คลังชี้ "โควิด-19" ฉุดรายได้ภาษีต่ำกว่าเป้า เล็งกู้ขาดดุลเพิ่มเติมงบปี 63

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

คลังชี้ "โควิด-19" ฉุดรายได้ภาษีต่ำกว่าเป้า เล็งกู้ขาดดุลเพิ่มเติมงบปี 63

Date Time: 26 มิ.ย. 2563 16:35 น.

Video

เศรษฐกิจไทย เสี่ยงวิกฤติหนักแค่ไหน เมื่อต้องเปลี่ยนนายกฯ | Money Issue

Summary

  • คลังคาดรายได้ภาษีปี 63 ต่ำกว่าเป้า เล็งกู้ขาดดุลเพิ่มเติมงบปี 63 สั่งกรมภาษีทำแผนบริหารการจัดเก็บรายได้ในอนาคต พร้อมสั่งธนาคารรัฐแจกข้าวกล่องทั่วประเทศ เยียวยาประชาชน

Latest


คลังคาดรายได้ภาษีปี 63 ต่ำกว่าเป้า เล็งกู้ขาดดุลเพิ่มเติมงบปี 63 สั่งกรมภาษีทำแผนบริหารการจัดเก็บรายได้ในอนาคต พร้อมสั่งธนาคารรัฐแจกข้าวกล่องทั่วประเทศ เยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบ "โควิด-19"

วันที่ 26 มิ.ย. 2563 นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง กล่าวหลังจากประชุมร่วมกับสถาบันการเงินของรัฐ ว่า คาดว่าผลการจัดเก็บรายได้ของกรมภาษี อาทิ กรมสรรพสามิต กรมสรรพากร และกรมศุลกากร ในปีงบประมาณ 2563 น่าจะต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ เนื่องจากโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อรายได้ของภาคธุรกิจทำให้การจัดเก็บรายได้ลดลง

ทั้งนี้ ล่าสุดได้หารือกับหน่วยงานจัดเก็บแล้ว ถึงแผนการบริหารการจัดเก็บรายได้ และได้มอบโจทย์ให้หน่วยงานดังกล่าวเตรียมแผนบริหารการจัดเก็บรายได้ในระยะต่อไปแล้วเพื่อทำให้จัดเก็บรายได้ดีขึ้น เพราะการจัดเก็บรายได้ลดลง อาจส่งผลต่อการขาดดุลที่มากขึ้น และกระทรวงการคลังอาจจำเป็นต้องกู้เงินมาบริหารจัดการ

ส่วนจะมีการกู้ขาดดุลเพิ่มหรือไม่นั้น จะต้องรอการเบิกจ่ายงบประมาณในปีงบประมาณนี้ก่อน ว่าจะเบิกจ่ายได้ต่ำกว่าเป้าหมายเท่าไร ซึ่งการเบิกจ่ายอาจพอดีกับรายได้ที่ลดลง จนไม่จำเป็นต้องกู้เพิ่มเติมก็ได้

สำหรับงบประมาณปี 2563 รัฐบาลตั้งรายจ่ายไว้ที่ 3.2 ล้านล้านบาท คิดเป็น 17.9 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) และตั้งเป้ารายได้ไว้ที่ 2.731 ล้านล้านบาท คิดเป็น 16% ของจีดีพี โดยเป็นงบขาดดุล 469,000 ล้านบาท คิดเป็น 2.7% ของจีดีพี

นอกจากนี้ ในการประชุมยังได้สั่งให้สถาบันการเงินของรัฐ อาทิ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ออกสำรวจพื้นที่ เพื่อจัดทำโครงการแจกข้าวกล่องให้กับประชาชนในจังหวัดต่างๆ เพื่อช่วยเหลือคนที่ขาดรายได้ ผ่านสาขาของธนาคารรัฐที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ

อย่างไรก็ตาม นอกจากมาตรการเยียวยาในระยะสั้นแล้ว จำเป็นต้องมองถึงอนาคตในอีก 6 เดือนข้างหน้าว่า จะต้องมีมาตรการส่งเสริมให้คนมีงานทำ เพื่อให้มีรายได้ ส่วนเศรษฐกิจไทยหลังโควิด-19 จะเป็นอย่างไร จะต้องมาประเมินกันอีกที แต่สิ่งที่รัฐบาลดำเนินการ คือ การพยายามสร้างความเข้มแข็งจากภายใน อาทิ โครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจ 400,000 ล้านบาท ที่จะเป็นโครงการที่ลงถึงระดับชุมชน โดยอยู่บนหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้คนในท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองได้.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ