ผู้ประกันตน ม.33 ไม่ได้ค่าจ้างจากรัฐสั่งปิด ยื่นขอรับเงินชดเชยว่างงานได้

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ผู้ประกันตน ม.33 ไม่ได้ค่าจ้างจากรัฐสั่งปิด ยื่นขอรับเงินชดเชยว่างงานได้

Date Time: 7 ก.ย. 2564 12:00 น.

Video

แก้เกมหุ้นไทยตกต่ำ ประธานตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดแผนฟื้นความเชื่อมั่น | Money Issue

Summary

  • "ประกันสังคม" ย้ำผู้ประกันตน ม.33 ที่ได้รับผลกระทบกรณีรัฐสั่งปิดกิจการ โดยไม่ได้รับค่าจ้าง สามารถยื่นรับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเหตุสุดวิสัย เพื่อขอรับเงินชดเชยได้

Latest


"ประกันสังคม" ย้ำผู้ประกันตน ม.33 ที่ได้รับผลกระทบกรณีรัฐสั่งปิดกิจการ โดยไม่ได้รับค่าจ้าง สามารถยื่นรับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเหตุสุดวิสัย เพื่อขอรับเงินชดเชยได้

วันที่ 7 ก.ย. 2564 น.ส.ลัดดา แซ่ลี้ โฆษกสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักงานประกันสังคมเร่งดำเนินการอนุมัติจ่ายเงินว่างงานเหตุสุดวิสัย ตามข้อสั่งการของ นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เพื่อให้ความช่วยเหลือเยียวยา และบรรเทาความเดือดร้อนให้ผู้ประกันตนมาตรา 33

สำหรับคุณสมบัติของผู้ประกันตนที่มีสิทธิ์ได้รับเงินกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยนั้น ต้องส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ใน 15 เดือนย้อนหลัง ก่อนวันที่ว่างงานจากรัฐสั่งปิด โดยไม่ได้ทำงานเนื่องจากนายจ้างหยุดประกอบกิจการ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เนื่องจากทางราชการมีคำสั่งให้ปิดสถานที่ หรือสถานประกอบการ และผู้ประกันตนไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น ผู้ประกันตนดังกล่าวมีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวันไม่เกิน 90 วัน ซึ่งขั้นตอนการขอรับสิทธิประโยชน์ให้นายจ้างยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ และรับรองกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยให้ผู้ประกันตน

ขณะที่นายจ้างและผู้ประกันตนไม่ต้องมาที่สำนักงานฯ สามารถยื่นผ่านทางระบบ e-service และส่งแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) และสำเนาสมุดบัญชีธนาคารของผู้ประกันตนประเภทออมทรัพย์ เป็นเอกสารส่งให้สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ทางไปรษณีย์แบบลงทะเบียนตอบรับ นับแต่วันที่บันทึกข้อมูลในระบบ e-service

ทั้งนี้ ขอย้ำว่า นายจ้างมีหน้าที่ต้องยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบ (สปส.1-10) ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ทุกเดือน โดยในเดือนที่ไม่ได้จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตามข้อเท็จจริง ที่มีคำสั่งรัฐสั่งปิดนั้น ในช่องค่าจ้าง และเงินสมทบ ต้องระบุจำนวนค่าจ้างที่จ่ายจริงให้แก่ลูกจ้าง จึงจะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัยตามเงื่อนไขข้างต้น ซึ่งหากลูกจ้างยังได้รับค่าจ้าง จะไม่เข้าเงื่อนไขการจ่ายสิทธิประโยชน์

อย่างไรก็ตาม นายจ้างสามารถนำส่งแบบรายการแสดงการนำส่งเงินสมทบ สปส.1-10 ในระบบ e-service ได้โดยไม่ต้องเดินทางมาติดต่อที่สำนักงานประกันสังคม หากมีข้อสงสัยติดต่อสอบถามโทรศัพท์สายด่วนประกันสังคม 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ