แย้มข่าวดี “คิงส์เกต” จ่ออ่อนข้อ “วิษณุ” ประชุมลับปมพิพาท “เหมืองทองอัครา”

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

แย้มข่าวดี “คิงส์เกต” จ่ออ่อนข้อ “วิษณุ” ประชุมลับปมพิพาท “เหมืองทองอัครา”

Date Time: 3 ส.ค. 2565 07:38 น.

Summary

  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้รับทราบรายงานสถานการณ์ความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทระหว่างราชอาณาจักรไทยกับบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด จำกัด กรณีเหมืองทองอัครา

Latest

"สถิตย์" ย้ำกฎหมายแกร่ง ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ ไร้อำนาจแทรกแซง นโยบายการเงิน - ปลดผู้ว่าฯ

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้รับทราบรายงานสถานการณ์ความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทระหว่างราชอาณาจักรไทยกับบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด จำกัด กรณีเหมืองทองอัครา ซึ่งเป็นการรายงานตามปกติของกระทรวงอุตสาหกรรมมายังที่ประชุม ครม.เป็นประจำทุกเดือน ว่ามีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง โดยความคืบหน้าล่าสุดยังอยู่ในขั้นของการเจรจาเพื่อประนอมข้อพิพาทระหว่างไทยกับคิงส์เกต ตามคำแนะนำของอนุญาโต ตุลาการ และจะชี้ขาดอีกครั้งในช่วงสิ้นปี 2565

“ในระหว่างนี้คงต้องรอข้อสรุปผลการเจรจาออกมาก่อนว่าจะเป็นอย่างไร แต่ถ้าผลเป็นที่น่าพอใจ เขาก็อาจถอนเรื่องออกจากอนุญาโตตุลาการได้ แต่ก็ต้องรอข้อสรุปอีกที ส่วนกรณีฝ่ายค้านได้อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล โดยเสนอแนวทางให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 72/2559 ตามมาตรา 44 นำไปสู่การ Set Zero นั้น ไม่สามารถทำได้ ที่ผ่านมาก็ไม่ได้มีใครพูดถึงเรื่องนี้ เพราะทุกอย่างมันเดินหน้าไปแล้ว และคงไม่เหมือนเดิม”

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมกำหนดให้การ พิจารณาเรื่องนี้เป็นวาระลับ โดยนายวิษณุมอบหมายให้นาย นิรันดร์ ยิ่งมหิศรานนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เป็นผู้รายงานความคืบหน้าในการเจรจากับบริษัท คิงส์เกตฯ ซึ่งมีแนวโน้มที่ดี หลังก่อนหน้านี้ประเทศไทยได้อนุมัติประทานบัตร 4 แปลงให้กับบริษัท ประกอบด้วย ประทานบัตรเหมืองชาตรีใต้ 3 แปลง และเหมืองแร่ควอตซ์ 1 แปลง โดยขณะนี้อยู่ระหว่างหารือรายละเอียดต่างๆเพิ่มเติม โดยล่าสุดอนุญาโต ตุลาการได้เลื่อนการพิจารณาคดีออกไปเป็นช่วงปลายปี 2565

ด้าน น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายก รัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบในหลักการนโยบาย ด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่องของไทย โดยปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุน และสิทธิประโยชน์ให้เหมาะสม แบ่งกิจการที่ต้องการส่งเสริมเป็น 3 ประเภท 1.กลุ่มกิจการสำรวจแร่ 2.กลุ่มกิจการทำเหมืองแร่และหรือแต่งแร่ 3.กลุ่มกิจการถลุงแร่หรือประกอบโลหกรรม โดยไทย มีแนวโน้มความต้องการใช้แร่สูงขึ้น.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ