การขยายโครงข่ายสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยทั่วไป จะคำนึงถึงจำนวนผู้ได้รับบริการในวงกว้าง แต่ในบางพื้นที่ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่มีความซับซ้อนมากๆ ทำให้ยังมีช่องว่างของสัญญาณครอบคลุมไม่ทั่วถึงในบางพื้นที่ที่อยู่นอกเหนือสัญญาณ จึงเป็นกลุ่มชายขอบของสัญญาณอินเทอร์เน็ต นั่นหมายถึงสิ่งที่จะทำให้ประชาชนในพื้นที่นั้นขาดโอกาสที่เท่าเทียมในการเข้าถึงการติดต่อสื่อสาร และแหล่งข้อมูลที่ทันท่วงที
กสทช.ได้ดำเนินการขยายขยายเสาสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ขนาดเล็ก และขยายโครงข่ายสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ชายขอบ จำนวน 3,920 หมู่บ้าน แบ่งออกเป็นภาคเหนือตอนบน จํานวน 1,013 หมู่บ้าน ภาคเหนือตอนล่าง จํานวน 1,014 หมู่บ้าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จํานวน 1,085 หมู่บ้านภาคกลาง–ภาคใต้ จํานวน 752 หมู่บ้าน และสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จํานวน 56 หมู่บ้าน
และดำเนินการติดตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ขนาดเล็ก 4,916 จุดและขยายโครงข่ายสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 5,230 จุด เพื่อกระจายโครงข่ายหลักไปยังผู้ใช้ให้ครอบคลุมทั่วถึงในพื้นที่จำนวน 3,150 จุดหมู่บ้านเชื่อมต่อโครงข่าย(Last Mind)เข้าไปยังโรงเรียน 1,210 แห่งเชื่อมต่อโครงข่าย(Last Mind)ไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 107 แห่ง และจัดตั้งศูนย์ USO Net ในบริเวณโรงเรียน ที่ให้บริการสัญญาณ Free Wi-Fi และยังมีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อการค้นคว้าข้อมูลที่เป็นประโยชน์จำนวน 763 แห่งทั้งหมดเป็นการให้บริการฟรีตลอดระยะเวลา 5 ปี
ด้วย กสทช.มองเห็นถึงบทบาทสำคัญของโทรคมนาคมที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต และเชื่อว่าหากทุกคนเข้าถึงแหล่งข้อมูลด้วยการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ จะสามารถนำไปต่อยอด เพิ่มผลผลิต สร้างรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตของตัวเอง และพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศได้ในที่สุด