เยียวยาผู้ประกันตน ประกันสังคม สรุปชัดๆ ม.33 ม.39 ม.40 ใครได้เงินเท่าไร วันไหนบ้าง

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เยียวยาผู้ประกันตน ประกันสังคม สรุปชัดๆ ม.33 ม.39 ม.40 ใครได้เงินเท่าไร วันไหนบ้าง

Date Time: 14 ส.ค. 2564 16:30 น.

Video

เศรษฐกิจไทย เสี่ยงวิกฤติหนักแค่ไหน เมื่อต้องเปลี่ยนนายกฯ | Money Issue

Latest


  • เปิดช่องทางเช็กสิทธิ์การรับเงินเยียวยา ผู้ประกันตนมาตรา 33, ผู้ประกันตนมาตรา 39 และผู้ประกันตนมาตรา 40
  • เช็กชัดๆ ผู้ประกันตน ประกันสังคม ที่ได้รับสิทธิ์เงินเยียวยา เงินเข้าวันไหน
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ย้ำคนที่ได้สิทธิ์ ต้องได้รับเงินเยียวยาครบทุกคน ตามนโยบายนายกรัฐมนตรี


เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส "โควิด-19" ในประเทศไทย ส่งผลให้มียอดผู้ติดเชื้อทะลุหลักหมื่นต่อวัน จนรัฐบาลต้องออกประกาศมาตรการ "ล็อกดาวน์" และเคอร์ฟิว พื้นที่เสี่ยง เพื่อจำกัดการแพร่ระบาดที่กำลังลุกลามอย่างรวดเร็ว

สำหรับที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีคำสั่งเร่งเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก เพื่อทดแทนรายได้ที่หายไปของประชาชนที่ต้องหาเช้ากินค่ำ ด้วยการสั่งให้ประกันสังคมจ่ายเงินเยียวยาให้ นายจ้างและผู้ประกัน ม.33 ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ โดยจะเยียวยา 9 ประเภทกิจการ คือ

1. ก่อสร้าง

2. ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร

3. ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ

4. กิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ

5. การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์

6. การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า

7. ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร

8. กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ

9. กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน


ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2564 คณะรัฐมนตรี เห็นชอบให้ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ขยายพื้นที่ดำเนินโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 จาก 13 จังหวัดเป็น 29 จังหวัด ดังนี้ กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, ยะลา, ปัตตานี, นราธิวาส สงขลา, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, พระนครศรีอยุธยา, กาญจนบุรี, ตาก, นครนายก, นครศรีธรรมราช, ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี, เพชรบุรี, เพชรบูรณ์, ระยอง, ราชบุรี, ลพบุรี, สิงห์บุรี, สมุทรสงคราม, สระบุรี, สุพรรณบุรี และอ่างทอง


ผู้ประกันตนมาตรา 33

สำหรับผู้ประกันมาตรา 33 คือ ลูกจ้างที่ยังทำงานในสถานประกอบการที่มีนายจ้าง แล้วได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ที่มีการ "ล็อกดาวน์" ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) จะได้รับเงินเยียวยาจำนวน 2,500 บาท ผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับหมายเลขบัตรประชาชน โดยแบ่งการโอนตามพื้นที่ดังนี้

  • พื้นที่ 10 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, ยะลา, ปัตตานี, นราธิวาส และสงขลา ผู้รับสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาในวันที่ 4, 5, 6 ส.ค. 2564
  • พื้นที่ 3 จังหวัด คือ จังหวัดฉะเชิงเทรา, ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา ผู้รับสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาในวันที่ 9 ส.ค. 2564
  • พื้นที่ 16 จังหวัด คือ จังหวัดกาญจนบุรี, ตาก, นครนายก, นครศรีธรรมราช, ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี, เพชรบุรี, เพชรบูรณ์, ระยอง, ราชบุรี, ลพบุรี, สิงห์บุรี, สมุทรสงคราม, สระบุรี, สุพรรณบุรี และอ่างทอง ผู้รับสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาในวันที่ 20 ส.ค. 2564


(เช็กสิทธิ์รับเงินเยียวยา ผู้ประกันตนมาตรา 33 - คลิกที่นี่)

ตัวอย่าง
ตัวอย่าง "ผู้ประกันตนมาตรา 33" ได้รับสิทธิ์เงินเยียวยา

รวมทั้งได้มีการจ่ายเงินเยียวยาให้กลุ่มผู้ประกอบการนายจ้างมาตรา 33 จำนวน 3,000 บาท สูงสุดมีลูกจ้างไม่เกิน 200 คน โดยโอนเงินงวดแรกในวันที่ 10 ส.ค. 2564 ให้นายจ้าง 13 จังหวัดสีแดงเข้ม  โดยโอนเงินเข้าบัญชีพร้อมเพย์ผูกหมายเลขบัตรประชาชน สำหรับนายจ้างเป็น "บุคคลธรรมดา" ส่วนกรณีที่นายจ้างเป็น "นิติบุคคล" จะโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากตามที่นายจ้างได้แจ้งกับสำนักงานประกันสังคม

(เช็กสิทธิ์รับเงินเยียวยา นายจ้าง - คลิกที่นี่)

แต่ถ้านายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด 13 จังหวัด เมื่อเข้าไปตรวจสอบสิทธิ์รับเงินเยียวยาตามมาตรา 33 ในเว็บไซต์ประกันสังคม แล้วปรากกฏว่าเข้าเกณฑ์แต่ไม่ได้รับสิทธิ์ "สำนักงานประกันสังคม" แนะนำให้นายจ้างหรือผู้ประกันตน "ยื่นร้องทุกข์ขอทบทวนสิทธิ์ เนื่องจากไม่ได้รับสิทธิ์" ณ สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ที่รับผิดชอบสถานประกอบการ เพื่อยื่นทบทวนสิทธิ์ได้ทันที ภายในวันที่ 1 ต.ค. 2564 เพื่อให้ประกันสังคมดำเนินการตรวจสอบนิติสัมพันธ์ จากนั้น สำนักงานประกันสังคมที่รับผิดชอบ จะดำเนินการบันทึกข้อมูลนายจ้างเข้าระบบภายในวันที่ 18 ต.ค. 2564

ด้าน นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผยรายละเอียดการโอนเก็บตกรอบล่าสุด โดยระบุว่า เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2564 ได้โอนเงินเก็บตกให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 ใน 13 จังหวัด ประมาณ 230,000 คน ที่ไม่สามารถโอนได้ในรอบแรก โดยโอนเงินเพิ่มแล้วกว่า 1 แสนบัญชี แต่ยังเหลือประมาณ 90,000 บัญชีที่ยังไม่ทำการผูกพร้อมเพย์ และจะโอนเงินอีกครั้งในวันที่ 20 ส.ค. 2564 โดยจะโอนให้ทุกวันศุกร์เพื่อให้ได้รับเงินเยียวยาครบทุกคนตามนโยบายนายกรัฐมนตรี


ผู้ประกันตนมาตรา 39

สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39 คือ พนักงานที่เคยทำงานกับบริษัทฯ เอกชน และได้ยื่นใบลาออกสิ้นสุดสภาพการจ้างงานแต่ยังจ่ายเงินเป็นผู้ประกันตนเพื่อรักษาสิทธิ์ ซึ่งผู้ประกันตนกลุ่มนี้ จะได้เงินเยียวยาจำนวน 5,000 บาท จำนวน 1 เดือน

(เช็กสิทธิ์รับเงินเยียวยา ผู้ประกันตนมาตรา 39 - คลิกที่นี่)

ตัวอย่าง
ตัวอย่าง "ผู้ประกันตนมาตรา 39" ได้รับสิทธิ์เงินเยียวยา

ผู้ประกันตนมาตรา 40

สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไป แรงงานอิสระ หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปี แต่ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ และไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 โดยสมัครขึ้นทะเบียนเพื่อรับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองจากประกันสังคม จะได้เงินเยียวยาจำนวน 5,000 บาท จำนวน 1 เดือน

(เช็กสิทธิ์รับเงินเยียวยา ผู้ประกันตนมาตรา 40 - คลิกที่นี่)

ตัวอย่าง
ตัวอย่าง "ผู้ประกันตนมาตรา 40" ได้รับสิทธิ์เงินเยียวยา


ทั้งนี้ ผู้ประกันตนมาตรา 39 และมาตรา 40 ใน 29 จังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด รวมทั้งหมด 6,694,201 คน แบ่งเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 จำนวน 1,436,171 คน และผู้ประกันตนมาตรา 40 จำนวน 5,258,030 คน (ณ วันที่ 10 ส.ค.) โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าครองชีพคนละ 5,000 บาท โดยจะจ่ายเงินเยียวยาดังกล่าว 1 เดือน

แต่ผู้ประกันตนมาตรา 39 และผู้ประกันตนมาตรา 40 ใน 13 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา, สงขลา, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา จะได้รับเงินเยียวยารวม 2 เดือน โดยขณะนี้ ครม.มอบหมายให้กระทรวงแรงงานไปทำรายละเอียดที่จะได้อีก 1 เดือน เพื่อเสนอ ครม. ในวันที่ 17 ส.ค.ครั้งต่อไป

สำหรับคุณสมบัติผู้ประกันตนมาตรา 39 และ 40 ที่จะได้รับเงินเยียวยา จะต้องมีสัญชาติไทย ต้องไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ต้องไม่เป็นข้าราชการ หรือผู้รับบำนาญของกรมบัญชีกลาง โดยสถานะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ในฐานทะเบียนประกันสังคมที่มีสถานะ A (Active) ณ วันที่ 31 ก.ค. 2564 (พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัด) หรือ ณ วันที่ 3 ส.ค.2564 (พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 16 จังหวัด)

โดยขณะนี้ ประกันสังคม ได้ขยายเวลาให้ผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่สมัครภายในวันที่ 31 ก.ค. 2564 สามารถชำระเงินสมทบงวดแรกไปได้จนถึงวันที่ 24 ส.ค.นี้ รวมทั้งเปิดให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัด และ 16 จังหวัดสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 เพิ่มเติม โดยต้องสมัครและชำระเงินภายในวันที่ 24 ส.ค.นี้ เนื่องจากขณะนี้มีผู้ประกอบอาชีพอิสระในหลายจังหวัดสมัครและชำระเงินไม่ทัน ซึ่งชำระด่วนได้หลากหลายช่องทาง ได้แก่ เคาน์เตอร์เซอร์วิส (7-11), เคาน์เตอร์เทสโก้โลตัส, เคาน์เตอร์บิ๊กซี, เคาน์เตอร์ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.), ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัดมหาชน หรือผ่าน Mobile Application ShopeePay และตู้บุญเติม โดยฟรีค่าธรรมเนียมทุกช่องทาง


สำหรับวิธีการจ่ายเงินเยียวยา "ประกันสังคม" จะโอนเงินให้กับผู้ประกันตนผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจําตัวประชาชน โดยแบ่งการโอนดังนี้

  • ผู้ประกันตนมาตรา 39 ในพื้นที่ 13 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, ยะลา, ปัตตานี, นราธิวาส, สงขลา, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา ผู้รับสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาในวันที่ 23 ส.ค. 2564
  • ผู้ประกันตนมาตรา 40 ในพื้นที่ 13 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, ยะลา, ปัตตานี, นราธิวาส, สงขลา, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา ผู้รับสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาในวันที่ 24-26 ส.ค. 2564
  • ผู้ประกันตนมาตรา 39, 40 ในพื้นที่ 16 จังหวัด คือจังหวัดกาญจนบุรี, ตาก, นครนายก, นครศรีธรรมราช, ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี, เพชรบุรี, เพชรบูรณ์, ระยอง, ราชบุรี, ลพบุรี, สิงห์บุรี, สมุทรสงคราม, สระบุรี, สุพรรณบุรี และ อ่างทอง ผู้รับสิทธิ์รอบแรกได้รับเงินเยียวยาในวันที่ 27 ส.ค. 2564 ประมาณ 7 แสนคน
  • ผู้ประกันตนมาตรา 40 ใน 3 จังหวัด และ 16 จังหวัด ที่เพิ่งสมัครใหม่จนถึงวันที่ 24 ส.ค. 2564 คาดว่าจะได้รับเงินต้นเดือน ก.ย.


อย่างไรก็ตาม หากมีข้อสงสัย หรือต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/ จังหวัด/ สาขา ทั่วประเทศ หรือติดต่อได้ที่สายด่วน 1506 โดยให้บริการไม่เว้นวันหยุดราชการตลอด 24 ชั่วโมง.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ