หญ้าหวาน ดีแต่อย่าเยอะ หวานมาก ม้าม ตับ จะไม่ทน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

หญ้าหวาน ดีแต่อย่าเยอะ หวานมาก ม้าม ตับ จะไม่ทน

Date Time: 17 ก.ค. 2562 18:24 น.

Video

เปิดภารกิจ 3 แบงก์ไทย ใช้ Green Finance ช่วยลูกค้าปรับตัวฝ่า ระเบียบโลกใหม่ | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • จะมาให้กินดื่มอะไรที่จืดชืดทุกวันทุกมื้อ ก็คงไม่ไหว เพราะชอบกินหวาน แต่หลายคนเลยขั้นหวานไปจนใกล้เบาหวานแล้ว จึงต้องอดน้ำตาลไปพึ่ง “หญ้าหวาน” แทน

Latest


จะมาให้กินดื่มอะไรที่จืดชืดทุกวันทุกมื้อ ก็คงไม่ไหว เพราะชอบกินหวาน แต่หลายคนเลยขั้นหวานไปจนใกล้เบาหวานแล้ว จึงต้องอดน้ำตาลไปพึ่ง “หญ้าหวาน” แทน แต่เดี๋ยวก่อน ทุกอย่างในโลกล้วนมีดีและมีเสียทั้งนั้น

มีคำย้ำเตือนจาก หมอประเดิม ส่างเสน เลขานุการหมอชนเผ่า 7 จังหวัดภาคเหนือ ว่า “ความหวานมีรสร้อน” เพราะฉะนั้นเมื่อเรารับสารที่ให้รสหวาน ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลที่ผ่านกระบวนการสกัดจากอ้อยเป็นเกล็ดน้ำตาล หรือหญ้าหวาน หรือพืชอื่นที่ให้รสหวาน ก็ทำให้ร่างกายร้อน

“ต้องอย่าลืมว่าร่างกายมนุษย์มีระบบอัตโนมัติ ไม่ว่าสารอะไรที่ร่างกายเราไม่ต้องการ ก็จะขับออกโดยอัตโนมัติ แต่เมื่อขับออกไม่ได้ ก็จะกระทบต่อม้าม ตับ ดี และสุดท้ายอาการออกที่ลำไส้ที่ยาวนับสิบเมตร สุดท้ายคือถ่ายไม่ออก อาหารเก่าไม่ออก แต่ยังมีอาหารใหม่เติมเข้ามา”

ความหวานซึ่งให้รสร้อน เมื่อสะสมต่อเนื่องยาวนาน 10 ปี ก็เกิดโรค 4 โรคหลัก คือความดัน เบาหวาน หัวใจ ไขมัน เป็นโรคที่ไม่มียารักษา มีแค่ยาคุมอาการเท่านั้น คนที่เป็น ต้องอยู่กับ 4 โรคนี้ไปตลอดกาล

ดังนั้นพืชที่ให้รสหวานแทนน้ำตาล อย่างหญ้าหวาน การใช้ก็ไม่ต่างจากสมุนไพรอื่นๆ ที่ต้องระวังเหมือนกัน แม้กินแทนน้ำตาลได้ แต่กินเยอะเกินไป ทำให้ดื้อยา คือกลายเป็นผลเสียต่อร่างกายในที่สุด

“ระบบแพทย์พื้นบ้าน คือเมื่อเกิดโรค หรือยังไม่เกิดโรค ต้องทำให้ตับเย็นลง อย่างลำไส้ที่ยาว 40 เมตร ต้องหาทางระบาย แต่ไม่ใช่กินยาระบาย แต่ใช้พืชสมุนไพรช่วย เช่น มะขามเปียก ใบบัวบก มะขามป้อม เพื่อให้ขับถ่าย ระบายความร้อน เพื่อให้ม้าม ตับ เย็นลง”  

หลักการใช้หญ้าหวานเพื่อเป็นพืชสมุนไพรนั้น กินแล้วต้องพักบ้าง กิน 7 วัน หรือ 15 วัน แล้วต้องหยุดประมาณ 3 วัน แล้วค่อยกินต่อ

สำหรับที่มาของหญ้าหวานนั้น มีข้อมูลจากศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร สรุปข้อมูลเกี่ยวกับหญ้าหวานไว้ว่า เป็นพืชพื้นเมืองจากบราซิล และปารากวัย มีสารให้ความหวาน Stevioside ที่หวานกว่าน้ำตาลทราย 300 เท่า และสาร Rebaudioside A หวานกว่า 450 เท่า จึงมีการใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหลากหลาย และปัจจุบันในประเทศไทยก็มีการปลูกเพื่อใช้ในไทย และส่งออกด้วย

เมื่อมีทั้งประโยชน์และหากใช้มากไปจะเกิดโทษ จึงต้องควบคุม ในไทยจึงมีมาตรการกำกับการใช้หญ้าหวานในส่วนผสมของอาหาร โดยในราชกิจจานุเบกษาเมื่อเดือนก.ย. 2561 ได้เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 390 (พ.ศ.2561) ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522

ในข้อ 2 ของประกาศ เป็นข้อความเรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการใช้วัตถุในอาหารที่ผลิตเพื่อจำหน่าย นำเข้าเพื่อจำหน่าย หรือที่จำหน่าย ย้ำที่เคยบังคับใช้อยู่แล้ว เช่น หญ้าหวานเป็นชาสมุนไพร เรื่องสาร Steviol Glycosides เป็นวัตถุเจือปนอาหาร หญ้าหวานเพื่อส่งออกได้ ที่ประกาศเพิ่มเติมคือเรื่องผลิตภัณฑ์อื่นๆ ถ้าจัดเป็นอาหารใหม่ ต้องผ่านประเมินความปลอดภัย ส่งมอบฉลากให้สำนักงานอาหารและยา หรือ อย. ตรวจอนุมัติ

ปัจจุบันจึงมีผลิตภัณฑ์ อาหาร เครื่องดื่ม ออกสู่ท้องตลาดมากมาย ตั้งแต่น้ำจิ้มไก่ ชา เครื่องดื่มสมุนไพร นมเปรี้ยว น้ำผลไม้ ที่ชูจุดขายหวานน้อย ไม่ใส่น้ำตาล แต่มีหญ้าหวานแทน เป็นทางเลือกผู้บริโภค จากการสำรวจส่วนผสมบนฉลาก พบว่ามีส่วนสารให้ความหวานกลุ่ม Stevioside ประมาณ 01.-0.5%

สรุปได้ว่า หญ้าหวาน ก็ยังดีกว่าน้ำตาล แต่อย่างที่หมอประเดิมย้ำไว้คือ “ดี แต่อย่ากินเยอะ” เพราะสุดท้ายเป็นการส่งผลเสียต่อร่างกายเช่นกัน.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์