไว้ได้หรือไม่ ต้องติดตาม.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์