ข้อพิพาทรื้อถอนแท่นปิโตรเลียม

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ข้อพิพาทรื้อถอนแท่นปิโตรเลียม

Date Time: 6 ก.ย. 2562 05:02 น.

Summary

  • ภาคเอกชนมีความเห็นในเรื่องการทำสัมปทานกับรัฐ โดยเฉพาะประเด็นสำคัญคือการสร้างความเชื่อถือและยึดหลักกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม อย่างโปร่งใส จะส่งผลต่อแรงจูงใจที่จะมาสู่การลงทุนจากภาคเอกชน

Latest

“พิชัย” เปิดเวทีชวนนักลงทุนเข้าไทย

ภาคเอกชนมีความเห็นในเรื่องการทำสัมปทานกับรัฐ โดยเฉพาะประเด็นสำคัญคือการสร้างความเชื่อถือและยึดหลักกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม อย่างโปร่งใส จะส่งผลต่อแรงจูงใจที่จะมาสู่การลงทุนจากภาคเอกชน และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ

เรื่องการระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับ การรื้อถอนสิ่งติดตั้งในกิจการปิโตรเลียม หรือ แท่นขุดเจาะในทะเล ที่จะสิ้นอายุสัมปทานในปี 2565-2566 ถือเป็นวาระเร่งด่วนที่ สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน ให้ความสำคัญ เพราะ แหล่งเอราวัณ และ บงกช ถือว่าเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่ใหญ่ที่สุดและมีระยะเวลาในการผลิตมายาวนานกว่า 30 ปีแล้ว

เนื่องจากการประมูลการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในแหล่งก๊าซธรรมชาติทั้ง 2 แห่ง มีการเปลี่ยนแปลงผู้ที่จะเข้ามาดำเนินการผลิต ดังนั้น อุปกรณ์ต่างๆที่เป็นของบริษัทเดิมที่เคยได้รับสัมปทานจะต้องรื้อถอนอย่างไร และใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ แบ่งเป็นสองส่วน คือในส่วนที่เป็นภาระกับภาครัฐจะต้องออกค่ารื้อถอนหรือไม่อย่างไร และในส่วนที่ใช้งานต่อไปได้ภาครัฐจะบริหารจัดการอย่างไร

ภาคเอกชนให้เหตุผลว่า เมื่อรัฐนำกลับไปบริหารหรือสิทธิประโยชน์ส่งคืนกลับให้รัฐไปแล้ว รัฐก็ควรจะเป็นผู้รับผิดชอบ แต่รัฐก็อ้างว่าเป็นแท่นขุดเจาะที่ เกิดจากสัญญาสัมปทาน ซึ่งบริษัทที่ได้รับสัมปทานก็ควรจะต้องมีส่วนรับผิดชอบรื้อถอนด้วย

เรื่องนี้มีผลต่อความน่าเชื่อถือของรัฐในการให้สัมปทานกิจการของรัฐในอนาคต เพราะฉะนั้นจึงต้องยึดหลักการ กฎระเบียบ ข้อกฎหมายที่มีอยู่ ตาม พ.ร.บ.ปิโตรเลียมและ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ปี 2514 ได้กำหนดสิทธิประโยชน์และหน้าที่ของผู้รับ สัมปทานไว้แบบกว้างๆตามมาตรา 80 กำหนดว่าการประกอบกิจการปิโตรเลียมไม่ว่าสิทธิสำรวจหรือผลิตตามสัมปทานจะสิ้นสุดอายุหรือไม่ ผู้รับสัมปทานต้องดำเนินการให้ถูกต้อง ตามหลักเทคนิคและวิธีการปฏิบัติปิโตรเลียมที่ดี

ต่อมากฎกระทรวงฉบับที่ 5 ออกตาม พ.ร.บ.ปิโตรเลียมปี 2514 ข้อ 15 (1) ระบุว่าเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานใด หรือสิ้นสุดอายุสัมปทานหรือถูกเพิกถอน ผู้รับสัมปทานจะต้องทำ

พื้นดินและพื้นน้ำให้กลับมามีสภาพเหมือนเดิม เท่าที่จะทำได้ และ (4) ให้รื้อถอนฐานคอนกรีต โครงสร้าง อาคารที่อยู่อาศัย นำเครื่องจักร อุปกรณ์ และวัสดุที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ออกจากบริเวณหลุมสำรวจและผลิต เผาเศษปิโตรเลียมให้หมด

และมีการออกกฎกระทรวงอื่นๆตามมาไม่ว่าจะเป็นกฎกระทรวงปี 2555 หรือ 2559 ซึ่งผู้รับสัมปทานใช้เป็นข้ออ้างว่าเป็นการออกกฎกระทรวงเรื่องการรื้อถอนแท่นปิโตรเลียมขึ้นมาภายหลัง ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายหลักที่มีอยู่แล้ว

เรื่องนี้ ถ้ายึดตามหลักกฎหมายและสัญญาก็ต้องถือว่า กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ มีภาษีดีกว่าบริษัทเอกชน ที่จะใช้เป็นบรรทัดฐานในการสัมปทานกับภาครัฐต่อไปในอนาคต โดยถือเอาประโยชน์ของชาติเป็นที่สุด.

หมัดเหล็ก


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ