ก.คมนาคม จี้ แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เร่งสรุปตั๋วร่วม หลังล่าช้าไป 11 เดือน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ก.คมนาคม จี้ แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เร่งสรุปตั๋วร่วม หลังล่าช้าไป 11 เดือน

Date Time: 11 ก.พ. 2563 20:00 น.

Video

ศิรเดช โทณวณิก Gen 3 ดุสิตธานี ธุรกิจที่เป็นมากกว่าโรงแรม | On The Rise

Summary

  • ก.คมนาคม บี้ “แอร์พอร์ต เรล ลิงก์” เร่งสรุปตั๋วร่วม “บัตรแมงมุม-Rabbit” จี้เคลียร์บริษัทผู้รับจ้าง ลุยต่อหรือยกเลิกสัญญาหลังงานอืด 11 เดือน เพื่อให้ทันเปิดใช้ มิ.ย.63

Latest


ก.คมนาคม บี้ “แอร์พอร์ต เรล ลิงก์” เร่งสรุปตั๋วร่วม “บัตรแมงมุม-Rabbit” จี้เคลียร์บริษัทผู้รับจ้าง ลุยต่อหรือยกเลิกสัญญาหลังงานอืด 11 เดือน เพื่อให้ทันเปิดใช้ มิ.ย.63

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ครั้งที่ 29 - 2/2563 ว่า ที่ประชุมได้รับทราบการรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนการดำเนินการระบบตั๋วร่วมระยะเร่งด่วน ในการพัฒนาให้บัตรแมงมุม บัตร MRT Plus ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบัตร Rabbit ของ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS สามารถใช้งานร่วมกันได้ ซึ่งได้มอบให้ รฟม. BTS และ BEM หาข้อสรุปในเรื่องแหล่งที่มาของค่าใช้จ่ายในการจัดทำระบบและการดำเนินการ

ทั้งนี้ในส่วนของเงินลงทุนในการพัฒนาซอฟต์แวร์ตามสัดส่วนของแต่ละหน่วยงานที่กำหนดไว้เพื่อให้ระบบหัวอ่าน (Reader) สามารถอ่านข้อมูลของแต่ละบัตรได้นั้น แบ่งเป็น รฟม.และ BEM ประมาณ 225 ล้านบาท, BTS ประมาณ 120 ล้านบาท และแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ประมาณ 225 ล้านบาท ขณะเดียวกัน จะต้องหาข้อสรุปการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเกี่ยวกับการไม่เปิดเผยข้อมูล (Non 3 Disclosure agreement: NDA) ให้แล้วเสร็จภายใน ก.พ.นี้ และเร่งรัดให้การดำเนินงานแล้วเสร็จ พร้อมเริ่มใช้งานได้ตามแผนภายใน มิ.ย. 2563

นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้ รฟม.และ BTS กลับไปพิจารณาส่วนลดการใช้บริการสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ให้กับนักเรียน นักศึกษา และผู้สูงอายุ เนื่องจากพบว่าการให้บริการยังไม่ครอบคลุมในส่วนดังกล่าว โดยต้องพิจารณาหลักการตามสัญญาสัมปทาน แต่จะได้รับส่วนลดเท่าไหร่นั้น หน่วยงานจะต้องไปเจรจาตกลงร่วมกัน และให้กลับนำเสนอคณะกรรมการฯ อีกครั้งในการประชุมครั้งต่อไปในช่วง มี.ค.นี้

“ตอนนี้หน่วยงานที่ยังล่าช้า คือ รถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เนื่องจากติดปัญหาการพัฒนาระบบเครื่องอ่านบัตรและการเชื่อมต่อ โดยได้รับรายงานว่าบริษัทเอกชนที่ว่าจ้างมาพัฒนาระบบไม่สามารถทำงานได้ทันตามกำหนด และมีความล่าช้ากว่าสัญญา 11 เดือน ซึ่งได้มอบหมายให้แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ไปพิจารณาว่าจะดำเนินการจ้างต่อหรือยกเลิกสัญญา และไปว่าจ้างผู้พัฒนาระบบโดยตรง ที่ทำงานให้กับ BTS และ รถไฟฟ้า MRT เพื่อให้ทันต่อการเปิดการใช้งานในเดือนมิถุนายนนี้” นายชัยวัฒน์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงคมนาคม ว่า ในปัจจุบันมีผู้ถือบัตรรถไฟฟ้า จากผู้ให้บริการ 4 ราย จำนวน 14.5 ล้านใบ ได้แก่ บัตร Rabbit (รถไฟฟ้า BTS) ที่มีผู้ถือบัตรประมาณ 12.2 ล้านใบ, บัตร MRT Plus (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสีม่วง) จำนวน 2 ล้านใบ, บัตรแมงมุม จำนวน 2 แสนใบ และบัตรรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ กว่า 4 แสนใบ.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์