ผู้พิทักษ์สิทธิ์ ใช้ 3 ขั้นตอนตรวจสอบข้อมูลผู้ยื่น ทบทวนสิทธิ์เราไม่ทิ้งกัน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ผู้พิทักษ์สิทธิ์ ใช้ 3 ขั้นตอนตรวจสอบข้อมูลผู้ยื่น ทบทวนสิทธิ์เราไม่ทิ้งกัน

Date Time: 28 เม.ย. 2563 16:30 น.

Video

แก้เกมหุ้นไทยตกต่ำ ประธานตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดแผนฟื้นความเชื่อมั่น | Money Issue

Summary

  • "ผู้พิทักษ์สิทธิ์" ใช้ 3 ขั้นตอน ตรวจสอบข้อมูลผู้ยื่น "ทบทวนสิทธิ์เราไม่ทิ้งกัน" เพื่อขอรับเงินเยียวยา 5,000 บาท

Latest


"ผู้พิทักษ์สิทธิ์" ใช้ 3 ขั้นตอน ตรวจสอบข้อมูลผู้ยื่น "ทบทวนสิทธิ์เราไม่ทิ้งกัน" เพื่อขอรับเงินเยียวยา 5,000 บาท

จากกรณีรัฐบาลเปิดมาตรการเยียวยาลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ นอกระบบประกันสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัส "โควิด-19" (COVID-19) จะได้รับเงินสนับสนุนรายละ 5,000 บาทต่อเดือน โดยต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com เท่านั้น ซึ่งล่าสุดได้ปิดการลงทะเบียนขอรับสิทธิ์ไปแล้ว แต่ยังเปิดเว็บให้ตรวจสอบสถานะ ยกเลิกการลงทะเบียน, ยื่นทบทวนสิทธิ์, เปลี่ยนแปลงข้อมูลการรับเงิน และยื่นข้อมูลเพิ่มเติมได้

ขณะที่ผู้ไม่ผ่านเกณฑ์การคัดกรองมาตรการเยียวยา 5,000 บาท ขอทบทวนสิทธิ์ได้นั้น กระทรวงการคลังได้มอบหมาย "ผู้พิทักษ์สิทธิ์" จำนวนกว่า 23,000 คน สับเปลี่ยนลงพื้นที่เพื่อปฏิบัติงานทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 23 เม.ย. 2563 เป็นต้นมา ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ทั้งนี้ เพื่อทำหน้าที่ยืนยันตัวตนและตรวจสอบการประกอบอาชีพตามที่ได้ลงทะเบียนไว้ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสังกัดกระทรวงการคลัง ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และรวมถึงสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่นๆ

สำหรับ "ผู้พิทักษ์สิทธิ์" คือ เจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการคลังปฏิบัติหน้าที่เก็บข้อมูล/หลักฐานการประกอบอาชีพ จากประชาชนผู้ขอยื่นทบทวนสิทธิ์ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ทั้งนี้ ผู้พิทักษ์สิทธิ์ไม่มีอำนาจในการตัดสินผลการพิจารณา โดยเพียงทำการส่งข้อมูลเข้ากระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาตามคุณสมบัติของมาตรการฯ ต่อไป

ผู้พิทักษ์สิทธิ์ตรวจสอบข้อมูล 3 ขั้นตอน ดังนี้

1. ถ่ายรูปบัตรประชาชน

ของผู้ทบทวนสิทธิ์

2. ถ่ายรูปใบหน้า

ของผู้ทบทวนสิทธิ์

3. ตรวจสอบและถ่ายรูปหลักฐาน

ประกอบอาชีพของผู้ทบทวนสิทธิ์

หลักฐานที่ใช้ในการตรวจสอบข้อมูล

  • ภาพหลักฐานการประกอบอาชีพ

เช่น สถานที่ทำงาน หน้าร้าน รถที่ขับ สินค้าที่ขาย อุปกรณ์ประกอบอาชีพ

  • ใบอนุญาตการประกอบอาชีพ

เช่น ใบประกอบวิชาชีพ ใบขับขี่สาธารณะ ทะเบียนการค้า ใบอนุญาตให้ประกอบการตามอาชีพ ออกโดยหน่วยงานของรัฐ

  • เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ

เช่น สัญญาเช่าร้าน หลักฐานการรับเงิน ที่พักอาศัยปัจจุบัน (กรณีไม่มีหน้าร้าน) หลักฐานทาง social media เอกสารการรับงานหรือดูแลลูกค้าตามการว่าจ้าง.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์