นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ความต้องการใช้ถุงมือยางเพิ่มสูงขึ้นหลายเท่าตัว เพราะเป็นอุปกรณ์ป้องกันที่จำเป็นสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ขณะที่ประชาชนหันมาใช้ถุงมือยางเพื่อป้องกันเชื้อโรคมากขึ้น ส่งผลให้ในช่วง 4 เดือน (ม.ค.-เม.ย.63) ไทยสามารถส่งออกถุงมือยางไปตลาดโลกได้มูลค่าสูงถึง 449 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 16% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับตลาดที่ไทยมีความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ด้วย เช่น จีน ส่งออกมูลค่า 31 ล้านเหรียญฯ เพิ่ม 129.5%,
“ปัจจัยที่ทำให้ไทยส่งออกถุงมือยางได้เพิ่มขึ้น มาจากการที่ไทยมีห่วงโซ่การผลิตที่ครบวงจร โดยมียางพาราที่สามารถผลิตน้ำยางข้นได้เอง และมีเทคโนโลยีการผลิตถุงมือยางที่มีมาตรฐาน ทำให้ได้เปรียบคู่แข่งทั้งในด้านต้นทุน และคุณภาพมาตรฐาน รวมถึงสามารถผลิตได้เพียงพอกับความต้องการในประเทศ และที่สำคัญ ได้ประโยชน์จาก เอฟทีเอ ที่เป็นแต้มต่อช่วยในการส่งออก จากการที่ประเทศคู่เอฟทีเอได้ลดและเลิกเก็บภาษีนำเข้าให้กับไทย”
ทั้งนี้ ปัจจุบันคู่เอฟทีเอ 17 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน 9 ประเทศ, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, ชิลี, เปรู และฮ่องกง ไม่เก็บภาษีนำเข้าถุงมือยางของไทยแล้ว เหลือเพียงอินเดียที่ยังคงเก็บภาษีนำเข้าที่ 10%.