สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ เครดิตบูโร เปิดเผยสถานการณ์ข้อมูลหนี้สินภาคครัวเรือนจากฐานข้อมูลเครดิตบูโร ณ สิ้นไตรมาส 3/2566 (30 ก.ย. 2566) พบว่า ไตรมาส 3 ปีนี้ มียอดสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 13.55 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.8%
โดยในจำนวนนี้ มีสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถ และสินเชื่อส่วนบุคคล เป็นจำนวนมากที่สุด 3 อันดับแรก ดังนี้
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์หนี้ภาคครัวเรือนในไตรมาส 3/2566 พบว่า หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) หรือ หนี้ที่ขาดชำระเกิน 90 วัน มียอดสะสมอยู่ที่ 1.05 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 10.04 ล้านบัญชี ลดลงทั้งในแง่มูลค่าและจำนวนบัญชี 0.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อีกทั้งเมื่อแยกจำนวนหนี้ภาคครัวเรือน และหนี้เสียที่เกิดขึ้นแบ่งตามกลุ่มช่วงวัย หรือ เจเนอเรชัน แล้วพบว่า คนเจน Y (อายุ 25-43 ปี) มีหนี้ครัวเรือนมากที่สุด ขณะเดียวกัน ก็มีหนี้เสียมากที่สุดเช่นกัน เมื่อเทียบกับคนวัยอื่นๆ
จากฐานข้อมูลเครดิตบูโร ณ สิ้นไตรมาส 3/2566 เมื่อเรียงลำดับตามมูลค่าหนี้ครัวเรือนคงค้าง และมูลค่าหนี้เสีย พบว่า
จากฐานข้อมูลเดียวกันยังพบ ข้อมูลที่บ่งชี้ว่า
ส่วนหนี้สงสัยจะสูญ หรือ Special Mentioned (SM) ซึ่งหมายถึงสินเชื่อที่ค้างชำระตั้งแต่ 31-90 วัน ณ สิ้นไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 5 แสนล้าน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 21.4% หรือมีจำนวนบัญชีเป็น SM 1.95 ล้านบัญชี หรือเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 0.8%
ทั้งนี้ สินเชื่อสงสัยจะสูญ ก้อนใหญ่ อยู่ที่สินเชื่อรถ 2.13 แสนล้านบาท และสินเชื่อบ้าน 1.36 แสนล้านบาท และสินเชื่อบ้านจำนวนนี้ 68% เป็นหนี้ที่อยู่กับสถาบันการเงินของรัฐ หรือ SFIs
อีกทั้งยังพบว่า SM 5 แสนล้านบาท ณ สิ้นไตรมาส 3/2566 ยังกระจุกตัวในกลุ่มลูกหนี้ GEN Y เช่นกัน