เปิดคำของบคมนาคมปี 64 กว่า 5 แสนล้าน รฟท. ขอเพิ่มมากสุด 9 หมื่นล้าน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

เปิดคำของบคมนาคมปี 64 กว่า 5 แสนล้าน รฟท. ขอเพิ่มมากสุด 9 หมื่นล้าน

Date Time: 4 ม.ค. 2563 12:33 น.

Video

เปิดภารกิจ 3 แบงก์ไทย ใช้ Green Finance ช่วยลูกค้าปรับตัวฝ่า ระเบียบโลกใหม่ | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • “ศักดิ์สยาม” เปิดคำของบปี 64 กระทรวงคมนาคม รวมกว่า 5 แสนล้าน สูงกว่าปี 63 ขณะที่ รฟท. ขอเยอะที่สุด 9 หมื่นล้าน ตามมาด้วยกรมท่าอากาศยาน และกรมเจ้าท่า

Latest


“ศักดิ์สยาม” เปิดคำของบปี 64 กระทรวงคมนาคม รวมกว่า 5 แสนล้าน สูงกว่าปี 63 ขณะที่ รฟท. ขอเยอะที่สุด 9 หมื่นล้าน ตามมาด้วยกรมท่าอากาศยาน และกรมเจ้าท่า

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ครั้งที่ 1 ว่า วงเงินคำขอเบื้องต้นของ 8 ส่วนราชการ 6 รัฐวิสาหกิจอยู่ที่ 5.14 แสนล้านบาท แบ่งเป็น งบประจำ 1.24 แสนล้านบาท คิดเป็น 24.12% และงบลงทุน 3.9 แสนล้านบาท คิดเป็น 75.88% โดยทางบกมีคำของบมากที่สุด 3.4 แสนล้านบาท คิดเป็น 66.13% รองลงมา ทางราง 1.41 แสนล้านบาท คิดเป็น 27.43% ทางอากาศ 1.88 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 3.67% ทางน้ำ 1.25 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 2.45% และด้านนโยบาย 1.67 พันล้านบาท คิดเป็น 0.33%

ทั้งนี้ คำของบปี 64 จำนวน 5.14 แสนล้านบาทนั้น เป็นตัวเลขที่สูงกว่างบประมาณที่ได้รับในปีงบ 63 จำนวน 3.04 แสนล้านบาท คิดเป็น 146.27% ซึ่งตัวเลขคำขอที่สูงขึ้นล้วนเป็นโครงการที่มีความจำเป็นและมาจากการหารือ รวมถึงที่ประชาชนเรียกร้องมากกว่า 70% โดยกระทรวงคมนาคมพยายามตอบโจทย์ให้ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ บก น้ำ ราง อากาศ และได้มอบให้แต่ละหน่วยงานไปปรับปรุงรายละเอียดของโครงการต่างๆ จัดทำเป็นแผนปฏิบัติการ (แอ็กชั่นแพลน) ให้ชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยให้มานำเสนออีกครั้งวันที่ 14 ม.ค. 63 ก่อนเสนอสำนักงบประมาณในวันที่ 21 ม.ค. 63 และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป

นายศักดิ์สยาม ยังกล่าวอีกว่า สำหรับหน่วยงานที่มีคำของบปี 64 เพิ่มจากงบที่ได้รับในปี 63 มากที่สุดคือ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 9.09 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.73 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 570% รองลงมาคือ กรมท่าอากาศยาน (ทย.) 1.68 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.12 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 197.72% และกรมเจ้าท่า (จท.) 1.25 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.22 พันล้านบาท คิดเป็น 188.21%

ในส่วนของ รฟท. สาเหตุที่คำของบเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากมีโครงการลงทุนสำคัญ อาทิ โครงการรถไฟสายสีแดงเข้ม รังสิต - ม.ธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต), โครงการรถไฟสายสีแดงอ่อน บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และโครงการรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่ - มหาสารคาม - ร้อยเอ็ด - มุกดาหาร - นครพนม และการชำระหนี้เงินกู้

ส่วนกรมท่าอากาศยาน จะขยายทางวิ่ง (รันเวย์) ท่าอากาศยานต่างๆ เพราะรันเวย์ที่มีอยู่ในปัจจุบันมีความยาวสั้นเกินไป ไม่สามารถรองรับอากาศยานขนาดใหญ่ได้ อาทิ ท่าอากาศยานตรัง และท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ประเทศไทยรายได้หลักมาจากการท่องเที่ยว การเดินทางมาประเทศไทยของนักท่องเที่ยวกว่า 90% ใช้การเดินทางทางอากาศ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องดำเนินการ และจะเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ แต่ได้สั่งการให้พิจารณาเรื่องของพื้นที่ที่จะใช้ขยายรันเวย์ หากมีอยู่แล้วให้ขอมาได้เลย แต่หากไม่มีให้ไปดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบ และข้อกฎหมายก่อน เช่น การเวนคืนที่ดิน และการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เพราะหากยังไม่เรียบร้อยจะมีปัญหาเบิกจ่ายไม่ได้

ขณะที่กรมเจ้าท่า ต้องใช้งบเพื่อพัฒนาศักยภาพทางน้ำ โดยเฉพาะการพัฒนาท่าเรือต่างๆ นอกจากนี้ จะขอใช้งบกลางปี 63 ประมาณ 800 ล้านบาท ติดตั้งระบบควบคุมการจราจรทางน้ำ (VTS) ระยะที่ 3 ควบคุมพื้นที่ทะเลอ่าวไทยตอนล่าง ตั้งแต่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ลงไปถึงภาคใต้ เพื่อรองรับการตรวจจากองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (ไอเอ็มโอ) ที่จะเข้ามาตรวจในเดือน ก.พ. 64


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์