ที่ดินเปล่าราคาพุ่งทะลัก

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ที่ดินเปล่าราคาพุ่งทะลัก

Date Time: 10 พ.ย. 2565 05:31 น.

Summary

  • ดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาส 3 พบว่าภาพรวมค่าดัชนีปรับตัวดีขึ้น แม้ว่ายังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19 ช่วงปี 2558-2562 โดยค่าดัชนีปรับขึ้นมา

Latest

ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ย้ำชัด ไทยไม่ลด "ดอกเบี้ย" ตามเฟด ชี้ "บาทแข็งค่า" ไม่ทุบทิศทางส่งออกไทย

นายวิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาส 3 พบว่าภาพรวมค่าดัชนีปรับตัวดีขึ้น แม้ว่ายังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19 ช่วงปี 2558-2562 โดยค่าดัชนีปรับขึ้นมาอยู่ในระดับใกล้ 5 ปีที่แล้ว เพิ่มขึ้น 4.1% และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ที่มีค่าดัชนีเท่ากับ 368.8 จุด เพิ่มขึ้น 4% ส่วนภาพรวมเปรียบเทียบรายปี อัตราการขยายตัวของดัชนีมีทิศทางดีขึ้นเช่นกัน

“ปัจจัยที่ทำให้ราคาที่ดินเปล่ามีราคาเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่รัฐบาล ได้ประกาศจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เต็มอัตราเมื่อต้นปี 2565 ทำให้ผู้ประกอบการลดการซื้อที่ดินสะสม โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายต่างๆมีความคืบหน้าไปมาก และการที่ผู้ประกอบการเริ่มกลับมาประกาศแผนการพัฒนาโครงการใหม่อย่างต่อเนื่อง”

สำหรับพื้นที่ที่มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุด 5 อันดับแรกในไตรมาส 3 ได้แก่ 1.ที่ดินในโซนบางพลี-บางบ่อ-บางเสาธง มีอัตราการเปลี่ยนราคามากถึง 55.7%อันดับ 2 ที่ดินในโซนเมืองนนทบุรี-ปากเกร็ด มีอัตราการเปลี่ยนราคา 42.8% อันดับ 3 ที่ดินในโซนเมืองปทุมธานี-ลาดหลุมแก้ว-สามโคก มีอัตราการเปลี่ยนราคา 28.1% อันดับ 4 ที่ดินในโซนราษฎร์บูรณะ-บางขุนเทียน-ทุ่งครุ-บางบอน-จอมทอง มีอัตราการเปลี่ยนราคา 26.4% อันดับ 5 ที่ดินในโซนพระโขนง-บางนา-สวนหลวง-ประเวศ มีอัตราการเปลี่ยนราคา 11.6%

ขณะเดียวกัน ราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาตามเส้นทาง ที่มีรถไฟฟ้าพาดผ่าน พบว่าเส้นทางรถไฟฟ้า 5 อันดับแรกที่มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุด 1.สายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 9.0 % โดยอำเภอเมืองนนทบุรี และอำเภอบางบัวทอง เป็นบริเวณที่มีราคาปรับเพิ่มขึ้นมาก 2.สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ราคาที่ดินปรับเพิ่มขึ้น 5.8% โดยเฉพาะเขตหลักสี่และเขตคันนายาว 3.สาย BTS สายสุขุมวิท ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 5.2% ในเขตจตุจักร บางนา พญาไท และพระโขนง 4.สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ราคาที่ดินปรับเพิ่มขึ้น 4.7% ในเขตบางพลี ประเวศ และเมืองสมุทรปราการ และ 5.สายสีน้ำตาล (แคราย-ลำสาลี) ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 4.4 ในอำเภอเมืองนนทบุรี และเขตหลักสี่.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ