รัฐเฮ!ประกันพืชผลปี 4 ดีที่สุด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไม่ต้องจ่ายแม้แต่บาทเดียว

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

รัฐเฮ!ประกันพืชผลปี 4 ดีที่สุด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไม่ต้องจ่ายแม้แต่บาทเดียว

Date Time: 22 พ.ค. 2566 05:32 น.

Summary

  • ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผลการดำเนินโครงการประกันรายได้ สินค้าเกษตรปี 65/66 หรือปี 4 สินค้าเกษตร 5 ชนิด ได้แก่ ข้าวเปลือก มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมันและยางพารา ล่าสุดถึงกลางเดือน พ.ค.66 พบว่ามีการใช้งบประมาณเพื่อจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างรายได้ให้เกษตรกรแล้ว 8,149 ล้านบาท

Latest

เจ้าหนี้การบินไทยขอเลื่อนโหวตแผนฟื้นฟู

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผลการดำเนินโครงการประกันรายได้สินค้าเกษตรปี 65/66 หรือปี 4 สินค้าเกษตร 5 ชนิด ได้แก่ ข้าวเปลือก มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมันและยางพารา ล่าสุดถึงกลางเดือน พ.ค.66 พบว่ามีการใช้งบประมาณเพื่อจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างรายได้ให้เกษตรกรแล้ว 8,149 ล้านบาท น้อยกว่างบที่ประมาณการไว้ 33,357 ล้านบาท ถึง 25,200 ล้านบาท โดยจำแนกเป็นข้าวเปลือก จ่ายชดเชยส่วนต่างแล้ว 7,866 ล้านบาทรวม 32 งวดจากทั้งหมด 33 งวด ต่ำกว่างบที่ตั้งไว้ 18,700 ล้านบาท และจะสิ้นสุดโครงการสิ้นเดือน พ.ค.66

ขณะที่มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปาล์มน้ำมัน ไม่ได้จ่ายส่วนต่างเลย จากงบที่ตั้งไว้ 3,164 ล้านบาท 716 ล้านบาท และ 3,133 ล้านบาท ตามลำดับ เพราะราคาตลาดสูงเกินราคาประกัน โดยมันสำปะหลังจะสิ้นสุดโครงการเดือน พ.ย.นี้ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สิ้นสุดโครงการเดือน ต.ค.นี้ และปาล์มน้ำมัน สิ้นสุดเดือน ก.ย.นี้ สำหรับยางพารา ตั้งงบ 7,643 ล้านบาท จ่ายส่วนต่างแล้ว 282 ล้านบาท และโครงการยังไม่สิ้นสุด

นายอุดม ศรีสมทรง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า การดำเนินโครงการประกันรายได้สินค้าเกษตรในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ช่วยยกระดับราคาสินค้าเกษตรทั้ง 5 ชนิดให้ดีขึ้น โดยเฉพาะปีที่ 4 ประสบความสำเร็จสูงสุด เพราะสินค้าราคาดีมาก และรัฐบาลจ่ายเงินชดเชยรายได้ให้เกษตรกรน้อยที่สุด โดยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่พิจารณาจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างมาถึงงวดที่ 7 จากทั้งหมด 12 งวด ก็ยังไม่ได้จ่ายชดเชยเลย ส่วนมันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน รัฐไม่ต้องชดเชยแม้แต่บาทเดียว ขณะที่ข้าวล่าสุดจ่ายชดเชยส่วนต่างแล้ว 32 งวด จากทั้งหมด 33 งวด คาดจะใช้เงิน 7,800 ล้านบาท น้อยกว่างบที่ตั้งไว้ 18,000 ล้านบาท ส่วนประกันรายได้ยางพารา คาดจะใช้เงินชดเชยตามกรอบที่ 7,600 ล้านบาท

“หากรัฐบาลไม่มีโครงการประกันรายได้ในอนาคต กระทรวงพาณิชย์ก็มีมาตรการมาช่วยเหลือเพื่อให้เกษตรกรขายผลผลิตในราคาไม่ต่ำกว่าต้นทุน เช่น ช่วยเหลือให้เกษตรกร และกลุ่มเกษตรกรเก็บผลผลิตในสต๊อก และชะลอการขายในช่วงที่ผลผลิตออกมามาก ผลักดันการส่งออกในช่วงที่ราคาตลาดโลกปรับเพิ่ม ตลอดจนมาตรการดูแลราคาอื่นๆ เช่นการสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้าไปซื้อผลผลิตจากเกษตรกรโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านคนกลาง”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ