ชิมช้อปใช้ เฟส 2 ให้สิทธิเพียง 5 ล้านคน เปลี่ยนลงทะเบียนช่วงกลางวัน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ชิมช้อปใช้ เฟส 2 ให้สิทธิเพียง 5 ล้านคน เปลี่ยนลงทะเบียนช่วงกลางวัน

Date Time: 9 ต.ค. 2562 15:02 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • คนผิดหวังลงทะเบียน ”ชิมช้อปใช้” ไม่ได้ ลงทะเบียนไม่ทัน มีสิทธิได้ลุ้นอีก เมื่อกระทรวงการคลัง เตรียมเดินหน้าเฟส 2 พร้อมปรับปรุงรายละเอียดเงื่อนไขไม่ให้ซับซ้อน

Latest


คนผิดหวังลงทะเบียน ”ชิมช้อปใช้” ไม่ได้ ลงทะเบียนไม่ทัน มีสิทธิได้ลุ้นอีก เมื่อกระทรวงการคลัง เตรียมเดินหน้าเฟส 2 พร้อมปรับปรุงรายละเอียดเงื่อนไขไม่ให้ซับซ้อน เพื่อต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศช่วงปลายปีนี้เหมือนเดิม ส่วนจะเปิดลงทะเบียนวันใดให้ติดตาม

ล่าสุด นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงมาตรการ “ชิมช้อปใช้” เฟส 2 ว่า คาดจะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม ครม. ภายในเดือนต.ค.นี้ โดยขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการพิจารณา โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ธนาคารกรุงไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูรายละเอียดโครงการให้ชัดเจน อาจให้สิทธิไม่ถึง 10 ล้านคนเหมือนเฟสแรก อาจจะให้สิทธิเพียง 5 ล้านคน

ทั้งนี้ จะมีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดและเงื่อนไข ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มวงเงินการคืนเงิน (cash back) เพราะต้องการให้มีการจับจ่ายใช้สอยในเมืองรองมากขึ้น รวมทั้งจะปรับเวลาลงทะเบียนมาเป็นช่วงกลางวัน ส่วนงบประมาณกำลังดูในรายละเอียด

สำหรับการเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนรับสิทธิเข้าร่วมในมาตรการชิมช้อปใช้ เฟส 2 คาดว่าจะเริ่มในช่วงเดือน พ.ย. - ธ.ค. 2562 เพื่อต้องการให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปีเช่นเดิม

ขณะที่ นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 8 ต.ค.ที่ผ่านมา นายอุตตม ได้เป็นประธานการประชุมหารือมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว “ชิมช้อปใช้” เฟส 2 โดย สศค.ได้เสนอแนวทางต่อที่ประชุมหลากหลาย เพื่อให้กลับไปพิจารณาข้อดีและข้อเสีย ก่อนจะนัดหารือเพื่อสรุปอีกครั้งภายในสัปดาห์นี้ และเสนอเข้าที่ประชุม ครม. ในวันที่ 22 ต.ค.นี้

สำหรับโจทย์ ”ชิมช้อปใช้” เฟส 2 จะต้องทำอย่างไรให้ประชาชนยอมนำเงินในกระเป๋าออกมาใช้จ่าย และการใช้จ่ายจะต้องกระจายไปในพื้นที่ที่ควรมีการช่วยเหลือหรือกระตุ้น อาทิ พื้นที่ในจังหวัดที่เล็กกว่าเมืองรอง เช่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน สตูล เป็นต้น หลังพบว่า “ชิมช้อปใช้” เฟสแรก มีการใช้จ่ายกระจุกตัวอยู่ในจังหวัดใหญ่ โดยจะเสนอแรงจูงใจ เช่น เพิ่มวงเงินในส่วนที่มีการคืนเงิน (Cash Back) ให้มากขึ้น จากเฟสแรกให้เงินคืน 15% ของยอดใช้จ่ายสูงสุดไม่เกิน 4,500 บาท วงเงินใช้จ่ายไม่เกิน 30,000 บาท หรือนำค่าใช้จ่ายจำนวนหนึ่งไปใช้ในการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นต้น.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ