"ดอยตุง" ยุคดิจิทัลขายออนไลน์

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

"ดอยตุง" ยุคดิจิทัลขายออนไลน์

Date Time: 11 ธ.ค. 2561 09:10 น.

Summary

  • ในปี 2562 ตั้งเป้ารายได้ของธุรกิจในโครงการพัฒนาดอยตุง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ไว้ประมาณ 582 ล้านบาท โดยธุรกิจหลักยังเป็นเรื่องของอาหารและหัตถกรรม อย่างไรก็ตาม ในส่วนของคำสั่งซื้อ

Latest

ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ย้ำชัด ไทยไม่ลด "ดอกเบี้ย" ตามเฟด ชี้ "บาทแข็งค่า" ไม่ทุบทิศทางส่งออกไทย

หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า ในปี 2562 ตั้งเป้ารายได้ของธุรกิจในโครงการพัฒนาดอยตุง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ไว้ประมาณ 582 ล้านบาท โดยธุรกิจหลักยังเป็นเรื่องของอาหารและหัตถกรรม อย่างไรก็ตาม ในส่วนของคำสั่งซื้อจากอิเกียได้ลดลงไปประมาณ 45 ล้านบาท จากทั้งหมดประมาณ 60 ล้านบาท ทั้งนี้ เนื่องจากเหตุผลทางด้านสภาวะเศรษฐกิจ ดังนั้น ดอยตุงจะทำตลาดออนไลน์มากขึ้น โดยจะให้ทีมการตลาดเข้าไปฝากขายสินค้าในเว็บไซต์ที่คนให้ความสนใจประมาณ 5 เว็บไซต์ เพื่อให้รายได้เป็นไปตามเป้าหมาย และชดเชยรายได้จากคำสั่งซื้อจากอิเกียที่หายไป

“ดอยตุงมีรายได้จาก 5 ธุรกิจ คือ สินค้าหัตถกรรม สินค้าอาหาร คาเฟ่ ท่องเที่ยว และเกษตร สิ่งที่ต้องเน้นหรือให้ความสำคัญมากขึ้น คือ เรื่องการปรับฐานของคุณภาพให้มากขึ้น ซึ่งได้ดำเนินการมาตลอด จนสินค้าได้รับการยอมรับ โดยเฉพาะกาแฟของดอยตุงได้ขึ้นเสิร์ฟในสายการบินเจแปน แอร์ไลน์ และในอนาคตจะขยับทำสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นไปอีก เพื่อขยับไปตลาดบน โจทย์สำคัญคือการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์กับงานด้านการเกษตรให้มากขึ้น โดยเฉพาะในด้านเครื่องหอม ตลาดยังมีความต้องการอีกมาก และด้านสมุนไพร ทางอภัยภูเบศรได้สนใจรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรภาคเหนือ จากผู้เฒ่าผู้แก่ ไปทดสอบสรรพคุณทางยา หากได้ผลที่ดี ทางดอยตุงก็จะส่งเสริมให้คนในพื้นที่ปลูกสมุนไพรต่อไป”

สำหรับงานสีสันแห่งดอยตุงที่จัดขึ้นในช่วงระหว่างวันที่ 1 ธ.ค.2561-27 ม.ค.2562 พบว่าสินค้าที่ชาวบ้านในพื้นที่นำมาจำหน่ายมีคุณภาพดีขึ้น โดยเฉพาะร้านสินค้าหัตถกรรม ที่มีจำนวนร้านค้ามากขึ้น และมีดีไซน์ที่แตกต่างจากที่จำหน่ายในที่อื่น แสดงว่าชาวบ้านทำเอง เป็นตัวชี้วัดว่าชุมชนมีความเข้มแข็งมากขึ้น.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ