ประเมินใช้กฎหมายภาษีที่ดิน รับฟังความเห็น! ทบทวนแนวทางจัดเก็บ

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ประเมินใช้กฎหมายภาษีที่ดิน รับฟังความเห็น! ทบทวนแนวทางจัดเก็บ

Date Time: 16 ต.ค. 2566 07:10 น.

Summary

  • คลังประสานมหาดไทย เร่งประเมินการใช้กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หลังกฎหมายกำหนดให้ต้องประเมินทุก 5 ปี เร่งรับฟังและรวบรวมความคิดเห็น มาปรับปรุงและทบทวนกฎหมายให้เกิดความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Latest

ล้อมคอกรถโดยสารสาธารณะยึดมาตรฐาน "UN”

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย ได้หารือร่วมกันเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงติดตามปัญหาอุปสรรคต่างๆ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาประเมินผลสัมฤทธิ์ของ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 เพื่อดำเนินการตาม พ.ร.บ.หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมาย

“ตามหลักการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย กำหนดให้ต้องมีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย อย่างน้อยทุก 5 ปี นับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับ รวมถึงรับฟังความคิดเห็นผู้ประกอบการ เพื่อให้ได้ข้อมูลหรือความคิดเห็นจากผู้ซึ่งมีสิทธิหรือหน้าที่หรือได้รับผลกระทบที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงกฎหมายให้เกิดความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การปรับปรุงกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาแบบสอบถามของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมความคิดเห็นต่างๆในการดำเนินการในขั้นตอนต่อไป ซึ่งนอกจากจะทบทวนตามหลักเกณฑ์ ของการจัดทำกฎหมายแล้ว ยังเป็นไปตามนโยบายของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ที่ต้องการให้มีการทบทวนแนวทางการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

สำหรับ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ได้เริ่มจัดเก็บภาษีตั้งแต่ปี 2563 แต่ในตัวกฎหมายกำหนดให้มีส่วนลดหย่อนทางภาษีใน 3 ปีแรก ของการจัดเก็บภาษีตัวนี้ คือ ตั้งแต่ปี 63-65 เพื่อบรรเทาภาระภาษีในช่วงที่เปลี่ยนผ่านจากการยกเลิกภาษีโรงเรือนและที่ดินที่ใช้มานาน โดยมีการจัดเก็บภาษีบนฐานจากราคาประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของกรมธนารักษ์ ร่วมกับอัตราภาษีที่กำหนด ซึ่งแบ่งการเก็บออกเป็น 4 ประเภท ตามรูปแบบการใช้ประโยชน์ คือ ที่ดินเพื่อการเกษตร ที่ดินเพื่ออยู่อาศัย ที่ดินใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่น ใช้ในการพาณิชย์ อุตสาหกรรม และสุดท้ายเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า ไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรจะเสียภาษีสูงสุด

ทั้งนี้ ปัจจุบันภาษีที่ดินเพื่อการเกษตรมีอัตราภาษีตั้งแต่ 0.01-0.1% โดยยกเว้นภาษี ให้กับที่ดินเพื่อการเกษตรที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท และใน 3 ปีแรกของการจัดเก็บภาษีนี้ ในกรณีเป็นที่ดินเกษตรของบุคคลธรรมดาไม่ใช่นิติบุคคล ไม่ต้องมีภาระภาษีที่ดินเพื่ออยู่อาศัย มีอัตราตั้งแต่ 0.02-0.1% กรณีเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและเป็นบ้านหลังหลักของคนคนนั้น มีชื่อเป็นเจ้าของและมีชื่อในทะเบียนบ้านหลังนั้น ที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี ส่วนที่ดินประเภทอื่นๆ ได้แก่ พาณิชย์ อุตสาหกรรม และภาษีที่รกร้างว่างเปล่า จะเก็บอัตราเท่ากัน 0.3-0.7% แต่ในอนาคตภาษีที่ดินรกร้างว่างเปล่าจะถูกเก็บภาษีเพิ่มขึ้น 0.3% ในทุกๆ 3 ปี โดยมีเพดานสูงสุดไม่เกิน 3%.


อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ