สะท้อนภาพเศรษฐกิจจากสภาพัฒน์

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

สะท้อนภาพเศรษฐกิจจากสภาพัฒน์

Date Time: 2 ก.ย. 2566 05:32 น.

Latest

“พิชัย” เปิดเวทีชวนนักลงทุนเข้าไทย

บทความ หนี้สินคนไทย ภาพสะท้อนจากข้อมูลเครดิตบูโร โดย วรวรรณ พลิคามิน รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยการรวบรวมข้อมูลรายละเอียดจากข้อมูลของ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ที่มีทั้ง มูลค่าหนี้สินจัดชั้น หรือ SML ไปจนถึง หนี้เสีย หรือ NPL พบว่า สถานการณ์ หนี้สินเชื่อในระบบ ประมาณ 83.1 ล้านบัญชี และมี หนี้สินครัวเรือน รวมแล้ว 12.9 ล้านล้านบาท

ปัจจุบัน ฐานประชากรของไทย มีอยู่ประมาณ 71.6 ล้านคน แสดงว่า จำนวนบัญชีหนี้สิน มีมากกว่าจำนวนประชากร และ มูลค่าหนี้ครัวเรือน มีจำนวนมากกว่างบประมาณรายจ่ายของแต่ละปี

หนี้เสียต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 7.6 จาก ธนาคารพาณิชย์ ร้อยละ 2.6 น้อยกว่าข้อมูลของเครดิตบูโรกว่า 3 เท่า หนี้เสียในระบบธนาคารพาณิชย์ อยู่ที่ 1.4 แสนล้านบาท จากข้อมูลของ เครดิตบูโร มีมูลค่ามากกว่า 9.8 แสนล้านบาท สะท้อนว่าลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เสีย เป็นลูกหนี้ที่กู้เงินจากแหล่งหนี้อื่น ที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ และสอดคล้องกับจำนวนหนี้ครัวเรือนของไทยที่อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง

คาดกันว่า จำนวนหนี้ดังกล่าวส่วนหนึ่งจะเป็นหนี้นอกระบบ ด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นอัตราภาวะหนี้ครัวเรือน และหนี้เสียของประเทศที่มากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะ กลุ่มแรงงานตอนต้น คืออายุต่ำกว่า 30 ปี และ กลุ่มผู้สูงอายุ ระหว่าง 50-59 ปี เป็นกลุ่มที่เกิดหนี้เสียมากขึ้น 4.1% ต่อปี

กลุ่มเจน Y มีพฤติกรรมตามทัศนคติที่ว่า ของมันต้องมี ทำให้มีการก่อหนี้อย่างขาดสติ ขาดการวางแผนการเงินในอนาคต กลุ่มผู้สูงอายุ หนี้เสียเพิ่มขึ้น 10.2% ต่อปี ส่วนใหญ่มาจากประสิทธิภาพการทำงานลดลง ทำให้ความสามารถในการหารายได้ลดลง ซึ่งมีผลถึงความสามารถในการชำระหนี้ลดลงตามไปด้วย

นอกจากนี้ กลุ่มวัยทำงาน ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี เป็นสัดส่วนที่มีหนี้เสียจำนวนมาก มีความเสี่ยงที่จะถูกยึดรถกว่า 9.5 หมื่นคัน มีหนี้เสียต่อสินเชื่อรวมที่ร้อยละ 8.6 สัดส่วนมูลค่าหนี้กว่า ร้อยละ 18.8 ที่ไม่สามารถแยกประเภทได้ เป็นลูกหนี้ NPL เกือบ 2 ล้านราย

หนี้ที่มีการสะสมเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่เป็นหนี้ของเกษตรกร ที่จะต้องรีบตัดวงจรโดยเข้าโครงการพักชำระหนี้เพื่อไม่ให้เกิดหนี้เสียมากไปกว่านี้

ที่น่าเป็นห่วงคือ ทัศนคติทางการเงินของคนไทย ที่ให้ความสำคัญกับการวางแผนทางการเงินลดลง และคุ้นเคยกับการรอความช่วยเหลือของภาครัฐ มากกว่าจะแก้ปัญหาด้วยตัวเอง

สภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศจึงเป็นแบบรวยกระจุกจนกระจาย

สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบไปสู่ภาคสังคมของประเทศ จากสภาพเศรษฐกิจและทัศนคติทางการเงินของคนไทยในปัจจุบัน รัฐบาลชุดใหม่อาจจะแก้ปัญหาไม่ได้ทุกอย่างในระยะเวลาอันสั้น แต่ปัญหาปากท้องของชาวบ้าน

ต้องมาก่อนเสมอ.

หมัดเหล็ก
mudlek@thairath.co.th

คลิกอ่านคอลัมน์ "คาบลูกคาบดอก" เพิ่มเติม


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ