ติ๊กต่อก-ทวิตเตอร์เช็กชื่อจ่ายแวต e-Service

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ติ๊กต่อก-ทวิตเตอร์เช็กชื่อจ่ายแวต e-Service

Date Time: 1 ก.ย. 2564 08:05 น.

Summary

  • จากที่กรมสรรพากรได้เปิดให้แพลตฟอร์มดิจิทัล ต่างชาติมาลงทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร พ.ศ.2564 หรือ พ.ร.บ. e-Service

Latest

“พิชัย” เปิดเวทีชวนนักลงทุนเข้าไทย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากที่กรมสรรพากรได้เปิดให้แพลตฟอร์มดิจิทัล ต่างชาติมาลงทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) พ.ศ.2564 หรือ พ.ร.บ. e-Service (อี-เซอร์วิส) ตั้งแต่วันที่ 16 ส.ค.ที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้ มีแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างชาติมาลงทะเบียนแล้ว 61 ราย อาทิ เฟซบุ๊ก (Facebook) ยูทูบ (YouTube) กูเกิล (Google) เน็ตฟลิกซ์ (Netflix) สปอร์ติฟาย (Sportify) แอปเปิลเพลย์ (Apple Play) ซูม (Zoom) Line (ไลน์) ทวิตเตอร์ (Twitter) อาลีบาบา (Alibaba cloud) ติ๊กต่อก (TikTok) Dropbox, Nuverse เป็นต้น

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง กล่าวว่า พ.ร.บ. e-Service (อี-เซอร์วิส) มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ก.ย.2564 เพื่อจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างชาติ ที่ให้บริการในไทย แต่ไม่ได้จดทะเบียนธุรกิจในประเทศไทย มีรายได้ปีละ 1.8 ล้านบาท โดยคาดว่าจะทำให้ประเทศไทยมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาทในปีงบประมาณ 2565 และในอนาคตจะทำให้ประเทศไทยมีฐานข้อมูลรายได้ของผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างชาติ ที่จะสามารถนำไปใช้ในการคำนวณเป็นฐานภาษีใหม่ ที่น่าจะเป็นรายได้อีกทางหนึ่งของประเทศไทยในอนาคต ด้านนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า หลังจากจดทะเบียนเพื่อเป็นผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มต่างชาติจะต้องจัดส่ง-รับ-เก็บรักษาเอกสาร การยื่นแบบและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบอินเตอร์เน็ต โดยไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีและไม่มีสิทธินำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขายได้ ขณะที่ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างชาติ ที่จดทะเบียนและตั้งสาขาในไทย ให้ยื่นแบบและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มและสามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรมาหักเป็นภาษีซื้อได้เช่นเดิม.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ