“AOT Sister Airport CEO Forum 2022” จากสนามบินพี่สู่สนามบินน้อง พลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด-19

Economics

Thailand Econ

Content Partnership

Content Partnership

Tag

“AOT Sister Airport CEO Forum 2022” จากสนามบินพี่สู่สนามบินน้อง พลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด-19

Date Time: 8 ธ.ค. 2565 09:00 น.
Content Partnership

Summary

  • “AOT Sister Airport CEO Forum 2022” จากสนามบินพี่สู่สนามบินน้อง เชื่อมโยงท่าอากาศยาน พลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด-19

“AOT Sister Airport CEO Forum 2022” จากสนามบินพี่สู่สนามบินน้อง เชื่อมโยงท่าอากาศยาน พลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด-19

เมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน-2 ธันวาคม 2565 ทาง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (AOT) ได้จัดการประชุมเชิงอภิปราย AOT Sister Airport CEO Forum 2022 ภายใต้หัวข้อหลัก “Resilience, Reunion, and Reinventing for Aviation Sustainability” (พลิกฟื้นคืน มารวมกัน และรังสรรค์สิ่งใหม่ เพื่อก้าวไปสู่ความยั่งยืนทางการบิน)

ซึ่งในการประชุมเชิงอภิปราย ได้มี นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมฯ โดยมี ผู้บริหารระดับสูงจากท่าอากาศยานสมาชิก, Mr. Tao Ma ผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) และ Mr. Stefano Baronci ผู้อำนวยการสภาสมาคมท่าอากาศยานระหว่างประเทศ (Airport Council International : ACI) ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก รวมถึงผู้บริหาร AOT และผู้มีส่วนได้เสีย เข้าร่วมภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Sister Airport Agreement: SAA) กับ AOT

นอกจากนั้น ยังมีการอภิปรายในหัวข้อ “Airport Business Transformation for Resilience and Sustainability” (การปรับตัวของธุรกิจท่าอากาศยานเพื่อพลิกฟื้นธุรกิจและการเติบโตอย่างยั่งยืน) โดยมี Mr. Peter Adams, Principal, Hazsafe Consultancy, Aviation Safety and Risk Management Executive เป็นผู้ดำเนินรายการ ต่อด้วยการนำเสนอแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด (Sharing Best Practices) ในหัวข้อ “Advanced Technology as a Driver for Business Success and Seamless Travel” โดยมีผู้บริหารระดับสูง ผู้ทรงคุณวุฒิของท่าอากาศยานภายใต้ SAA เข้าร่วมอภิปรายและถ่ายทอดประสบการณ์

ทั้งนี้ “นายนิตินัย ศิริสมรรถการ” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ AOT กล่าวว่า การจัดประชุมเชิงอภิปราย AOT Sister Airport CEO Forum 2022 ภายใต้หัวข้อ “Resilience, Reunion, and Reinventing for Aviation Sustainability” มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริหารระดับสูงจากสนามบินภายใต้ SAA ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และมุมมองเกี่ยวกับแนวโน้มของสถานการณ์อุตสาหกรรมการบินภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับธุรกิจทุกภาคส่วน ซึ่งทำให้ต้องมีการพิจารณาปรับเปลี่ยนรูปแบบของการบริหารจัดการ มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการขับเคลื่อนธุรกิจ เพื่อให้สามารถพลิกฟื้นและดำเนินการต่อไปได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

นอกจากนั้นทาง AOT ยังได้มีแผนเตรียมความพร้อมในการกลับมาให้บริการในยุค New Normal ในหลายๆ ด้าน ได้แก่ (1) เตรียมความพร้อมในด้านศักยภาพของสนามบิน โดยท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจะเปิดให้บริการอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite-1) ในปี 2566 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับจำนวนผู้โดยสารจาก 45 ล้านคนต่อปี เป็น 60 ล้านคนต่อปี (2) เตรียมความพร้อมด้านมาตรฐานการดำเนินงานสนามบิน โดยท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งในความรับผิดชอบของ AOT ยังคงได้รับการรับรองการดำเนินงานสนามบินตามมาตรฐานสากล

และ (3) การเตรียมความพร้อมทางด้านบุคลากรให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานได้ตามปกติเหมือนช่วงก่อนเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 และ (4) การเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยได้พัฒนาโครงการ AOT Digital Platform ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญของ AOT ที่จะยกระดับการบริการ โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและข้อมูลมากมายที่กระจายอยู่ทั่วองค์กรมาทำการศึกษา วิเคราะห์ และเชื่อมโยงข้อมูลจากส่วนงานเข้าด้วยกัน โดยคำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคล เพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่การบริหารจัดการและให้บริการในโลกดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

ปัจจุบัน AOT เร่งพัฒนายกระดับโครงการ AOT Digital Platform ให้เป็นระบบ Artificial Intelligence (AI) ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาธุรกิจให้มีความพร้อมในโลกดิจิทัลมากยิ่งขึ้น เสริมสร้างศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่เติบโตอย่างยั่งยืน

นายนิตินัย กล่าวต่อว่า ยังได้เป็นตัวแทน AOT ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสนามบินในโครงการ Sister Airport Agreement กับ Mr. Kadri Samsunlu Chief Executive Officer, iGA สนามบินนานาชาติอิสตันบูล (Istanbul Airport) ประเทศทูร์เคีย (ตุรกี) ด้วย ซึ่งภายหลังจาก AOT ทำบันทึกครั้งนี้แล้ว ก็จะเดินหน้าแลกเปลี่ยนนำข้อมูลมาใช้พัฒนาสนามบิน AOT อย่างเหมาะสม เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจซึ่งทำได้มากกว่าพัฒนาการบินเพียงอย่างเดียว ทว่ายังสามารถช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานของสนามบิน และขยายเครือข่ายเส้นทางการบินเพื่อประโยชน์ในการเดินทางทางอากาศของทั้งสองประเทศ

และการร่วมลงนามกับอิสตันบูล แอร์พอร์ต ครั้งนี้ ถือเป็นการเพิ่มพันธมิตรซึ่งเป็นทั้งแหล่งเรียนรู้ แลกเปลี่ยนข้อมูลการดำเนินงานในด้านการพัฒนาขีดความสามารถและเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ ความรู้และวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด โดยมุ่งเน้นในด้านการพัฒนาเส้นทางการบิน และการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อความสะดวกสบายของผู้โดยสาร

รวมทั้งการพัฒนาระบบการขนส่งสินค้าทางอากาศ สามารถทำกิจกรรมความร่วมมือ ครอบคลุม 4 ด้าน คือ 

1. การประชุมร่วมกันเป็นประจำ

2. การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร

3. การร่วมมือทางด้านการพัฒนาการบินและจุดมุ่งหมายของการส่งเสริมการตลาดร่วมกัน และ 4. กิจกรรมแลกเปลี่ยนพนักงาน

อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าที่ผ่านมาในปัจจุบัน AOT ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างท่าอากาศยาน (Sister Airport Agreement) กับบริษัท/องค์กรบริหารท่าอากาศยานระหว่างประเทศ รวม 13 บริษัท/องค์กร ครอบคลุมท่าอากาศยานระหว่างประเทศ 17 แห่งใน 10 ประเทศ


Author

Content Partnership

Content Partnership