มาม่ายังไม่ขึ้นราคา พาณิชย์ตรึงราคาสินค้า 18 หมวดให้อยู่ได้ทั้ง 3 ฝ่าย

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

มาม่ายังไม่ขึ้นราคา พาณิชย์ตรึงราคาสินค้า 18 หมวดให้อยู่ได้ทั้ง 3 ฝ่าย

Date Time: 28 เม.ย. 2565 15:23 น.

Video

ศิรเดช โทณวณิก Gen 3 ดุสิตธานี ธุรกิจที่เป็นมากกว่าโรงแรม | On The Rise

Summary

  • กระทรวงพาณิชย์ ยืนยัน มาม่า หรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทุกชนิด ยังไม่ขึ้นราคา พร้อมตรึงราคาสินค้าสำคัญ 18 หมวด ให้อยู่ได้ทั้ง 3 ฝ่าย

Latest


กระทรวงพาณิชย์ ยืนยัน มาม่า หรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทุกชนิด ยังไม่ขึ้นราคา พร้อมตรึงราคาสินค้าสำคัญ 18 หมวด ให้อยู่ได้ทั้ง 3 ฝ่าย

เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 65 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า เรื่องบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปขึ้นราคานั้น กระทรวงยังไม่มีการอนุมัติให้ปรับราคาขึ้นและตามที่เป็นข่าว

แต่ทั้งนี้เป็นเพียงกระบวนการบริหารจัดการทางการตลาดภายในของธุรกิจบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เช่น การกำหนดสัดส่วนการขายส่ง-ปลีก ภายในของกระบวนการทางธุรกิจ สำหรับราคาที่ผู้บริโภคหรือราคาขายปลีกยังไม่มีการอนุญาตให้ปรับขึ้น กระทรวงพาณิชย์จะพยายามเข้าไปดูให้ดีที่สุด จะตรึงราคาไว้ให้นานที่สุดที่จะทำได้ เพื่อให้กระทบกับผู้บริโภคน้อยที่สุด แม้ขณะนี้ราคาน้ำมันจะมีผลสำคัญต่อต้นทุนราคาสินค้าก็ตาม

ทั้งนี้ ผมได้มอบนโยบายไปแล้ว จะพยายามตรึงราคาให้มากและนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ขณะเดียวกันผู้ประกอบการต้องอยู่ได้ ไม่เช่นนั้นจะหยุดผลิตจะกลายเป็นปัญหาของขาดตลาดตามมา ขณะนี้สินค้าสำคัญ 18 หมวดยังพยายามตรึงราคาอยู่

"เราต้องยอมรับความจริงว่าราคาน้ำมัน มีส่วนมากทำให้ราคาสินค้าได้รับผลกระทบ อาจจะต้องให้ปรับขึ้นบ้างในบางรายการที่ต้นทุนสูงขึ้นมาก แต่พาณิชย์ก็พยายามดูแลไม่ให้กระทบกับผู้ผลิตวัตถุดิบ โดยเฉพาะเกษตรกร กับผู้ประกอบการ และผู้บริโภคให้น้อยที่สุด"

ส่วนการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า หรือ Joint Trade Committee: JTC ไทย-ภูฏาน (ระดับรัฐมนตรี) นั้นจะเป็นการประชุมครั้งที่ 4 โดยกระทรวงพาณิชย์ไทยเป็นเจ้าภาพที่จังหวัดภูเก็ต และในวันพรุ่งนี้จะมีการเปิด E-Sport ของ อบจ.ภูเก็ต และมีการมอบงบประมาณที่จะจัดทำบ้านพอเพียงหรือช่วยซ่อมแซมบ้านให้กับกลุ่มเปราะบางในจังหวัดภูเก็ต

อย่างไรก็ตาม การประชุม JTC ไทย-ภูฏาน ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันระหว่างไทยกับภูฏาน จะได้มีการหารือความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันโดยเฉพาะทางด้านการเกษตร

ด้านหัตถกรรม ท่องเที่ยวและด้านอื่นๆ จะเป็นก้าวสำคัญของการเพิ่มตัวเลขการส่งออกของไทยต่อไปในอนาคตกับประเทศใหม่หรือตลาดใหม่ที่เราตั้งใจให้เป็นตลาดเพิ่มรายได้ให้กับประเทศในยามที่ตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญมีตัวเดียวคือ การส่งออก จากนี้ถ้าเปิดประเทศได้จะมีการท่องเที่ยวเข้ามาช่วยเติมให้ต่อไป


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ