หายนะโควิดรุนแรงสุด ฉุดจีดีพีลบ 4% ถ้าไม่มีมาตรการรัฐลบ 8.8%

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

หายนะโควิดรุนแรงสุด ฉุดจีดีพีลบ 4% ถ้าไม่มีมาตรการรัฐลบ 8.8%

Date Time: 17 เม.ย. 2563 08:35 น.

Summary

  • ดัชนีความเชื่อมั่น หอการค้าไทยที่สำรวจจากสมาชิกหอการค้าไทยทั่วประเทศว่า ดัชนีเดือน มี.ค.63 อยู่ระดับ 37.5 ต่ำสุดนับตั้งแต่เริ่มสำรวจมาเดือน ม.ค.61 จากผลกระทบไวรัสโควิด-19

Latest

“โกโก้ร้านไอ้ต้น” แฟรนไชส์สัญชาติไทย ปีเดียว ขยายสาขา 160 แห่งในจีน ความแปลก ที่กลายเป็นเอกลักษณ์


ธุรกิจปิดแรงงานเสี่ยงถูกเลิกจ้าง 10 ล้าน

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงดัชนีความเชื่อมั่น หอการค้าไทยที่สำรวจจากสมาชิกหอการค้าไทยทั่วประเทศว่า ดัชนีเดือน มี.ค.63 อยู่ระดับ 37.5 ต่ำสุดนับตั้งแต่เริ่มสำรวจมาเดือน ม.ค.61 จากผลกระทบไวรัสโควิด-19 โดยสมาชิกมองว่าโควิด-19 เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความรุนแรงมากที่สุดตั้งแต่ พ.ศ.2500 ซึ่งรุนแรงกว่าวิกฤติต้มยำกุ้งปี 40-41 เพราะภาคธุรกิจทุกกลุ่มได้รับความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มท่องเที่ยวและธุรกิจเกี่ยวข้อง, ภาคบริการต่างๆ, ส่งออก, ภาคการผลิต เป็นต้น จนเกิดความเสี่ยงที่จะเลิกจ้างแรงงาน 10 ล้านตำแหน่งในปีนี้จากการที่บริษัทปิดตัวชั่วคราว “สมาชิกหอการค้าทั่วประเทศมองว่า ไม่เคยเจอเหตุการณ์ที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจและธุรกิจเหมือนครั้งนี้ ซึ่งไม่ใช่ธุรกิจในไทยเท่านั้นแต่เป็นธุรกิจทั่วโลก ส่วนไทยมองว่าหากไม่เกิดเหตุอะไรซ้ำเติมเข้ามาอีก น่าจะทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ไตรมาส 4 ปีนี้”

นายธนวรรธน์กล่าวว่า ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 63 ใหม่จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 1.1% เป็นติดลบ 3.4-4.9% โดยมีความเป็นไปได้มากที่สุดที่จะติดลบ 4% ซึ่งได้ประเมินร่วมกับผลดีของมาตรการรัฐในการเยียวยาช่วยเหลือประชาชน ภาคธุรกิจ และการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ภายในวงเงินกู้ 1.9 ล้านล้านบาทแล้ว แต่หากไม่รวมมาตรการของรัฐเศรษฐกิจไทยปีนี้คาดว่าจะติดลบมากถึง 8.8%

“มาตรการรัฐช่วยพยุงจีดีพีได้ 4-5% แล้วแต่ประสิทธิภาพของมาตรการ เช่น ประชาชนที่ได้ 5,000 บาทต่อเดือน จะใช้จ่ายทั้งหมดหรือไม่ หรือเก็บไว้ส่วนหนึ่งเพื่อประคองครอบครัว หรือภาคธุรกิจจะเข้าถึงมาตรการช่วยเหลือได้แค่ไหน โดยเฉพาะเอสเอ็มอี ดังนั้นต้องติดตามอีกครั้ง ทั้งนี้ หากเม็ดเงินจากรัฐลงสู่ระบบทุกๆ 100,000 ล้านบาทจะผลักดันจีดีพีเพิ่มขึ้นได้อีก 0.7% แต่หากคิดเฉพาะกู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ถ้าลงสู่ระบบหมดจะช่วยดันจีดีพีได้ 7%”

นายธนวรรธน์กล่าวว่า สมาชิกหอการค้าไทยมีข้อเสนอรัฐ เช่น ขอให้รัฐเพิ่มมาตรการให้แรงงาน ลูกจ้าง ที่อยู่ในระบบประกันสังคมได้รับการชดเชยรายได้, ส่งเสริมให้จ้างงานรายชั่วโมง เพื่อป้องกันปัญหาเลิกจ้างโดยกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ 325 บาทต่อวัน ชั่วโมงละ 40-41 บาท หรือทำงานไม่ต่ำกว่า 4 ชั่วโมงแต่ไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน, บริษัทที่มีโอกาสปลดแรงงานออก ให้รัฐสนับสนุนค่าจ้างเงินเดือน 50% (จากประกันสังคม) และบริษัทเอกชนจ่ายอีก 25% ให้พนักงาน และผ่อนปรนผู้ที่ติดเครดิตบูโรจากเดิมห้ามขอสินเชื่อภายใน 3 ปี เป็นให้เหลือ 1 ปี สำหรับลูกหนี้ที่มีประวัติดี เป็นต้น.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ