นายจ้างร่วมวงหักหนี้กว่าแสนราย กยศ.ยุติข่าวหักเงินเดือนใช้หนี้ ใครไม่พร้อมขอผ่อนผัน-ลดจ่าย

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

นายจ้างร่วมวงหักหนี้กว่าแสนราย กยศ.ยุติข่าวหักเงินเดือนใช้หนี้ ใครไม่พร้อมขอผ่อนผัน-ลดจ่าย

Date Time: 6 มี.ค. 2564 05:45 น.

Summary

  • ได้เริ่มหักเงินเดือนผู้กู้ยืมจาก กยศ.เพื่อเข้ากองทุนฯ มาตั้งแต่เดือน มิ.ย.61 แล้ว โดยเริ่มจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนรวม 14,813 แห่ง

Latest

“พิชัย” เปิดเวทีชวนนักลงทุนเข้าไทย

นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยถึงกรณีที่ กยศ.ได้ออกหนังสือแจ้งให้ภาคเอกชนที่เป็นนายจ้างหักเงินเดือนพนักงานที่กู้ยืมเงินจาก กยศ. และนำส่งเงินที่หักไว้ชำระคืนแก่ กยศ. ว่า ได้เริ่มหักเงินเดือนผู้กู้ยืมจาก กยศ.เพื่อเข้ากองทุนฯ มาตั้งแต่เดือน มิ.ย.61 แล้ว โดยเริ่มจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนรวม 14,813 แห่ง จำนวนผู้กู้ยืม 1.26 ล้านราย และในเดือน มี.ค.นี้จะมีภาคเอกชนที่จะหักเงินเดือนให้เพิ่มอีก 92,935 แห่ง จำนวนผู้กู้ยืม 466,000 ราย ซึ่งจะทำให้มีนายจ้างต้องทำหน้าที่หักเงินเดือนให้ถึง 107,000 แห่ง รวมลูกหนี้ 1.735 ล้านราย

อย่างไรก็ตาม ในขั้นตอนการหักเงินเดือนนั้น กองทุนฯไม่ได้ใจร้ายกับนายจ้าง หรือผู้กู้ยืม โดยมีการอนุโลมผ่อนปรนให้ เพราะหากใครยังไม่มีความพร้อมก็ขอให้แจ้งปรับลดจำนวนเงินงวดที่จะให้หักเงินเดือนได้ โดยแจ้งเข้ามาได้ที่แอปพลิเคชัน “กยศ. Connect” ซึ่งกองทุนฯจะอนุโลมให้ชำระขั้นต่ำเพียง 100 บาท แต่ผู้กู้ยืมต้องไปชำระเงินในส่วนที่ขาดให้ครบตามจำนวนที่ต้องชำระ ก่อนวันครบกำหนดชำระหนี้รายปี ในวันที่ 5 ก.ค.นี้

“ปกติการคำนวณยอดหักเงินเดือนจะใช้ยอดหนี้ของทั้งปีมาหารด้วย 12 เดือน และให้ผู้กู้ทยอยจ่ายเป็นรายเดือน แต่ถ้าเหลือเดือนไม่ครบ 12 เดือน ก็จะหารด้วยจำนวนเดือนที่เหลือ ถ้าลูกหนี้รู้สึกมีภาระการผ่อนรายเดือนสูงไป จนกระทบต่อค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน สามารถขอแจ้งลดวงเงินได้ขั้นต่ำ เหลือจ่ายเพียง 100 บาทต่อเดือนเท่านั้น ส่วนลำดับขั้นตอนการหักเงินเดือน ผู้กู้จะถูกหักเงินเข้า กยศ. เป็นรายการที่ 3 ต่อจากการหักภาษี ณ ที่จ่าย และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และประกันสังคม”

สำหรับกรณีที่นายจ้างไม่พร้อมหักเงินเดือนลูกจ้าง กยศ.เปิดโอกาสให้แจ้งเหตุผลข้อขัดข้อง ที่ไม่สามารถหักเงินเดือนผู้กู้ยืมได้ โดยไม่ต้องชดใช้เงิน และจ่ายเงินเพิ่ม 2% ให้กับกองทุนฯ ที่ผ่านมา กยศ.ยังไม่เคยให้นายจ้างชดใช้เงิน หรือเรียกเงินเพิ่มจากนายจ้างเลย ส่วนปีการศึกษา 64 กองทุนฯได้เตรียมเงินกู้ยืมไว้แล้ว 38,000 ล้านบาท รองรับผู้กู้ยืม 624,000 ราย ยืนยันว่าผู้กู้รุ่นหลัง มีโอกาสเข้าถึงการศึกษา โดยไม่จำกัดโควตาการกู้ยืม

“2 ปีที่ผ่านมา ได้ประชุมชี้แจงให้นายจ้างทราบความจำเป็น และส่งหนังสือแจ้งหักเงินเดือนไปตามที่อยู่ในทะเบียนราษฎร์ของผู้กู้ยืมเงินล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วัน รวมถึงแจ้งให้นายจ้างทราบข้อมูลของผู้กู้ยืมเงินที่ต้องหักนำส่งล่วงหน้า 30 วัน โดยตรวจข้อมูลการหักเงินได้ที่เว็บไซต์ กยศ. www.studentloan.or.th  ซึ่งจะอัปเดตข้อมูลทุกวันที่ 5 ของเดือน”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ