“อาคม” ตอกย้ำกฎหมายต้องแก้ไข คลัง-ธปท.-ก.ล.ต.หารือใกล้ชิด ขีดเส้นแบ่งหน้าที่

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

“อาคม” ตอกย้ำกฎหมายต้องแก้ไข คลัง-ธปท.-ก.ล.ต.หารือใกล้ชิด ขีดเส้นแบ่งหน้าที่

Date Time: 8 ต.ค. 2565 06:23 น.

Summary

  • นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “การพัฒนาตลาดทุนไทยเพื่อก้าวต่อไปในทศวรรษหน้า” จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

Latest

HSBC ชี้เศรษฐกิจไทยโตกว่าที่คิด หลังรัฐเร่งลงทุน กระตุ้นบริโภค ต่างชาติเชื่อมั่น จ่อลงทุนไทยเพิ่ม

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “การพัฒนาตลาดทุนไทยเพื่อก้าวต่อไปในทศวรรษหน้า” จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในโอกาสครบรอบ 30 ปี ว่า กฎหมายกำกับดูแลการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลยังมีช่องว่างจึงจำเป็นต้องปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องและทันสมัย ซึ่งกระทรวงการคลังได้หารือ ก.ล.ต. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อย่างใกล้ชิดเพื่อกำกับดูแล แต่เส้นแบ่งในการกำกับดูแลเหมือนจะยังไม่ชัดเจน ที่ไม่รู้ว่าใครจะต้องเข้าไปเป็นผู้กำกับดูแลภายใต้กฎหมายมันชัดเจนเพียงใด โดยบางเรื่อง บางประเด็น ก็ยังไม่รู้ว่าใครจะดูแล ฉะนั้น คงจำเป็นต้องเข้าไปดูว่าการกำกับดูแลในปัจจุบันรายใดบ้างที่มีการละเมิดกฎหมาย

“ขณะนี้สิ่งที่เกิดขึ้น คือ การหลอกลวงประชาชนมีมากขึ้นทุกวัน จนกระทั่งทั้งตำรวจ ธปท. ก.ล.ต. ซึ่งตนเชื่อว่าไม่ได้หลับไม่ได้นอน เพราะเรื่องเกิดขึ้นมาแล้วก็ต้องสอบสวนกันให้ชัดเจน กรณีที่เกิดการโกงขึ้นล่าสุด เป็นตัวอย่างหนึ่งของการมีช่องว่างของกฎหมายว่าหน่วยงานใดจะเป็นผู้ดูแล แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดการโกงประชาชนขึ้นแล้ว ตำรวจก็จำเป็นต้องเป็นหน่วยแรกที่จะต้องเข้าไปดำเนินการตามกฎหมายอาญา ซึ่งปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มีการสอบสวนกันมาแล้ว 2-3 ปี จึงนำไปสู่การปรับปรุงกฎหมายในบางประเด็น และเมื่อเกิดผลกระทบต่อประชาชนแล้วมันเกิดความเสียหาย และผู้เสียหายไม่ว่าระบบเศรษฐกิจเดิมหรือเศรษฐกิจดิจิทัล ก็คือ คนระดับล่าง และเริ่มกระทบขึ้นมาเป็นสิ่งที่มีการหารือตลอดว่าจุดโหว่ตรงนี้อยู่ตรงไหน”

นายอาคมกล่าวต่อว่า ส่วนแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับล่าสุด ฉบับที่ 4 ที่เตรียมจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัตินั้น ก็ได้บรรจุแผนดิจิทัลเข้าไปในแผนพัฒนาตลาดทุนด้วย โดยตลาดทุนยังมีความสำคัญในฐานะเป็นแหล่งระดมเงินทุนของประเทศ ซึ่งประเทศไทยยังจำเป็นต้องมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอีกเป็นจำนวนมาก และจำเป็นต้องระดมเงินทุน ขณะเดียวกัน ในภาคการคลังก็จำเป็นจะต้องเร่งสร้างความยั่งยืนเรื่องของรายได้ให้เกิดขึ้น เพราะระยะที่ผ่านมา มีการกู้เงินเพื่อเยียวยาเศรษฐกิจไปจำนวนมาก แต่ก็เป็นเรื่องที่ทุกประเทศดำเนินการ

“เรื่องภาคการเงินนั้น การลงทุนขนาดใหญ่ต่ำในระยะ 20-30 ปีที่ผ่านมา ทำให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจล่าช้า ยกเว้น 10 ปีที่ผ่านมา มีการลงทุนจำนวนมาก แต่ยังไม่เพียงพอ เพราะเวทีการประชุมระหว่างประเทศทุกประเทศบอกว่า หลังโควิดการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานต้องเกิดขึ้นต่อ ฉะนั้นบทบาทตลาดทุนกับ ก.ล.ต.ในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เพื่อระดมเงินลงทุน”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ