รอดูสินค้าทยอยขึ้นราคา หลังปุ๋ยเคมีปรับราคาไปก่อน คาดผลิตภัณฑ์นมจะตามมา

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

รอดูสินค้าทยอยขึ้นราคา หลังปุ๋ยเคมีปรับราคาไปก่อน คาดผลิตภัณฑ์นมจะตามมา

Date Time: 29 ก.ค. 2565 14:53 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • กรมการค้าภายใน เผย ครม.เตรียมไฟเขียวขึ้นผลิตภัณฑ์นม ย้ำไม่ปรับขึ้นทุกผลิตภัณฑ์ ส่วน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง ผงซักฟอก ผ้าอนามัย น้ำยาล้างจาน ยังไม่ขึ้น

Latest


กรมการค้าภายใน เผย ครม.เตรียมไฟเขียวขึ้นผลิตภัณฑ์นม ย้ำไม่ปรับขึ้นทุกผลิตภัณฑ์ ส่วน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง ผงซักฟอก ผ้าอนามัย น้ำยาล้างจาน ยังไม่ขึ้น 

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ผลิต และผู้ประกอบการยื่นขอปรับราคาเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง ผงซักฟอก ผ้าอนามัย น้ำยาล้างจาน เป็นต้น โดยกรมการค้าภายในอยู่ระหว่างการพิจารณาโครงสร้างต้นทุน และยังไม่ได้อนุมัติให้สินค้ารายการใดปรับขึ้นราคา

ยกเว้นปุ๋ยเคมี ที่อนุมัติให้ปรับราคาไปก่อนหน้านี้ เพื่อให้ผู้ผลิตนำเข้าวัตถุดิบเข้ามาผลิต และให้มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการใช้ของเกษตรกร หลังราคาแม่ปุ๋ยปรับตัวสูงขึ้นมากตามราคาพลังงานโลกที่สูงขึ้นจากผลกระทบของสงคราม แต่การปรับขึ้นราคา ไม่ได้ให้ขึ้นมากกว่าต้นทุนที่เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ กรมอยู่ระหว่างพิจารณาการปรับราคาสินค้านมและผลิตภัณฑ์ ที่มีแนวโน้มต้นทุนการผลิตจะสูงขึ้นจากการที่คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม หรือ มิลค์บอร์ด อนุมัติให้ปรับราคารับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกรอีกกิโลกรัมละ 2.25 บาท

โดยขณะนี้รอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอให้คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. เห็นชอบการปรับขึ้นราคาน้ำนมดิบก่อน หาก ครม.เห็นชอบแล้ว กรมก็จะพิจารณาตามจริง โดยพิจารณาเป็นรายผลิตภัณฑ์ เช่น นมสดพาสเจอไรซ์, สเตอริไลซ์, ยูเอชที ฯลฯ รายยี่ห้อ

ทั้งนี้ เพราะนมแต่ละชนิดใช้วัตถุดิบต่างกัน บางชนิดใช้นมสดมาก บางชนิดใช้นมสดน้อย ใช้นมผงมาก ต้นทุนจึงไม่เท่ากัน การปรับขึ้นราคาก็จะต้องไม่เท่ากัน หรือหากพิจารณาแล้วต้นทุนโดยรวมไม่เพิ่มขึ้น หรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ก็อาจไม่ให้ปรับขึ้นราคาก็ได้

อย่างไรก็ตาม กรมการค้าภายในยังคงยึดนโยบายวิน-วิน โมเดล ตามนโยบายของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ ที่ยึดหลักความสมดุลทั้ง 3 ฝ่าย คือ เกษตรกร ผู้ผลิต และผู้บริโภคหากสินค้าใดมีต้นทุนเพิ่มขึ้นจริง และผู้ผลิตตรึงราคาไม่ไหวแล้ว ก็จะให้ปรับขึ้นราคาน้อยที่สุด เพื่อให้ยังมีกำลังมาผลิตสินค้า ไม่เกิดภาวะขาดแคลน และผู้บริโภคได้รับผลกระทบน้อยที่สุด แต่ถ้ารายใดยังพอมีกำไร ก็จะขอความร่วมมือตรึงราคาให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อลดความเดือดร้อนประชาชน


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ