ทำไมหมูแพง พบ 4 สาเหตุหลักทำราคาพุ่ง "คอหมู" เฉียดกิโลละ 200 บาทแล้ว

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ทำไมหมูแพง พบ 4 สาเหตุหลักทำราคาพุ่ง "คอหมู" เฉียดกิโลละ 200 บาทแล้ว

Date Time: 17 ก.ค. 2563 08:09 น.

Video

“ไทยรัฐ โลจิสติคส์” ถอดคราบ “ยักษ์เขียว” มุ่งสู่ขนส่งครบวงจร | Thairath Money Talk

Summary

  • ทำไมหมูแพง พบ 4 สาเหตุหลักทำราคาพุ่ง ทั้งยี่ปั๊วปั่นราคา ความต้องการของประเทศเพื่อนบ้าน ที่สำคัญ หมูเริ่มโตไม่ทัน ดันราคาเฉียดกิโลฯ ละ 200 บาทแล้ว

Latest


ทำไมหมูแพง พบ 4 สาเหตุหลักทำราคาพุ่ง ทั้งยี่ปั๊วปั่นราคา ความต้องการของประเทศเพื่อนบ้าน ที่สำคัญ หมูเริ่มโตไม่ทัน ดันราคาเฉียดกิโลฯ ละ 200 บาทแล้ว

หลังจาก เจ๊จง เจ้าของร้านหมูทอดเจ๊จง ขอปรับราคาข้าวหมูทอด ซึ่งเป็นเมนูเด็ดของที่ร้าน หลายคนรู้ว่าเจ๊จงขายข้าวหมูทอดราคาไม่แพง มีเงินแค่ 35-40 บาทก็สามารถกินข้าวกับหมูทอดจนอิ่มไปเกือบทั้งวัน 

นอกจากนี้ บรรดาพ่อค้าแม่ค้าร้านอาหารต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ต้องแบกรับต้นทุนเพิ่มมากขึ้นหลังจากหมูแพง และหลายคนที่เป็นเจ้าเล็กๆ ที่ผลิตกุนเชียง หมูหย็อง ต้องหยุดผลิตสินค้าชั่วคราว เพราะแบกต้นทุนไม่ไหว ที่สำคัญเนื้อหมูที่สั่งหน้าเขียงก็เริ่มหายากมากขึ้น 

ทั้งนี้ "ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์" ได้สำรวจราคาหมูในช่วงที่ผ่านมา พบว่า ตั้งแต่ช่วงคลายล็อกดาวน์เป็นต้นมา ราคาเนื้อหมูปรับตัวขึ้นมาโดยตลอด เฉลี่ย 5-7 บาท จากการรวบรวมข้อมูลทั้งหมด สามารถแยกรายละเอียดได้ดังนี้ 

สำรวจราคาหมู

- หมูเนื้อแดง กิโลกรัมละ 170 บาท จากเดิม 150 บาท

- คอหมูแล่เป็นชิ้น กิโลกรัมละ 200-220 บาท จากเดิม 170 บาท

- หมูสามชั้น กิโลกรัมละ 180 บาท จากเดิม 140-160 บาท

- ซี่โครงหมู กิโลกรัมละ 140 บาท จากเดิม 120 บาท

- ราคาหมูเป็นตัวหน้าฟาร์ม เฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 85-89 บาท จากเดิม 75-80 บาท

ฟังเสียงคนหน้าเขียงหมู

แม่ค้า พ่อค้า ตามเขียงหมู บ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า ทุกวันนี้ต้องรับศึก 2 ด้าน ด้านหนึ่งโดนลูกค้าต่อว่าหาว่าฉวยโอกาสขึ้นราคาเอง อีกด้านหนึ่งก็ต้องไปแย่งซื้อกับแม่ค้ารายอื่นที่หน้าฟาร์ม

ยี่ปั๊ว บอกว่า ประเทศเพื่อนบ้านต้องการหมูมาก และตอนนี้ก็ไม่เพียงพอต่อการส่งออก ยี่ปั๊วจะนำราคาจากที่ส่งต่างประเทศมาเปรียบเทียบให้ดู ซึ่งแม่ค้าพ่อค้าแบบพวกเขาต้องซื้อในราคาใกล้เคียงกับที่ต่างประเทศซื้อ ถ้าหากไม่ซื้อ ยี่ปั๊วก็จะส่งออกหมด ราคาขายส่งต่างประเทศก็กิโลกรัมละ 150-200 บาทแล้ว

"พวกเราจะไม่ซื้อก็ไม่ได้เพราะมีลูกค้าประจำอยู่ จึงต้องซื้อในราคาที่แพงแล้วจะมาขายถูกได้อย่างไร อยากให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือโดยการควบคุมราคาหน้าฟาร์มให้อยู่ในระดับที่ลูกค้าสามารถหาซื้อกินได้และมีกำลังซื้อ"

คนทำฟาร์มหมูอยากเล่า

เจ้าของฟาร์มสุกรในจังหวัดนครปฐมรายหนึ่งได้เผยว่า ราคาสุกรเป็นจากฟาร์ม ยังอยู่ที่ 78-80 บาทต่อกิโลกรัมตามเดิม ซึ่งราคานี้กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรได้ประกาศขอความร่วมมือให้ขายในราคานี้มาตลอด ช่วงมีโควิด-19 ระบาด เกษตรกรที่เลี้ยงหมูขาดทุนอย่างหนักมาหลายเดือน เพราะราคาตกต่ำมาก

คนเลี้ยงบางรายถึงกับเลิกไปเลยก็มี แต่พอเริ่มที่จะส่งออกสุกรได้ ผู้บริโภคเริ่มหันมากินหมูมากขึ้น และสามารถส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้ทำให้สุกรราคาดีขึ้น แต่หน้าฟาร์มก็ยังขายเท่าเดิมอยู่

4 สาเหตุหลักที่ทำให้หมูแพง

1. ความต้องการบริโภคเนื้อหมู ภายในประเทศเพิ่มขึ้น
- โรงเรียนเปิดภาคเรียน
- ผู้ประกอบการกิจการร้านอาหารดำเนินกิจการได้ตามปกติ
- มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ภาวะการค้าคล่องตัวระดับหนึ่ง

2. ยี่ปั๊วที่ไปรับหมูเป็นๆ จากหน้าฟาร์มไปชำแหละขายส่งต่อให้เขียงหมูนั้น มีการปรับเพิ่มราคากันเอง

3. ประเทศเพื่อนบ้านมีความต้องการหมูที่มีชีวิตสูง ส่งผลให้ส่งออกได้อย่างต่อเนื่องหลังจากคลายล็อกดาวน์

4. หมูโตไม่ทัน ทำให้หมูเริ่มขาดตลาด เนื่องจากเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ทำฟาร์มหมูลดลง เพราะขาดทุนจากช่วงโควิด-19 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์