หวั่นเป็นช่องว่างให้รีดไถ เอกชนห่วง 5 ประเด็นพีดีพีเอไม่ชัดเจน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

หวั่นเป็นช่องว่างให้รีดไถ เอกชนห่วง 5 ประเด็นพีดีพีเอไม่ชัดเจน

Date Time: 6 มิ.ย. 2565 06:10 น.

Summary

  • เอกชนกังวลหนัก 5 ประเด็นหลัก ก.ม.พีดีพีเอไม่ชัดเจน หวั่นเอสเอ็มอีปรับตัวไม่ทันโดนปรับอ่วม จวก 2 ปีที่ผ่านมา ก.ดีอีเอสไม่ทำความเข้าใจให้ชัด แนะตั้งศูนย์ที่ปรึกษาช่วยรายย่อย

Latest

ธุรกิจที่ปรึกษาส่ิงแวดล้อมรายได้ฉ่ำ

เอกชนกังวลหนัก 5 ประเด็นหลัก ก.ม.พีดีพีเอไม่ชัดเจน หวั่นเอสเอ็มอีปรับตัวไม่ทันโดนปรับอ่วม จวก 2 ปีที่ผ่านมา ก.ดีอีเอสไม่ทำความเข้าใจให้ชัด แนะตั้งศูนย์ที่ปรึกษาช่วยรายย่อย

นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภานายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) เปิดเผยถึงพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือพีดีพีเอ ที่ประกาศเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.ว่า ภาคเอกชนกังวลมาก หากไม่เร่งแก้ปัญหาอาจเป็นปัญหาในอนาคตได้ เนื่องจากยังมีหลายประเด็นไม่ชัดเจน ส่งผลต่อความเชื่อมั่น และภาระต้นทุนผู้ประกอบการ หลักๆมี 5 ประเด็น เริ่มจากประเด็นแรก ภาคเอกชนขาดความพร้อม เพราะกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นของใหม่ที่ไม่มีในอดีต มีบทบัญญัติถึง 96 มาตรา มีความซับซ้อนและรายละเอียดมากมาย ซึ่งเอสเอ็มอีขาดความพร้อมทั้งบุคลากร และศักยภาพของธุรกิจที่จะเข้าถึง

สำหรับประเด็นต่อมากฎหมายลูกมีกว่า 30 ฉบับ เพิ่งมี 8 ฉบับ อยู่ในกระบวนการรับฟังความคิดเห็น คาดว่าจะทยอยออกมาใช้ปลายปีหรือต้นปีหน้า ที่ผ่านมาผู้รับผิดชอบแจ้งให้สถานประกอบการใช้ไปก่อนเป็นการทดลอง แต่กฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว หากมีใครไปฟ้องจะมีผลอย่างไร ต้องมีความชัดเจนเรื่องนี้ ประเด็นต่อมาแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมายขาดความชัดเจน จะต้องให้ทำอะไร และไม่ให้ทำอะไร โดยเฉพาะช่องว่างของการยินยอมให้บันทึกข้อมูล และการใช้ข้อมูลต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลในทางปฏิบัติมีความยุ่งยาก เพราะกฎหมายฉบับนี้ครอบคลุมทุกมิติตั้งแต่ลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการ บุคคลที่ติดต่องาน ซึ่งทำงานอยู่ในบริษัทของลูกค้าตลอดจนธุรกิจต่างๆที่อยู่ในโซ่อุปทานและบุคคลอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก

ขณะเดียวกัน ในประเด็นบทลงโทษสูงเกินกว่าเหตุ เป็นข้อกังวลอย่างมาก ทั้งการปรับ และจำคุก รวมกันมีถึง 12 มาตรา มีรายละเอียดมากมายโทษปรับตั้งแต่ 5 แสน-5 ล้านบาท ซึ่งกฎหมายไม่ชัดเจนว่า จะถือเป็นรายบุคคลหรือเป็นกรณี โดยบทลงโทษทางอาญา และโทษปกครองจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 1 ปี เห็นว่าเป็นการลงโทษ

ที่สูงเกินกว่าเหตุ และสูงกว่ากฎหมายแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับความมั่นคงและเศรษฐกิจ บทลงโทษทางแพ่งปรับเพียง 10,000- 1 00,000 บาท ควรแก้ไขบทลงโทษเฉพาะทางแพ่ง และลดค่าปรับให้เหมาะสม

นอกจากนี้ ในประเด็นที่ 5 โทษทางปกครองให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐมากเกินไป เพียงแค่ได้รับเบาะแสสามารถเรียกให้เข้ามาชี้แจงหรือเข้าไปตรวจค้นในสถานประกอบการ หากไม่อำนวยความสะดวกโทษปรับถึง 5 แสนบาท ซึ่งต้องพิจารณาการปรับ หรือแค่ตักเตือนเป็นอำนาจของเจ้าพนักงาน อาจเป็นปัญหาในอนาคต ต้องระวัง เพราะเป็นช่องว่างให้ใช้เป็นเครื่องมือในการรีดไถเพราะสถานประกอบการมีหลายแสนแห่งส่วนใหญ่ไม่รู้เรื่องว่าจะต้องทำอย่างไร

“มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยยังได้ระบุว่า ธุรกิจและบริษัทที่ดำเนินตามกฎหมายเสร็จแล้วมีเพียง 8% และประเมินว่าภาคเอกชนอาจต้องใช้เงินไปกับการนี้ถึง 5 หมื่นล้านบาท ขึ้นอยู่กับศักยภาพและความสามารถของธุรกิจ หากต้องจ้างบริษัทรับจ้างให้คำปรึกษาอาจต้องใช้เงิน 300,000 บาท ที่เป็นภาระของธุรกิจในช่วงที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวช้า ซึ่งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ที่ผ่านมามีเวลา 2 ปี แต่ขาดการเตรียมการและประชาสัมพันธ์ทำให้ภาคเอกชนขาดความพร้อมโดยเฉพาะรายกลางและรายเล็กจะต้องดำเนินการอย่างไร ควรตั้งเป็นลักษณะศูนย์ที่ปรึกษา เพื่อให้สถานประกอบการต่างๆสามารถนำไปปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมาย โดยเฉพาะการป้องกันความเสี่ยงจากการถูกฟ้องร้องในอนาคต”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ