ลุยทำสัญญา “จีพีซี” แหลมฉบังเฟส 3

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ลุยทำสัญญา “จีพีซี” แหลมฉบังเฟส 3

Date Time: 17 มี.ค. 2563 08:44 น.

Summary

  • คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติวงเงินที่เอกชนต้องจ่ายผลตอบแทนให้รัฐที่ 32,000 ล้านบาท แต่จีพีซีเสนอ 12,000 ล้านบาท จึงต้องเจรจาให้ได้ตัวเลขมากขึ้น

Latest

ทอท. ลงทุนเต็มพิกัด 10 ปี 2 แสนล้านบาท เที่ยวบินอินเตอร์ฟื้นตัวเกิน 100%

เรือโทกมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยว่า หลังจากศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 13 มี.ค.63 ให้กลุ่มกิจการร่วมค้าเอ็นซีพี ประกอบด้วย บริษัท นทลิน จำกัด บริษัท แอสโซซิเอท อินฟินิตี้ จำกัด บริษัท พริมา มารีน จำกัด บริษัท พีเอชเอส ออแกนิค จำกัด และ China Railway Construction Limited ซึ่งเป็นหนึ่งใน 2 ผู้ยื่นเอกสารประกวดราคาโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 เป็นผู้ไม่ผ่านการประเมินเอกสารข้อเสนอซองที่ 2 ตามที่คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการดังกล่าวได้พิจารณาไปแล้วนั้น จากนี้ กทท.จะเดินหน้าตามขั้นตอน เพื่อให้ผู้ที่ผ่านการคัดเลือก ได้แก่ กลุ่มกิจการร่วมค้าจีพีซี ประกอบด้วย บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) และ China Harbour Engineer Company Limited ลงนามในสัญญาในเดือน เม.ย.นี้ตามเป้าหมาย

ด้านเรือโทยุทธนา โมกขาว ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติวงเงินที่เอกชนต้องจ่ายผลตอบแทนให้รัฐที่ 32,000 ล้านบาท แต่จีพีซีเสนอ 12,000 ล้านบาท จึงต้องเจรจาให้ได้ตัวเลขมากขึ้น จากนั้นจะส่งเรื่องให้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) พิจารณา ซึ่งหลังจากโครงการล่าช้ามา 1 ปี ทำให้ต้องเลื่อนการเปิดให้บริการออกไปเป็นปลายปี 66 จากเดิมต้นปี 66 ส่วนนายธาริศร์ อิสสระยั่งยืน ผู้อำนวยการสำนักโครงสร้างพื้นฐานอีอีซี กล่าวว่า การเจรจากับจีพีซีจะให้ได้ตัวเลขใกล้เคียงกับมติ ครม.มากที่สุด ไม่ต้องเท่ากันก็ได้ ถ้าเอกชนยืนยันตัวเลขแล้ว จะส่งให้อีอีซีพิจารณาก่อนเสนอ ครม.อนุมัติ

สำหรับโครงการดังกล่าวมีผู้ยื่นเอกสาร 2 กลุ่ม คือ จีพีซีและเอ็นซีพี จากการเปิดซองที่ 1 คุณสมบัติผ่านทั้ง 2 กลุ่ม แต่เอกสารซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิค เอ็นซีพีไม่ลงนามในแบบฟอร์มสัญญากิจการร่วมค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ ถือว่าผิดสาระสำคัญที่ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกับผู้ยื่นรายอื่น แต่เอ็นซีพียื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอคุ้มครองชั่วคราว และศาลตัดสินให้คุ้มครองชั่วคราว ส่งผลให้คณะกรรมการคัดเลือกฯ ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา พร้อมยื่นคำร้องขอให้ระงับคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเอ็นซีพี ทำให้การดำเนินโครงการหยุดชะงัก แต่หลังศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้เอ็นซีพีไม่ผ่านการประเมินเอกสารซองที่ 2 ทำให้ กทท.สามารถดำเนินการต่อไปได้.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ