ความเชื่อมั่นผู้บริโภคร่วงยกแผง ปัญหารุมเร้าโควิด-การเมือง-ตกงาน-สินค้าแพง

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ความเชื่อมั่นผู้บริโภคร่วงยกแผง ปัญหารุมเร้าโควิด-การเมือง-ตกงาน-สินค้าแพง

Date Time: 9 ต.ค. 2563 09:04 น.

Summary

  • ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ย.63 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคทุกรายการปรับลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน

Latest

ทอท. ลงทุนเต็มพิกัด 10 ปี 2 แสนล้านบาท เที่ยวบินอินเตอร์ฟื้นตัวเกิน 100%

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ย.63 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคทุกรายการปรับลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ย.63 อยู่ที่ 50.2 ลดจาก 51.0 ในเดือน ส.ค.63 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นในปัจจุบันอยู่ที่ 34.1 ลดจาก 34.9 และดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคตอยู่ที่ 57.8 ลดจาก 58.7 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม อยู่ที่ 42.9 ลดจาก 43.6 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางาน อยู่ที่ 48.2 ลดจาก 49.1 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 59.4 ลดจาก 60.4 สาเหตุที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นทุกรายการลดลงมาจากความกังวลเกี่ยวกับการเมือง ที่อาจส่งผลให้ไทยต้องเผชิญกับความขัดแย้งทางการเมือง การระบาดของโควิด-19 ที่กระทบต่อชีวิต การทำธุรกิจ การท่องเที่ยว ภาวะเศรษฐกิจไทยในอนาคต การลาออกของนายปรีดี ดาวฉาย รมว.คลัง ผู้บริโภครู้สึกว่าเศรษฐกิจชะลอตัว มีปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าแพง และกังวลว่ารายได้ไม่พอกับรายจ่าย

“ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงทุกรายการเป็นครั้งแรกรอบ 5 เดือน นับตั้งแต่รัฐผ่อนคลายให้ธุรกิจกลับมาดำเนินการได้ตั้งแต่เดือน พ.ค.63 เป็นต้นมาเพราะกังวลกับเสถียรภาพการเมืองไทย การระบาดของโควิด-19 ที่อาจทำให้เกิดการว่างงานเพิ่มขึ้นและเศรษฐกิจยังย่ำแย่จากผลกระทบโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อกำลังซื้อในประเทศ การท่องเที่ยว การส่งออก ธุรกิจทั่วไปและการจ้างงานอนาคต โดยบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ทั้งปัจจุบันและในอนาคต”

นายธนวรรธน์กล่าวต่อว่า คาดว่าผู้บริโภคยังคงชะลอการใช้จ่ายอย่างมากไปอย่างน้อยจนถึงไตรมาส 4 ปีนี้ หรือจนกว่าโควิด-19 ของโลกจะคลายตัวลง และต้องติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาลไตรมาส 4 ว่าจะพลิกฟื้นเศรษฐกิจได้แค่ไหน และการเมืองไทยตั้งแต่เดือน ต.ค.นี้เป็นต้นไปจะดีขึ้นหรือแย่ลง ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังห่วงการท่องเที่ยวที่ยังไม่ฟื้นตัวขึ้น ส่วนการพักชำระหนี้ให้ภาคธุรกิจที่จะหมดอายุ ต.ค.นี้ ดังนั้น ไตรมาส 4 จึงเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญของเศรษฐกิจไทย หากภาคธุรกิจไปต่อไม่ไหว อาจปลดคนงาน และอาจได้เห็นการว่างงานในภาคท่องเที่ยวมากถึง 500,000 คนในไตรมาส 4.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ