ช้อปดีมีคืน ปี 2566 เช็กชัดๆ ค่าสินค้า-ค่าบริการไหนบ้าง ไม่เข้าร่วมโครงการ

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ช้อปดีมีคืน ปี 2566 เช็กชัดๆ ค่าสินค้า-ค่าบริการไหนบ้าง ไม่เข้าร่วมโครงการ

Date Time: 12 ม.ค. 2566 19:30 น.

Video

ดร.พิพัฒน์ KKP กระเทาะโจทย์เศรษฐกิจไทย บุญเก่าเจอความเสี่ยง บุญใหม่มาไม่ทัน

Summary

  • โครงการ "ช้อปดีมีคืนปี 2566" ให้สิทธิประโยชน์อะไร มีหลักเกณฑ์เงื่อนไขอย่างไรบ้าง พร้อมเช็กชัดๆ "ค่าสินค้า-ค่าบริการ" แบบไหนบ้างที่ไม่เข้าร่วม

Latest


โครงการ "ช้อปดีมีคืนปี 2566" ให้สิทธิประโยชน์อะไร มีหลักเกณฑ์เงื่อนไขอย่างไรบ้าง พร้อมเช็กชัดๆ "ค่าสินค้า-ค่าบริการ" แบบไหนบ้างที่ไม่เข้าร่วม

"ช้อปดีมีคืน ปี 2566" ถือเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษี ในการกระตุ้นยอดขาย และให้ลูกค้าที่เป็นบุคคลธรรมดาสามารถหักลดหย่อนภาษีด้วยค่าซื้อสินค้า หรือค่าบริการได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2566 ถึงวันที่ 15 ก.พ. 2566 ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 40,000 บาท โดยสามารถลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดาได้ไม่เกิน 30,000 บาท (จะต้องมีใบกำกับภาษีเต็มรูปในรูปแบบกระดาษ หรือใบกำกับภาษีเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับ อิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ของกรมสรรพากร) และ ค่าซื้อสินค้า หรือค่าบริการ จำนวนไม่เกิน 10,000 บาท (จะต้องมีใบกำกับภาษีเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากรเท่านั้น)

หลักเกณฑ์โครงการ "ช้อปดีมีคืน ปี 2566"

สำหรับ "ค่าสินค้า" หรือ "ค่าบริการ" ที่ไม่รวมถึงมีดังนี้

  • ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
  • ค่าซื้อยาสูบ
  • ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
  • ค่าซื้อหนังสือพิมพ์และนิตยสาร
  • ค่าบริการหนังสือพิมพ์และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
  • ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจ นำเที่ยวและมัคคุเทศก์
  • ค่าที่พักในโรงแรมที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
  • ค่าสาธารณูปโภค, ค่าน้ำประปา, ค่าไฟฟ้า, ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์, ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
  • ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลาตามที่กำหนดในข้อแรก เช่น ค่าสมาชิกต่างๆ
  • ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย

สำหรับผู้มีเงินได้ต้องจ่ายค่าซื้อสินค้า หรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและได้รับใบกำกับภาษีเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่ค่าซื้อสินค้า หรือค่าบริการดังต่อไปนี้จะจ่ายให้แก่ผู้มิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้

  • ค่าซื้อหนังสือ
  • ค่าบริการหนังสือที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (e-Book)
  • ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว

ส่วนกรณีซื้อสินค้า หรือรับบริการ จากผู้มิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับจำนวนไม่เกิน 30,000 บาท ต้องได้รับใบรับตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร ในรูปแบบกระดาษ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ส่วนจำนวนไม่เกิน 10,000 บาท ต้องได้รับใบรับตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากรในรูปแบบใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เท่านั้น

ขณะที่ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอื่นๆ เป็นไปตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด เช่น วิธีการใช้สิทธิโดยทั่วไป วิธีการใช้สิทธิของสามีและภริยา ข้อห้ามการใช้สิทธิของผู้มีเงินได้ที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หลักฐานประกอบการใช้สิทธิ เป็นต้น.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ