กระทรวงการคลังจ่อจ่ายเบี้ยคนชราเฉพาะคนจน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

กระทรวงการคลังจ่อจ่ายเบี้ยคนชราเฉพาะคนจน

Date Time: 31 ก.ค. 2566 05:50 น.

Summary

  • กระทรวงการคลัง ได้ศึกษาแนวทางการลดรายจ่ายเพื่อดูแลฐานะการคลังให้มีความยั่งยืน พร้อมเตรียมเสนอแนวทางให้รัฐบาลใหม่พิจารณา โดยหนึ่งในแนวทางคือ ปรับลดรายจ่ายสวัสดิการ โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความซ้ำซ้อน หรือลดกลุ่มเป้าหมายลง เช่น การจ่ายเงินเบี้ยผู้สูงอายุ

Latest

"สถิตย์" ย้ำกฎหมายแกร่ง ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ ไร้อำนาจแทรกแซง นโยบายการเงิน - ปลดผู้ว่าฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงการคลัง ได้ศึกษาแนวทางการลดรายจ่ายเพื่อดูแลฐานะการคลังให้มีความยั่งยืน พร้อมเตรียมเสนอแนวทางให้รัฐบาลใหม่พิจารณา โดยหนึ่งในแนวทางคือ ปรับลดรายจ่ายสวัสดิการ โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความซ้ำซ้อน หรือลดกลุ่มเป้าหมายลง เช่น การจ่ายเงินเบี้ยผู้สูงอายุ และการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ซึ่งการดำเนินตามแนวทางดังกล่าว ถือเป็นการใช้นโยบายการคลังที่เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อลดภาระทางการคลัง หลังรัฐบาลได้ใช้จ่ายเงินเพื่อดูแลเศรษฐกิจและสังคมจำนวนมากในช่วงโควิดที่ผ่านมา

สำหรับสวัสดิการที่รัฐบาลเข้าไปดูแลตรงกลุ่มเป้าหมายที่มองว่ามีความซ้ำซ้อน อาทิ สวัสดิการดูแลผู้มีรายได้น้อย ซึ่งมีอยู่หลายโครงการ อาทิ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการเงินสงเคราะห์ครอบครัว กองทุนสวัสดิการชุมชน โครงการสินเชื่อเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย โครงการบ้านมั่นคง โครงการสงเคราะห์ผู้ตกทุกข์ได้ยากกลับภูมิลำเนา เป็นต้น ซึ่งสวัสดิการดังกล่าวนั้นอาจมี ความซ้ำซ้อนของกลุ่มเป้าหมาย โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องตรวจความถูกต้อง ความซ้ำซ้อนของสวัสดิการและจำกัดวงเงินการช่วยเหลือเฉพาะผู้ที่ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเท่านั้น ซึ่งจะช่วยลดงบประมาณไปได้มาก

สำหรับความซ้ำซ้อนของสวัสดิการนั้น จากการตรวจสอบพบว่า โครงการ สวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุที่มีความซ้ำซ้อน ซึ่งแนวทางการดูแลผู้สูงอายุในปัจจุบันนั้นมีอยู่หลายโครงการ อาทิ การจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุแบบขั้นบันได การจ่ายเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุในภาวะยากลำบาก เงินสงเคราะห์ในการจัดทำศพ กองทุนผู้สูงอายุ และการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เป็นต้น

ส่วนที่จะสามารถลดความซ้ำซ้อนการใช้จ่ายเพื่อสวัสดิการผู้สูงอายุนั้น คือ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบขั้นบันได โดยปี 2566 คาดว่าจะมีผู้สูงอายุได้รับเบี้ยยังชีพแบบขั้นบันไดจำนวนประมาณ 11 ล้านคน แบ่งเป็นอายุ 60-69 ปี จำนวน 6.3 ล้านคน จ่ายเบี้ยผู้สูงอายุคนละ 600 บาท อายุ 70-79 ปี จำนวน 3.2 ล้านคน รับเบี้ยยังชีพคนชรา คนละ 700 บาท อายุ 80-89 ปี จำนวน 1.3 ล้านคน รับเบี้ยยังชีพคนชรา คนละ 800 บาท และอายุ 90 ปี ขึ้นไป รับเบี้ยยังชีพคนชราคนละ 1,000 บาท หากจำกัดวงเงินการช่วยเหลือเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อยที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะทำให้สามารถประหยัดงบประมาณไปได้มาก.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ