"กสทช." ใจดีจัดให้ "ดีแทค" เดินหน้าจัดเปิดประมูลคลื่น 850

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

"กสทช." ใจดีจัดให้ "ดีแทค" เดินหน้าจัดเปิดประมูลคลื่น 850

Date Time: 19 มิ.ย. 2561 08:50 น.

Summary

  • จากกรณีที่ไม่มีผู้ประกอบการโทรคมนาคมรายใดเข้าร่วมประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์นั้น คณะทำงานการประมูลคลื่นความถี่ ได้ประชุมหารือเพื่อหาแนวทางให้การประมูลเดินหน้าต่อไปได้

Latest

“โกโก้ร้านไอ้ต้น” แฟรนไชส์สัญชาติไทย ปีเดียว ขยายสาขา 160 แห่งในจีน ความแปลก ที่กลายเป็นเอกลักษณ์

ลั่นไม่มาอีกรอบรอบอร์ดชุดใหม่

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่ไม่มีผู้ประกอบการโทรคมนาคมรายใดเข้าร่วมประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์นั้น คณะทำงานการประมูลคลื่นความถี่ ได้ประชุมหารือเพื่อหาแนวทางให้การประมูลเดินหน้าต่อไปได้ ในเบื้องต้นได้เสนอให้นำคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 10 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานระหว่างบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือแคท ในวันที่ 15 ก.ย.2561 ออกมาประมูลจำนวน 5 เมกะเฮิรตซ์ ส่วนอีก 5 เมกะเฮิรตซ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะนำไปใช้งานในระบบสื่อสารของการรถไฟทั้งหมด โดยแนวทางนี้จะเสนอให้คณะอนุกรรมการกิจการโทรคมนาคมพิจารณาในวันนี้ (19 มิ.ย.) และจากนั้นจะนำเสนอให้บอร์ด กสทช.พิจารณาอนุมัติในวันที่ 27 มิ.ย.นี้

สำหรับสาเหตุที่ต้องนำคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ มาเปิดประมูลพร้อมกับคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ จากเดิมคลื่นดังกล่าว ไม่ได้อยู่ในแผนการประมูลแต่อย่างใด แต่เนื่องจากคลื่นดังกล่าว เป็นคลื่นที่ค่ายมือถือต้องการ โดยเฉพาะดีแทค ดังนั้น กสทช.จึงจะนำคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ มาเปิดประมูลพร้อมกัน ขณะเดียวกัน หากรายใดชนะประมูลคลื่นดังกล่าวไป จะต้องลงทุนสร้างระบบป้องกันสัญญาณคลื่นรบกวน (การ์ดแบน) ด้วย เพื่อมิให้คลื่นส่งสัญญาณรบกวนกับคลื่นที่ รฟท.ใช้งาน และเมื่อลงทุนสร้างระบบป้องกันคลื่นรบกวนแล้ว ก็สามารถนำเงินลงทุนนั้นมาหักจากค่าประมูลได้

นายฐากร กล่าวว่า คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์นั้น ขณะนี้ยังอยู่ในช่วงขยายเวลา 30 วัน หากพ้นระยะเวลา 30 วันแล้ว จึงจะพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์ใหม่ ซึ่งอาจปรับเปลี่ยนจำนวนใบอนุญาต จาก 3 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 15 เมกะเฮิรตซ์ เป็น 9 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 5 เมกะเฮิรตซ์ ขณะที่ราคาเริ่มต้นก็ไม่ได้ปรับลดลงแต่อย่างใด ส่วนคลื่น 850 ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 37,988 ล้านบาท เคาะราคาครั้งละ 76 ล้านบาท วางหลักทรัพย์ค้ำประกันวงเงิน 1,900 ล้านบาท

“ผมขอย้ำว่า กสทช.ได้เปิดประมูลก่อนสัญญาสัมปทานสิ้นสุด เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อเปิดประมูลแล้ว ไม่มีเอกชนรายใดมาประมูล แล้วจะให้กสทช.ใช้มาตรการเยียวยาได้อย่างไร เพราะมาตรการเยียวยาจะใช้ในกรณีที่เปิดประมูลไม่ทันเท่านั้น ฉะนั้นจึงขอความเป็นธรรมให้กับประเทศ เพราะรายได้ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นรายได้ของประเทศ และหากเปิดประมูลทั้ง 1800 และ 850 แล้ว ยังไม่มีเอกชนรายใดสนใจอีก ผมก็จะไม่เปิดประมูลอีก จนกว่าจะมี กสทช.ชุดใหม่”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ