กฎหมาย PDPA ยังเตาะแตะ คนไทยไม่ตระหนักรู้ความสำคัญข้อมูลส่วนบุคคล

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

กฎหมาย PDPA ยังเตาะแตะ คนไทยไม่ตระหนักรู้ความสำคัญข้อมูลส่วนบุคคล

Date Time: 27 ต.ค. 2566 05:30 น.

Latest

ทอท. ลงทุนเต็มพิกัด 10 ปี 2 แสนล้านบาท เที่ยวบินอินเตอร์ฟื้นตัวเกิน 100%

นายอุดมธิปก ไพรเกษตร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ดีบีซี กรุ๊ป จำกัด (DBC Group) และผู้ก่อตั้ง PDPA Thailand เปิดเผยว่า หลังจากที่ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือกฎหมาย PDPA มีผลบังคับใช้โดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2565 จากการตรวจสอบเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) พบว่ามีเคสร้องเรียนจากประชาชน 300 เคส และมีการตัดสินคดีทางปกครองไปแล้วทั้งสิ้น 70 เคส แต่น่าเสียดายที่ไม่ได้มีการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน โดยเฉพาะการสร้างความตระหนักรู้และความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคล ที่ประชาชนไทยยังไม่ให้ความสนใจเท่าใดนัก

“มองว่าสังคมควรมีความตื่นตัวมากกว่านี้ โดยเฉพาะองค์กรภาครัฐที่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลมากที่สุด เก็บทุกประเภท และเก็บโดยไม่คำนึงถึงความจำเป็น การเก็บข้อมูลที่มากเกินไป ก็อาจถือว่าเป็นการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วย คงต้องรอดูทิศทางนโยบายจากนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) คนใหม่ต่อไป”

นายอุดมธิปก กล่าวว่า ขณะนี้ สคส.ยังคงทยอยออกกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องกับองค์กรที่ต้องมีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer : DPO) ตามมาตราที่ 41 ซึ่งกำหนดให้องค์กรที่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ได้แก่ หน่วยงานรัฐ สถานพยาบาล บริษัทประกันชีวิต ประกันภัย บริษัทให้สินเชื่อส่วนบุคคล บริษัทจัดหางาน ห้างสรรพสินค้า บริษัทที่ขายของออนไลน์ เป็นต้น ต้องมีเจ้าหน้าที่ DPO อย่างน้อยองค์กรละ 1 คน ภายในกลางเดือน ธ.ค.2566 ซึ่งตรงนี้คงต้องขึ้นอยู่กับ สคส.ว่าจะเคร่งครัดและตรวจสอบให้เป็นไปตามกฎหมายมากน้อยเพียงใด.

อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ