คนไทยต้องทำใจ หมูแพงไปถึงสิ้นปี

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

คนไทยต้องทำใจ หมูแพงไปถึงสิ้นปี

Date Time: 7 ม.ค. 2565 06:20 น.

Summary

  • กรณีรัฐบาลมีการออกมาตรการห้ามส่งออกหมูเป็นชั่วคราวเป็นเวลา 3 เดือน การสั่งให้แจ้งสต๊อกและส่งเสริมการเลี้ยงหมูเพื่อเพิ่มปริมาณหมูในระบบว่า เป็นเรื่องเหมาะสมที่ภาครัฐจะต้องทำ

Latest

“พิชัย” เปิดเวทีชวนนักลงทุนเข้าไทย

นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยถึงกรณีรัฐบาลมีการออกมาตรการห้ามส่งออกหมูเป็นชั่วคราวเป็นเวลา 3 เดือน การสั่งให้แจ้งสต๊อกและส่งเสริมการเลี้ยงหมูเพื่อเพิ่มปริมาณหมูในระบบว่า เป็นเรื่องเหมาะสมที่ภาครัฐจะต้องทำ แต่กว่าจะเห็นผลให้ระบบหมูกลับเข้ามาไปสู่วงจรเป็นปกติได้ต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปี และคงทำให้ราคาหมูทรงตัวในระดับสูงต่อไป ไม่สามารถปรับลดลงมาในระยะสั้นอย่างแน่นอน เนื่องจากการเพิ่มปริมาณหมูในวงจรจะต้องใช้เวลาพอสมควร ตั้งแต่หาแม่พันธุ์ การเลี้ยง

“สำหรับสถานการณ์ราคาหมูเป็นและหมูเนื้อแดงหน้าเขียงในระยะสั้นเชื่อว่าจะยังปรับขึ้นได้ต่อเนื่อง โดยปัจจุบันราคาสุกรรายย่อยกิโลกรัม (กก.) ละ 104-106 บาท และในช่วงเทศกาลตรุษจีนในช่วงต้นเดือน ก.พ.นี้ น่าจะมีโอกาสเห็นราคาหมูเป็นขยับไปถึง กก.ละ 120 บาทได้ และหมูเนื้อแดงหน้าเขียงจะเห็น กก.ละเกิน 200 บาทกว่าๆขึ้นไปได้อีกแน่นอน”

ด้านนายประภัตร โพธสุธน รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า จากสถานการณ์ราคาเนื้อสุกรสดในประเทศปรับราคาเพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเกษตรกรและผู้ประกอบการบางส่วนปรับแผนการผลิต ลดจำนวนสุกรลง รวมถึงปัญหาโรคระบาดในสุกรที่เกิดขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านต้องการสุกรจากไทยเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันส่วนหนึ่งยังเป็นผลมาจากราคาอาหารสัตว์ที่ปรับตัวสูงขึ้น จากการสำรวจ พบว่าต้นทุนของเกษตรกรในการเลี้ยงสุกรให้ได้น้ำหนัก 100 กิโลกรัม มีค่าอาหารเฉลี่ย 6,000 บาท/ตัว แต่จากการสำรวจเดิมของคณะอนุกรรมการต้นทุนการผลิตสุกร ประเมินไว้ที่ 3,300 บาท/ตัว ดังนั้น ต้องทบทวนอีกครั้งให้ตรงกันและเป็นต้นทุนที่แท้จริง รวมถึงต้องขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการผลิตอาหารสัตว์ให้ปรับลดราคาลง โดยวันที่ 1 ก.พ.2565 มาตรการต่างๆจะผ่อนคลายลง และสามารถนำเข้าสินค้าได้เป็นปกติ ซึ่งจะทำให้ราคาวัตถุดิบสำหรับผลิตอาหารสัตว์ถูกลง โดยภาครัฐจะเร่งหารือมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยในเรื่องของการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้ต้นทุนถูกลง อาทิ ลดภาษี รวมถึงการงดเว้นค่าธรรมเนียมต่างๆ.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ