ปล่อยกู้สินเชื่อเพื่อการปรับตัว “คลัง” ช่วยผู้ประกอบการขนส่ง

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ปล่อยกู้สินเชื่อเพื่อการปรับตัว “คลัง” ช่วยผู้ประกอบการขนส่ง

Date Time: 11 มิ.ย. 2563 07:49 น.

Summary

  • ลุ่มผู้ประกอบการขนาด กลาง และขนาดเล็ก และเอสเอ็มอี ที่เป็นผู้ขนส่ง (โลจิสติกส์) ทางบก 300,000 ราย ได้ขอให้ช่วยเสริมสภาพคล่องและดูแลการจ้างงาน

Latest

ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ย้ำชัด ไทยไม่ลด "ดอกเบี้ย" ตามเฟด ชี้ "บาทแข็งค่า" ไม่ทุบทิศทางส่งออกไทย

 

นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง กล่าวหลังรับหนังสือร้องเรียน จากสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ว่า กลุ่มผู้ประกอบการขนาด กลาง และขนาดเล็ก และเอสเอ็มอี ที่เป็นผู้ขนส่ง (โลจิสติกส์) ทางบก 300,000 ราย ได้ขอให้ช่วยเสริมสภาพคล่องและดูแลการจ้างงาน ในระบบขนส่งที่มีจำนวน 5-6 ล้านราย ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งตนจะแบ่งการช่วยเหลือออกเป็น 2 แนวทาง คือ

1.ช่วยเหลือเฉพาะหน้า และเสริมสภาพคล่อง โดยใช้มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) 500,000 ล้านบาท ที่ปัจจุบันปล่อยกู้ไปเพียง 70,000 ล้านบาท ยังเหลืออีก 430,000 ล้านบาท รวมถึงสินเชื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีของธนาคารออมสิน 150,000 ล้านบาท โดยจะเร่งพิจารณามาตรการเสริม เพื่อช่วยดูแลสภาพคล่องกลุ่มเอสเอ็มอีที่ไม่สามารถเข้าถึงธนาคารพาณิชย์ และไม่เคยกู้ธนาคารพาณิชย์มาก่อน โดยกำลังออกแบบมาตรการอยู่ในขณะนี้

2.คือระยะฟื้นฟู เพราะหลังจากโควิด-19 คลี่คลาย ธุรกิจขนส่งจะเปลี่ยนรูปแบบไป เพราะจะมีคู่แข่งจากต่างประเทศมากขึ้น ลักษณะการค้าขายและการใช้บริการก็จะเปลี่ยน จึงต้องให้เอสเอ็มอีปรับตัวเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันด้านขนส่ง

“กระทรวงฯอาจจะออกมาตรการทางด้านการเงิน ผ่านสินเชื่อเพื่อการปรับตัว โดยใช้เงินจากสถาบันการเงินของรัฐ และมาตรการที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่น การพัฒนาบุคลากรในระบบขนส่ง อีกแนวคิดหนึ่งที่ผู้ประกอบการเสนอมา คือเรื่องดิจิทัล แพลตฟอร์ม สำหรับขนส่งระดับชาติ เรื่องนี้ต้องหารือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เพื่อสร้างแพลตฟอร์ม”

นายทองอยู่ คงขันธี สหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ได้มายื่นเสนอให้รัฐบาลช่วยเหลือเรื่องการลดภาษีหัก ณ ที่จ่าย จากเดิม 1% เหลือ 0.5% ระยะเวลา 2 ปี เพื่อช่วยเหลือสภาพคล่อง เพราะในภาวะปกติ ธุรกิจขนส่งมีเม็ดเงินหมุนเวียนปีละ 200,000-300,000 ล้านบาท และเป็นเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย 2,000-3,000 ล้านบาท หากกระทรวงการคลังช่วยเหลือในส่วนนี้ จะทำให้ผู้ประกอบการมีเงินหมุนเวียน 1,000 ล้านบาท.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ