โมเดลแห่งความยั่งยืนของชีวิต "ธุรกิจเพื่อสังคม" (Social Business) เพื่อความสุขร่วมกันของคนทั้งโลก

Economics

Thailand Econ

Yunus Center at AIT

Yunus Center at AIT

Tag

โมเดลแห่งความยั่งยืนของชีวิต "ธุรกิจเพื่อสังคม" (Social Business) เพื่อความสุขร่วมกันของคนทั้งโลก

Date Time: 5 ก.ค. 2562 16:55 น.
Yunus Center at AIT

Summary

  • แม้การแสวงหาความมั่งคั่งจะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนส่วนใหญ่แทบทุกคน โดยเฉพาะผู้มีโอกาสและความสามารถในการสร้างรายได้ผ่านการประกอบธุรกิจ แต่การสร้างความยั่งยืนให้กับสังคมโลกมากขึ้น

แม้การแสวงหาความมั่งคั่งจะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนส่วนใหญ่แทบทุกคน โดยเฉพาะผู้มีโอกาสและความสามารถในการสร้างรายได้ผ่านการประกอบธุรกิจ แต่การสร้างความยั่งยืนให้กับสังคมโลกมากขึ้นผ่านการหยิบยื่นโอกาสในการสร้างชีวิตผ่านโมเดลธุรกิจที่รู้จักในนาม ‘Social Business’ หรือ ‘ธุรกิจเพื่อสังคม’ ก็ถูกพูดถึง และลงมือปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยผู้ขับเคลื่อนแนวคิดระดับโลกอย่าง ศาสตราจารย์ มูฮัมหมัด ยูนุส (Muhammad Yunus) นักเศรษฐศาสตร์ เจ้าของรางวัลโนเบล ก็เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการถ่ายทอดทั้งองค์ความรู้และแรงบันดาลใจแก่ผู้คนทั่วทุกมุมของโลก พร้อมขยายผลธุรกิจเพื่อสังคมให้มากขึ้น โดยมีบริษัทชั้นนำระดับโลกที่เดินทางก่อนหน้าเป็นกระบอกเสียงสำคัญ การประชุมระดับโลก Social Business Day 2019 ครั้งที่ 9 แต่จัดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย จึงเป็นเครื่องยืนยันว่า ธุรกิจเพื่อสังคม คืออนาคตของโลกใบนี้ ในขณะที่องค์กรชั้นนำของไทยเองก็ขานรับแนวคิดสำคัญนี้ และพร้อมจะเดินหน้าเพื่อสังคมไทยเช่นกัน

‘ธุรกิจเพื่อสังคม’ (Social Business) การเติบโตร่วมกันของทุกภาคส่วนในสังคม

ศาสตราจารย์ มูฮัมหมัด ยูนุส (Muhammad Yunus) นักเศรษฐศาสตร์ชาวบังกลาเทศ เจ้าของรางวัลโนเบล นับเป็นบุคคลสำคัญ ที่ริเริ่มแนวคิดการทำธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business) ผ่านการสร้างโมเดลทางธุรกิจที่เป็นรูปธรรม โดยให้ความสำคัญกับการสร้างการเติบโตทางธุรกิจไปพร้อมกับการเติบโตของสังคม โดยดำเนินงานอย่างมุ่งมั่นผ่าน Yunus Foundation และ Yunus Center ในหลากหลายเมืองทั่วโลก ซึ่งในประเทศไทยเองก็สนับสนุนแนวคิดและการดำเนินงานในด้านนี้ผ่าน ศูนย์ยูนุสเซ็นเตอร์ ณ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Yunus Center at AIT) ศูนย์ยูนุสเพื่อสังคมแห่งประเทศไทย ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อันเป็นเครือข่ายสำคัญเพื่อขับเคลื่อนแนวคิด ‘Social Business’ ให้เป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหาสังคม ในขณะเดียวกันก็ยังมีการขับเคลื่อนทางธุรกิจ ซึ่งสิ่งนี้เกิดขึ้นมาอย่างสัมฤทธิ์ผลมาแล้วในหลากหลากองค์กรทั่วโลก ตั้งแต่องค์กรขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือแม้แต่องค์กรใหญ่ระดับโลก ที่ดำเนินการต่อเนื่องมายาวนาน จนเกิดเป็นชุมชนธุรกิจเพื่อสังคมขึ้นในทุกประเทศทั่วโลก และประสานความร่วมมือกันมาอย่างต่อเนื่อง

การจัดงาน Business Day 2019 ครั้งที่ 9 ณ ประเทศไทย ครั้งแรกครั้งนี้จึงเกิดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่โดยการรวมตัวกันของชุมชนธุรกิจเพื่อสังคมจากหลากหลายประเทศทั่วโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น อินเดีย บังกลาเทศ อินโดนีเซีย จนถึงประเทศไทย เพื่อเผยความสำเร็จผ่านการทำธุรกิจเพื่อสังคมในเส้นทางของหลากหลายบริษัทและองค์กร พร้อมส่งต่อแรงบันดาลใจ และระดมสมองร่วมกันเพื่อสร้างสังคมแห่งความสุขภายใต้แนวคิด ‘Making Money is Happiness, Making Other People Happy is Super Happiness’ ซึ่งศาสตราจารย์ยูนุสเน้นย้ำว่า ความเจริญของโลกยุคใหม่ของโลกในวันนี้เป็นมากกว่าแค่การสร้างความมั่งคั่งให้แก่ตัวเอง เพราะความรุ่งเรืองของโลกคือการสร้างการเติบโตร่วมกันโดยอาศัย

“สิ่งที่เรากำลังร่วมกันขับเคลื่อนอยู่นี้นับเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและมีความหมายต่อสังคมโลก จริงอยู่ว่าในชีวิตของเราแต่ละคนการทำงานเพื่อสร้างรายได้ให้กับตัวเองมีความสำคัญ แต่ในขณะเดียวกันก็คงจะเป็นเรื่องงดงามมาก หากเราเติบโตขึ้น สร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเองได้มากขึ้น ไปพร้อมกับการได้สร้างชีวิตและความสุขให้กับสมาชิกคนอื่นๆ ในสังคมเดียวกันด้วย แนวทางในการทำธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business) จึงเป็นสิ่งที่โลกใบนี้ต้องการ เป็น ‘ความเจริญใหม่’ (New Civilization) ที่จำเป็นต่อโลกยุคใหม่ รวมถึงมีคุณค่าต่อโลกมากกว่าแค่การแสวงหาทรัพย์สินเงินทองให้กับตัวเองเพียงอย่างเดียว นั่นจึงเป็นเหตุผลให้เรามารวมตัวกันอีกครั้งในปีนี้ที่กรุงเทพฯ กับ Social Business Day 2019 ครั้งที่ 9 เพื่อระดมความคิด สะท้อนแนวคิด รวมถึงเป็นกระบอกเสียงต่อคนรุ่นต่อๆ ไปในสังคมโลกว่า ‘การสร้างรายได้ให้กับตัวเองเป็นความสุข แต่การสร้างความสุขให้แก่ผู้อื่นได้ ก็นับเป็นความสุขที่แท้จริง’ (Making Money is Happiness, Making Other People Happy is Super Happiness) การจัดงานครั้งนี้จึงได้รวมตัวชุมชนธุรกิจเพื่อสังคมจากนานาประเทศ และเป็นความภาคภูมิใจที่ชุมชนธุรกิจเพื่อสังคมเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และเชื่อมั่นว่าธุรกิจเพื่อสังคมจะนำความเปลี่ยนแปลงสู่สังคมโลก โดยในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ที่กรุงปารีสใน ปี 2024 นับเป็นครั้งแรกที่ธุรกิจเพื่อสังคมจะเข้าไปสร้างปรากฏการณ์ใหม่ผ่านพลังของกีฬาด้วย”

ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์และผู้ร่วมก่อตั้ง Yunus Thailand กล่าวเพิ่มเติมว่า เหตุผลที่ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นสถานที่จัดการประชุม Social Business Day ครั้งที่ 9 เนื่องจากเป็นประเทศที่ปลอดภัย เข้าถึงง่าย และประเทศไทยยังมีศักยภาพในการเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ ซึ่งปีนี้มีผู้เข้าร่วมงานมากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ และการจัดตั้ง Yunus Thailand ขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อขับเคลื่อนแนวคิด Social Business ในประเทศไทยอย่างจริงจัง รวมทั้งประกาศจัดตั้ง ‘Corporate Action Tank’ แพลตฟอร์มที่จะใช้ในการขับเคลื่อน Social Business ร่วมกับภาคเอกชนในประเทศไทย ก็นับเป็นนิมิตหมายอันดีว่า จากนี้ไปก็จะมีโอกาสได้เห็นตัวอย่างของ Social Business ที่มาจากทั้งภาคเอกชน ภาคการศึกษา จนถึงภาคประชาสังคม มากขึ้น ผ่าน Corporate Action Tank ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มในการทำงานร่วมกัน อีกด้วย

“สำหรับแนวคิด Social Business จะเป็นการใช้แกนหลักธุรกิจ (Core Business) ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละองค์กรมาแก้ไขปัญหาสังคม แต่ธุรกิจก็ต้องสร้างรายได้มาค้ำจุนองค์กร เพื่อสร้างความยั่งยืนในระยะยาว เช่น ในประเทศบังกลาเทศ ยูนุสใช้กลไกในรูปแบบการร่วมลงทุน (Venture) ในชื่อ ‘กรามีน’ เข้าไปร่วมมือกับบริษัท ดานอน เพื่อขายสินค้าที่มีสารอาหารเพียงพอ ช่วยแก้ปัญหาทุพโภชนาการของเด็กและจำหน่ายในราคาที่ผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงได้ ซึ่งประเทศบังกลาเทศมีโมเดลธุรกิจแบบ Social Business ในลักษณะนี้ 30-40 ธุรกิจ และยูนุสประเทศไทยจะต่อยอดโมเดลเหล่านี้เพื่อมาพัฒนาในประเทศไทยต่อไป”

การจัดการประชุมสำคัญครั้งนี้ ยังได้จัดให้มีการประชุมกลุ่มย่อย (Breakout Session) 9 กลุ่ม การประชุมกลุ่มประเทศ (Country Forum) 7 กลุ่ม การประชุมกลุ่มเยาวชน (Youth Workshop) 6 กลุ่ม และการประชุมคู่ขนานสำหรับภาคการศึกษา (Academia Conference) ในประเด็นเกี่ยวกับการศึกษา เกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สุขภาวะ การเงิน สิ่งแวดล้อม พลังงานสีเขียว ศิลปวัฒนธรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ธุรกิจเพื่อสังคมกับการกีฬา กิจการขนาดใหญ่กับธุรกิจเพื่อสังคม เทคโนโลยีกับธุรกิจเพื่อสังคม ภาวะผู้นำเยาวชนกับธุรกิจเพื่อสังคม สินเชื่อไมโครไฟแนนซ์กับธุรกิจเพื่อสังคม เป็นต้น

ก้าวสำคัญของสังคมไทย การเดินหน้าอย่างมุ่งมั่นขององค์กรชั้นนำ

สำหรับประเทศไทยแล้ว นอกจากหัวเรี่ยวหัวแรงจัดงานสำคัญ ทั้งศูนย์ยูนุสเซ็นเตอร์ ณ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Yunus Center at AIT) ศูนย์ยูนุสเพื่อสังคมแห่งประเทศไทย ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ Thailand Social Business Initiative : TSBI ก็ยังมีองค์กรชั้นนำของไทยขานรับแนวคิดเหล่านี้ พร้อมนำรูปแบบธุรกิจเพื่อสังคม หรือ Social Business ในแนวทางของศาสตราจารย์มูฮัมหมัด ยูนุส ไปดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม โดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรธุรกิจจากประเทศไทยที่ร่วมสนับสนุนการจัดประชุมในครั้งนี้ ก็ยังแสดงความเชื่อมั่นในแนวคิดของ Social Business ว่าจะเป็นแนวทางสำคัญเพื่อช่วยแก้ปัญหาสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ และทำให้ผู้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข สอดคล้องกับแนวนโยบายการพัฒนาที่นั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์เช่นกัน คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งเข้าร่วมการประชุมสำคัญนี้ กล่าวต่อผู้นำและตัวแทนองค์กรชั้นนำระดับโลกถึงย่างก้าวของเครือเจริญโภคภัณฑ์ต่อการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business) เพื่อสังคมไทย

“สำหรับเครือเจริญโภคภัณฑ์แล้ว พันธกิจสำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินธุรกิจในตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คือการสร้างการเติบโตทางธุรกิจไปพร้อมกับมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศชาติ รวมทั้งดำเนินธุรกิจใน 3 แนวทาง อันได้แก่ 1) การตระหนักว่าความรับผิดชอบต่อสังคมของการดำเนินธุรกิจต้องเกิดขึ้นจากภายในองค์กรออกสู่ภายนอก โดยเราปฏิบัติต่อพนักงานกว่า 350,000 คน ใน 21 ประเทศ เหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน สร้างความสุขจากการทำงานแก่พวกเขาให้ได้อย่างดี รวมถึงการปฏิบัติต่อคู่ค้าก็เช่นกัน 2) ระลึกอยู่เสมอว่า การดำเนินธุรกิจขององค์กรและความรับผิดชอบต่อสังคมโลก เป็นสิ่งที่ต้องทำไปควบคู่กัน และ 3) การต่อยอดและผลักดันแนวคิดเรื่องการพัฒนานวัตกรรมที่ยั่งยืน และการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน โดยผสานความร่วมมือกับองค์กรชั้นนำในระดับต่างๆ โดยในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กประเทศไทย ที่มีธุรกิจชั้นนำในประเทศไทยกว่า 40 แห่ง เราตระหนักถึงความท้าทายในการมีส่วนร่วมเพื่อแก้ปัญหาสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งไม่ใช่ปัญหาของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นปัญหาที่ทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกัน โดยเครือฯ ได้ร่วมกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์ธุรกิจเพื่อสังคมอย่างยั่งยืน และมีส่วนร่วมในการปฏิรูปการศึกษาในประเทศไทย เพื่อผลักดันให้คนรุ่นใหม่ตระหนักถึงเรื่องนี้ด้วย”

ทั้งนี้ คุณนพปฎล เดชอุดม ประธานคณะผู้บริหารด้านความยั่งยืนองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้กล่าวบนเวทีเสวนาในหัวข้อ ‘ความท้าทายของธุรกิจเพื่อสังคม’” ว่าเครือเจริญโภคภัณฑ์ก็ยังคงมุ่งมั่นแก้ปัญหาที่เป็นเรื่องจำเป็นของสังคม โดยยึดแนวทางการรับรู้และความเข้าใจปัญหาอย่างถ่องแท้เพื่อหาทางออกในการแก้ปัญหาในระดับสังคมอย่างยั่งยืน โดยจะเห็นได้จากการที่เครือฯ ส่งเสริมการปลูกกาแฟแทนการปลูกข้าวโพดให้คนในชุมชนทางภาคเหนือ เป็นต้น ด้วยความเชื่อว่าการทำธุรกิจเพื่อสังคมจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ซึ่ง ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ ผู้ช่วยบริหาร สำนักประธานคณะผู้บริหารด้านความยั่งยืนองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ยังได้เป็นตัวแทนเครือเจริญโภคภัณฑ์เพื่อร่วมแสดงจุดยืนในการขับเคลื่อนเรื่องธุรกิจเพื่อสังคมในอนาคต ผ่านแพลตฟอร์ม ‘Corporate Action Tank’ ด้วย

การประชุมระดับโลก Social Business Day 2019 ครั้งที่ 9 จึงไม่ได้เป็นเพียงการประกาศถึงความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคมในระดับสากลเท่านั้น แต่ยังเป็นบทสำคัญ และหน้าประวัติศาสตร์ของสังคมไทย โดยเฉพาะการร่วมเป็นส่วนหนึ่งในความมุ่งมั่น และการตั้งเป้าหมายที่จะร่วมกันแก้ปัญหาซึ่งเป็นประเด็นสำคัญของโลก 4 ด้าน ไม่ว่าจะเป็น ด้านธนาคารและไมโครไฟแนนซ์ (Banking & Microfinance) ด้านมลพิษและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Pollution & Climate Change) ด้านขยะพลาสติกและเศรษฐกิจหมุนเวียน (Plastic Waste & Circular Economy) และ ด้านธุรกิจเพื่อสังคมและการกีฬา (Social Business & Sports)

นอกจากนี้ การประกาศเปิดตัวองค์กรเครือข่าย 2 แห่งในการประชุมครั้งนี้ ทั้ง ‘Yunus and Yoshimoto Social Action’ ซึ่งเป็นการร่วมมือกับบริษัทบันเทิงของญี่ปุ่นในการกระจายองค์ความรู้ด้านธุรกิจเพื่อสังคม รวมถึงสนับสนุนและจับคู่ทางธุรกิจทั้งในและนอกญี่ปุ่น และ ‘Yunus Thailand & Corporate Action Tank’ ในประเทศไทย โดยร่วมมือกับภาคธุรกิจรายใหญ่ของไทย อย่าง C-asean และเครือเจริญโภคภัณฑ์ เพื่อเป็นองค์กรสำหรับพัฒนา และเผยแพร่ แลกเปลี่ยนแนวคิดและดำเนินกิจกรรมตามแนวทางธุรกิจเพื่อสังคมโดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน ยังช่วยยืนยันแนวคิดของศาสตราจารย์มูฮัมหมัด ยูนุส ที่ว่า แม้โลกปัจจุบันจะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี แต่สิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นปัญหาต่อแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคมเลย ตรงกันข้ามในความเป็นจริงยังสามารถทำให้บรรลุผลลัพธ์ได้เร็วมากขึ้นอีกด้วย


Author

Yunus Center at AIT

Yunus Center at AIT